ชูชาติ หาญสวัสดิ์
ชูชาติ หาญสวัสดิ์ (เกิด 12 เมษายน พ.ศ. 2489) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นน้องชายของนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ อดีตรัฐมนตรี
ชูชาติ หาญสวัสดิ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 เมษายน พ.ศ. 2489 จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองอาสารักษาดินแดน |
ประจำการ | พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน |
ยศ | นายกองเอก[1] |
ประวัติ
แก้ชูชาติ หาญสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2489[2] ที่ตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา จากมหาวิทยาลัยลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ชูชาติ หาญสวัสดิ์ ได้คัดค้านการจัดงานวันพ่อแห่งชาติที่ตัวจังหวัดปทุมธานี ชาญ พวงเพ็ชร์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในตอนนั้นทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นรวมไปถึงชาวจังหวัดปทุมธานีไม่พอใจที่ไม่ให้จัดงานวันพ่อแห่งชาติ[3]
การทำงาน
แก้ชูชาติ หาญสวัสดิ์ เคยทำงานเป็นครูที่โรงเรียนอนุบาลสาริน และโรงเรียนไผทอุดมศึกษา ต่อมาย้ายมาทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ จากนั้นได้เข้าสู่งานการเมือง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปทุมธานี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 เป็นครั้งแรก และได้รับเลือกตั้งต่อมาอีกหลายสมัย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2535, พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2539, พ.ศ. 2548 เขายังเป็นสมาชิกกลุ่ม 16[4] อีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2554 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[5] และถูกปรับออกจาตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 28[6]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 22[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PAD/2554/B/021/12.PDF[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2013-04-26.
- ↑ แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒