ชาญ พวงเพ็ชร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ชาญ พวงเพ็ชร์ หรือ ชาญ ที่ชาวบ้านเรียกกันติดปาก และ ลุงชาญ ที่นักเรียนในจังหวัดปทุมธานีใช้เรียก เป็นคนจังหวัด ปทุมธานี เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่นานที่สุดในจังหวัดปทุมธานี[1]
ชาญ พวงเพ็ชร์ | |
---|---|
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม 2547 – 26 ตุลาคม 2563 | |
ก่อนหน้า | สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล |
ถัดไป | พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง |
ประธานสโมสรฟุตบอลปทุมธานี ยูไนเต็ด | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2553 – ลาออก | |
ก่อนหน้า | ประธานคนแรก |
ถัดไป | วีระศักดิ์ ฮาดดา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 มกราคม พ.ศ. 2505 สามโคก ปทุมธานี ประเทศไทย |
พรรค | กลุ่มปทุมรักไทย |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
ชาญ พวงเพ็ชร์ เกิดที่ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี บิดาชื่อ - มารดาชื่อ นางแวว พวงเพ็ชร์(มารดาของนายกชาญ ได้ทำการประชุมเพลิงด้วยพระราชทานพิเศษ)[2]
เจ้าตัวยืนยัน แม้จะเป็นคนของพรรคภูมิใจไทย แต่พร้อมร่วมงานเพื่อพัฒนา ช่วยเหลือชาวปทุมธานีกับทุกพรรค[3]
การศึกษาแก้ไข
การศึกษา ปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยปทุมธานี
รางวัลแก้ไข
- รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรโล่รางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การทำงานและตำแหน่งหน้าที่แก้ไข
- อดีตผู้ใหญ่บ้าน และกำนันตำบลบ้านงิ้ว
- สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี เขตอำเภอสามโคก 7 กุมภาพันธ์ 2543
- 14 มีนาคม 2547 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี (119,456 คะแนน) 3 สมัยติดต่อกัน[4]
ในปี พ.ศ. 2554 มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี และนายชาญ พวงเพ็ชร์ อดีตนายก อบจ. ได้คะแนน 214,429 คะแนน ชนะการเลือกตั้ง ว่าที่ร้อยตรี สุเมธ ฤทธาคนี อดีต สส.เขต 5 ได้คะแนน 110,974 คะแนน ครั้งนี้ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่3 [5]
วิทยากรสัมมนาแก้ไข
วิทยากรบรรยายพิเศษ ด้านการเมืองการปกครอง และการจัดการภัยพิบัติในท้องถิ่น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์
ผู้ก่อตั้งกลุ่มปทุมรักไทยแก้ไข
นายชาญ พวงเพ็ชร์ เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มปทุมรักไทย และยังมีท้องถิ่นที่อยู่ทีมเดียวกันได้นำชื่อกลุ่มลงสมัครการเมือง อบต. ในจังหวัดปทุมธานี [6]
สโมสรฟุตบอลจังหวัดปทุมธานีแก้ไข
นายชาญ พวงเพ็ชร์ อดีตประธานสโมสรปทุมธานี เอฟซี พ.ศ. 2553
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=magnolia&month=04-2012&date=22&group=19&gblog=34
- ↑ http://www.thairath.co.th/people/view/pol/8161
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2013-04-26.
- ↑ http://www.thairath.co.th/people/view/pol/8161
- ↑ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1331182936&grpid=03&catid=03[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.komchadluek.net/detail/20120425/128732/%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88.html#.UxmMR2KSyx0
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๒, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐