สนธยา คุณปลื้ม (เกิด 10 ธันวาคม พ.ศ. 2506) ชื่อเล่น แป๊ะ ประธานที่ปรึกษานายกเมืองพัทยา (ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์) อดีตนายกเมืองพัทยา อดีตหัวหน้าพรรคพลังชล อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนแรก อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ทักษิณ ชินวัตร)[1] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี หลายสมัย

สนธยา คุณปลื้ม
สนธยา ในปี พ.ศ. 2564
นายกเมืองพัทยา
ดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน พ.ศ. 2561 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าพลตำรวจตรี อนันต์ เจริญชาศรี
ถัดไปปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุกุมล คุณปลื้ม
ถัดไปวีระ โรจน์พจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ถัดไปสมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าอาทิตย์ อุไรรัตน์
ถัดไปพินิจ จารุสมบัติ
หัวหน้าพรรคพลังชล
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม พ.ศ. 2556 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ก่อนหน้ารองศาสตราจารย์ เชาวน์ มณีวงษ์
ถัดไปรองศาสตราจารย์ เชาวน์ มณีวงษ์
เลขาธิการพรรคชาติไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2544 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
ก่อนหน้าปองพล อดิเรกสาร
ถัดไปประภัตร โพธสุธน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 ธันวาคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2527–2535 , 2535-2547)
สามัคคีธรรม (2535)
ไทยรักไทย (2547–2549)
พลังประชาชน (2549–2551)
เพื่อไทย (2551–2554, 2566–ปัจจุบัน)
พลังชล (2554–2562, 2565–2566)
พลังประชารัฐ (2561–2564)
คู่สมรสสุกุมล คุณปลื้ม
บุตร4
บุพการี

ปัจจุบัน สนธยา ดำรงตำแหน่ง นายกราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สมาคมกีฬา) และนายกสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญศรีราชา

ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงการบริหารจัดการเมืองพัทยาในฐานะนายกเมืองพัทยา

ประวัติ

แก้

สนธยาเกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2506 มีชื่อเล่นว่า แป๊ะ เป็นบุตรของนายสมชาย และนางสติล คุณปลื้ม ที่ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม[2]

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางสุกุมล คุณปลื้ม มีบุตรด้วยกัน 4 คน

งานการเมือง

แก้

สนธยาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคสามัคคีธรรม[3] (นำโดย นายณรงค์ วงศ์วรรณ) ในปี พ.ศ. 2535 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติพัฒนา ได้รับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายสนธยา ยังเป็นหนึ่งใน ส.ส.กลุ่ม 16[4]

ต่อมาในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2538 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคชาติไทย ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 จึงลงสมัครและเป็น ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทย[5] กระทั่งในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (คนแรก) ในปี พ.ศ. 2545 (ในโควตาของพรรคชาติไทย) ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[6]

สนธยา คุณปลื้ม ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทิน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุวิทย์ คุณกิตติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สนธยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุม ส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[7] โดยสนธยา คุณปลื้ม ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย ตามลำดับ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 จึงได้ตัดสินใจยุติบทบาททางการเมืองร่วมกับพรรคภูมิใจไทย[8] และไปสนับสนุนการจัดตั้งพรรคพลังชลแทน[9] และเป็นแกนนำพรรคพลังชล

ในปี พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[10] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) สืบต่อจากนางสุกุมล ภรรยา ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 เขาได้รับเลือกจากสมาชิกพรรคพลังชล ให้เป็นหัวหน้าพรรคพลังชล[11]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคพลังชล[12] แต่การเลือกตั้งครั้งดังกล่าว เป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ในปี พ.ศ. 2561 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงนามในคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 15/2561 แต่งตั้งให้สนธยา คุณปลื้ม ดำรงตำแหน่ง นายกเมืองพัทยา[13] โดยอยู่ในวาระจนกระทั่ง สนธยา ลาออกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565[14] หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศให้มีนายกเมืองพัทยา และสมาชิกเมืองพัทยาชุดใหม่[15]

ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 สนธยาพร้อมด้วยนางสุกุมล คุณปลื้ม ภรรยาได้เปิดตัวร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย พร้อมกับว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. จำนวน 10 คน[16]

งานด้านกีฬาและอื่น ๆ

แก้

สนธยา ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาจังหวัดชลบุรี เป็นประธานที่ปรึกษาสโมสรฟุตบอลชลบุรี[17] และเคยเป็นประธานสโมสรฟุตบอลศรีราชา[18]

สนธยา เคยเป็นอุปนายกราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[19][20] ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

รางวัลและเกียรติยศ

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "มติครม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2018-05-21.
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 6ก วันที่ 24 มกราคม 2535
  4. แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
  5. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
  6. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  7. "บุญจง ยัน ภท.มีเอกภาพ ปัดสมคิด เป็นหัวหน้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2012-12-16.
  8. ""คุณปลื้ม" ตั้งพรรคหนี "ยี้เนวิน" เป็นหัวหมาดีกว่าหางราชสีห์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-23. สืบค้นเมื่อ 2011-04-19.
  9. พลังชลเปิดตัวพรรคพร้อมผู้สมัคร8เขต
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  11. “สนธยา” นั่งหัวหน้าพรรคพลังชลตามคาด[ลิงก์เสีย]
  12. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคพลังชล)
  13. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๑ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารราชการเมืองพัทยา
  14. Bhattarada (2022-03-24). "สนธยา คุณปลื้ม ลาออกนายกพัทยา ย้ำยังเล่นการเมือง". ประชาชาติธุรกิจ.
  15. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา และนายกเมืองพัทยา
  16. "สนธยา" นำทัพ บ้านใหญ่ชลบุรี เข้าเพื่อไทย ไม่ห่วงถูกมองเป็นหนอนใน ครม.
  17. "อิเดมิตสึโดดหนุนฉลามชล3ปี100ล้าน-สนธยาลั่นต้องมีแชมป์ติดมือ". ข่าวสด. 22 Jan 2018. สืบค้นเมื่อ 26 Sep 2018.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "ศรีราชาประกาศฉีด 6 แสนหากชนะกิเลน รับต่อเนื่อง 2 ล้านถ้ารอดตาย". SMM Sport. 24 Jan 2012. สืบค้นเมื่อ 26 Sep 2018.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  19. รายนามคณะกรรมการบริหารประจำปี 2553-2555 เก็บถาวร 2011-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สืบค้นเมื่อ 19 Sep 2011
  20. "บันทึกเทปถวายพระพรชัย". ราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. 21 Aug 2018. สืบค้นเมื่อ 26 Sep 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  21. พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
ก่อนหน้า สนธยา คุณปลื้ม ถัดไป
อาทิตย์ อุไรรัตน์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
  พินิจ จารุสมบัติ
(กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
สุกุมล คุณปลื้ม    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
  วีระ โรจน์พจนรัตน์