กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ประเทศไทย)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อังกฤษ: Ministry of Science and Technology) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Ministry of Science and Technology | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (22 ปี 7 วัน) |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
ยุบเลิก | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 161 วัน) (16 ปี 211 วัน)[1] |
หน่วยงานสืบทอด | |
เขตอำนาจ | ทั้งประเทศ |
สำนักงานใหญ่ | ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร |
งบประมาณต่อปี | 9,725.674 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[2] |
ลูกสังกัดหน่วยงาน | |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้สืบเนื่องจากการประชุม คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 9/2519 มีมติให้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการวางนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยมี ศ.ดร.ชุบ กาญจนประกร เป็นประธานอนุกรรมการ และ ศ.ดร.สง่า สรรพศรี เป็นรองประธาน โดยจัดทำรายงานเรื่อง "การปฏิรูประบบบริหารราชการของรัฐ" โดยมีการเสนอแนะให้จัดตั้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานขึ้น ในสมัยรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร แต่ยังไม่ได้ข้อยุติก็เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเสียก่อน[3]
ต่อมา เมื่อมีรัฐบาลใหม่ ในปี 2520 และในปี 2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้มีการพิจารณาการตั้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ขึ้น โดยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประกาศคณะปฏิวัติ และได้รับความเห็นชอบจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประกาศใช้ใน ราชกิจจานุเบกษา มีผลตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2522[4]
ในภายหลัง เมื่อ สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงได้มุ่งเน้น และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น โดยได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติ่ม เช่น กรมควบคุมมลพิษ, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม โดยทั้งสามหน่วยงานนี้จัดตั้งตามพันธกิจ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยรับโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พร้อมกับเปลี่ยนนามกระทรวงเสียใหม่ เป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2535[5]
ต่อมาในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ให้ทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสอดคล้องกับงานที่มากขึ้น ทำให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีบทบาทที่ชัดเจนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545[6]
ในวันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือในวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ส่งผลให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกยุบลงและควบรวมเข้ากับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นกระทรวงใหม่ชื่อว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[7]
รายนามปลัดกระทรวง
แก้รายนาม | ช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1 สมพร บุณยคุปต์ | 24 มี.ค. 2522 - 3 มิ.ย. 2522 |
2 ศ.ดร. สง่า สรรพศรี | 4 มิ.ย. 2522 - 5 มิ.ย. 2522 |
3 ดร. ประพฤทธิ์ ณ นคร | 6 มิ.ย. 2522 - 30 ก.ย. 2524 |
2 ศ.ดร. สง่า สรรพศรี | 1 ต.ค. 2524 - 20 มี.ค. 2535 |
4 เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | 20 มี.ค. 2535 - 5 ต.ค. 2541 |
5 สันทัด สมชีวิตา | 5 ต.ค. 2541 - 30 ก.ย. 2547 |
6 ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ | 1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2548 |
7 ดร. ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช | 1 ต.ค. 2548 - 30 ก.ย. 2550 |
8 ดร. สุจินดา โชติพานิช | 1 ต.ค. 2550 - 30 ก.ย. 2553 |
9 ดร. พรชัย รุจิประภา | 1 ต.ค. 2553 - 30 ก.ย. 2555 |
10 รศ.ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ | 1 ต.ค. 2555 - 30 ก.ย. 2559 |
11 รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม | 1 ต.ค. 2559 - 1 พ.ค. 2562 |
พันธกิจ
แก้- เสนอแนะนโยบาย จัดทำยุทธศาสตร์และแผนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม
- ริเริ่ม เร่งรัด ผลักดันและดำเนินการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ และสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
- ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ สร้างคนดีและเก่งในทุกระดับ รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับ
- สร้างระบบสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถสร้างปัญญา เข้าถึงความรู้ใหม่ๆ และนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ผสมผสานกันได้
- สนับสนุนให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรมให้แก่ภาคการผลิตและบริการ รวมทั้งบริการสังคมด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มผลิตภาพทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
หน่วยงานในสังกัด
แก้- ส่วนราชการระดับกรม 4 หน่วยงาน
- หน่วยงานในกำกับของกระทรวง 3 หน่วยงาน ซึ่งจัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ
- รัฐวิสาหกิจ 2 หน่วยงาน
- องค์การมหาชน 7 หน่วยงาน
- สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
- สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
- สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
- สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
- สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
- สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)
อ้างอิง
แก้- ↑ https://www.thairath.co.th/news/local/1557580
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ http://www.most.go.th/main/th/history เก็บถาวร 2019-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แนะนำกระทรวง - กระทรวงวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี
- ↑ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๖ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๒๒
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๕
- ↑ "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2012-02-19.
- ↑ "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-01. สืบค้นเมื่อ 2019-05-01.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เก็บถาวร 2019-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน