อำเภอเมืองปทุมธานี

อำเภอในจังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย

เมืองปทุมธานี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี มีประชากรจำนวนกว่า 214,639 คน ประกอบด้วยตำบล 14 ตำบล และเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการของจังหวัดปทุมธานีอีกด้วย อำเภอเมืองปทุมธานีเป็นอำเภอมีความหนาแน่นเฉลี่ยของประชากรสูงถึง 1,715.04 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีความเจริญกระจายตัวอย่างทั่วถึงทั้งอำเภอ ตรงกลางอำเภอมีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลางอำเภอ

อำเภอเมืองปทุมธานี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Pathum Thani
ตลาดสดเทศบาลเมืองปทุมธานี
ตลาดสดเทศบาลเมืองปทุมธานี
แผนที่จังหวัดปทุมธานี เน้นอำเภอเมืองปทุมธานี
แผนที่จังหวัดปทุมธานี เน้นอำเภอเมืองปทุมธานี
พิกัด: 14°1′11″N 100°32′6″E / 14.01972°N 100.53500°E / 14.01972; 100.53500
ประเทศ ไทย
จังหวัดปทุมธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด125.151 ตร.กม. (48.321 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด220,791 คน
 • ความหนาแน่น1,764.20 คน/ตร.กม. (4,569.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 12000
รหัสภูมิศาสตร์1301
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองปทุมธานี ถนนเทศปทุม ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ประวัติศาสตร์ แก้

  • พ.ศ. ..... ตั้งอำเภอเมืองปทุมธานี
  • วันที่ 29 พฤศจิกายน 2479 จัดตั้งเทศบาลเมืองปทุมธานี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางปรอก[1]
  • วันที่ 2 กันยายน 2490 โอนพื้นที่บางหมู่บ้านของตำบลบางหลวงไปขึ้นกับตำบลบ้านฉาง[2]
  • วันที่ 21 พฤษภาคม 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลบางหลวง ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านฉาง ตำบลบางหลวง ตำบลบางเดื่อ[3]
  • วันที่ 20 มีนาคม 2524 ขยายเขตเทศบาลเมืองปทุมธานีให้ครอบคลุมตำบลบางปรอกทั้งตำบล[4]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางหลวงเป็นเทศบาลตำบลบางหลวง
  • วันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางกะดีเป็นเทศบาลตำบลบางกะดี[5]
  • วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่เป็นเทศบาลตำบลบ้านใหม่[6]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

พื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานีแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 14 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 81 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[7]
สี แผนที่
1. บางปรอก Bang Parok
23,228
 
 
2. บ้านใหม่ Ban Mai
6
15,038
 
3. บ้านกลาง Ban Klang
5
12,995
 
4. บ้านฉาง Ban Chang
4
9,731
 
5. บ้านกระแชง Ban Krachaeng
4
3,171
 
6. บางขะแยง Bang Khayaeng
4
14,299
 
7. บางคูวัด Bang Khu Wat
12
31,009
 
8. บางหลวง Bang Luang
7
8,833
 
9. บางเดื่อ Bang Duea
7
17,428
 
10. บางพูด Bang Phut
6
6,783
 
11. บางพูน Bang Phun
6
26,130
 
12. บางกะดี Bang Kadi
5
15,385
 
13. สวนพริกไทย Suan Phrik Thai
8
10,979
 
14. หลักหก Lak Hok
7
22,168
 

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

อำเภอเมืองปทุมธานีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองปทุมธานี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปรอกทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองบางคูวัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคูวัดทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองบางกะดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกะดีทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านฉาง ตำบลบางหลวง และตำบลบางเดื่อ
  • เทศบาลตำบลหลักหก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลักหกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกลางทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเดื่อ (นอกเขตเทศบาลตำบลบางหลวง)
  • เทศบาลตำบลบางพูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพูนทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางขะแยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขะแยงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านฉาง (นอกเขตเทศบาลตำบลบางหลวง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกระแชง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกระแชงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหลวง (นอกเขตเทศบาลตำบลบางหลวง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพูดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสวนพริกไทย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนพริกไทยทั้งตำบล

การคมนาคม แก้

การคมนาคม แก้

ถนนสายหลัก

  1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 307 (ถนนกรุงเทพ-ปทุมธานี นนทบุรี-ปทุมธานี ปทุมธานีสายนอก)
  2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 (ถนนรังสิต-ปทุมธานีและถนนปทุมธานี-บางเลน)
  3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์)
  4. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 (ถนนบางบัวทอง-บางคูวัด-บางพูน)
  5. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 (ถนนปทุมธานี-บางปะหันหรือถนนปทุมธานี-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร)
  6. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 (ถนนปทุมธานี-สามโคก-เสนา)
  7. ทางพิเศษอุดรรัถยา
  8. ถนนราชพฤกษ์

ถนนสายรอง

  1. ถนนปทุมธานีสายใน
  2. ถนนปทุมสัมพันธ์

อ้างอิง แก้

  1. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ก): 828–831. 29 พฤศจิกายน 2479. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-27. สืบค้นเมื่อ 2013-08-21.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (42 ง): 2366–2368. 9 กันยายน 2490.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางหลวง จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (58 ง): 1447–1448. 26 มิถุนายน 2505.
  4. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (43 ก): (ฉบับพิเศษ) 9-13. 19 มีนาคม 2524.
  5. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลบางกระดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๔๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (108 ก): 28–31. 31 ตุลาคม 2546. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-08-21.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลตำบลบ้านใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (พิเศษ 118 ง): 28. 7 ตุลาคม 2554.
  7. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.