ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 สายพระราม 7–บางพูน เป็นทางหลวงแผ่นดินที่ก่อสร้างเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันออก โดยเริ่มต้นตั้งแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เข้าเขตจังหวัดนนทบุรี ผ่านท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ด เข้าสู่เขตจังหวัดปทุมธานี มีขนาด 4-6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง (4 ช่องจราจรในช่วงถนนประชาราษฎร์ และ 6 ช่องจราจรในช่วงที่เหลือ)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 | |
---|---|
ถนนพิบูลสงคราม ถนนประชาราษฎร์ ถนนติวานนท์ | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 26.424 กิโลเมตร (16.419 ไมล์) |
มีขึ้นเมื่อ | พ.ศ. 2474–ปัจจุบัน |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศใต้ | ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ในเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร |
| |
ปลายทางทิศเหนือ | ถนนรังสิต-ปทุมธานี ใน อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
ระบบทางหลวง | |
อนึ่ง ในอดีตถนนจรัญสนิทวงศ์เคยเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 405 สายป้อมพระจุลจอมเกล้า - วงเวียนท่าพระ - พระราม 6 - รังสิต[1] และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 สายสามแยกท่าพระ - รังสิต[2] แต่ในภายหลังกรมทางหลวงได้มอบให้อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร
ถนนพิบูลสงคราม
แก้ถนนพิบูลสงคราม (อังกฤษ: Thanon Phibun Songkhram; Thanon Pibulsonggram) เป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมระหว่างพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี กับเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร มีระยะทางรวมประมาณ 3.8 กิโลเมตร เริ่มต้นจากแยกพิบูลสงคราม (ถนนวงศ์สว่างตัดกับถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ใกล้ทางขึ้น-ลงสะพานพระราม 7) ในแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ ไปทางทิศตะวันตก ผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ข้ามคลองบางเขนเข้าเขตตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี ข้ามแนวคลองวัดเขมา จากนั้นโค้งและมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางบุนนาค คลองบางขุนเทียน ตัดกับถนนนครอินทร์ (แยกพระราม 5) ข้ามคลองบางตะนาวศรี ตัดกับถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี (แยกพิบูลสงคราม-เลี่ยงเมือง) และข้ามแนวคลองบางขวาง ก่อนบรรจบกับถนนประชาราษฎร์ที่แยกศรีพรสวรรค์
ถนนพิบูลสงครามเป็นถนนที่สร้างขึ้นเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา และสร้างขึ้นเป็นสายแรก ๆ ของจังหวัดนนทบุรี ชื่อถนนตั้งตามนามสกุลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของประเทศไทย ซึ่งเกิดที่เรือนแพปากคลองบางเขน และเคยศึกษาที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม โดยทั้งสองแห่งเป็นสถานที่ที่ถนนสายนี้ตัดผ่าน
ถนนพิบูลสงคราม ช่วงที่อยู่ในเขตบางซื่อและช่วงเขตจังหวัดนนทบุรีเป็นเขตควบคุมของหมวดทางหลวงนนทบุรี แขวงทางหลวงนนทบุรี
ถนนประชาราษฎร์
แก้ถนนติวานนท์
แก้ถนนติวานนท์ (อังกฤษ: Thanon Tiwanon) เป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมระหว่างพื้นที่จังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดปทุมธานี เดิมถนนนี้เรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายนนทบุรี-ปากเกร็ด-ปทุมธานี" ต่อมารัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ตั้งชื่อว่า "ถนนติวานนท์" ตามประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 เพื่อเป็นเกียรติแก่ขุนชิตชาญตรวจ (เชี่ยวชาญ ช. ติวานนท์) อดีตนายช่างกำกับการเขตการทางกรุงเทพ กรมทางหลวง ช่วงที่อยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรีเป็นเขตควบคุมของหมวดทางหลวงนนทบุรี แขวงทางหลวงนนทบุรี ส่วนช่วงที่อยู่ในเขตจังหวัดปทุมธานีเป็นเขตควบคุมของหมวดทางหลวงปทุมธานี แขวงทางหลวงปทุมธานี
เขตอำเภอเมืองนนทบุรี
แก้มีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกติวานนท์ (จุดตัดระหว่างถนนประชาราษฎร์ ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี และถนนนครอินทร์) ในท้องที่ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับซอยติวานนท์ 4 (แยกโรงพยาบาลศรีธัญญา) ตัดผ่านถนนเรวดี ข้ามคลองบางซื่อเข้าเขตตำบลบางกระสอ ตัดกับถนนงามวงศ์วานและถนนรัตนาธิเบศร์ที่แยกแคราย ก่อนโค้งและตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงปากซอยติวานนท์ 27 (แผ่นดินทอง) เป็นเส้นแบ่งเขตตำบลบางกระสอกับตำบลท่าทราย จนถึงปากซอยติวานนท์ 38 (ทานสัมฤทธิ์พัฒนา) จึงเข้าเขตตำบลท่าทราย จากนั้นตัดกับถนนสนามบินน้ำ (แยกสนามบินน้ำ) และถนนสามัคคี (แยกสามัคคี) ข้ามคลองบางตลาดเข้าเขตอำเภอปากเกร็ด
เขตอำเภอปากเกร็ด
แก้บางครั้งเรียกว่า "ถนนติวานนท์-ปากเกร็ด" เริ่มจากสะพานข้ามคลองบางตลาด ยังมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในท้องที่ตำบลบางตลาด ตัดกับถนนเข้ากรมชลประทาน ผ่านวัดชลประทานรังสฤษดิ์ เข้าเขตตำบลปากเกร็ด จากนั้นเริ่มโค้งขึ้นเหนือก่อนตัดกับถนนแจ้งวัฒนะที่แยกปากเกร็ด และโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้งหนึ่ง ข้ามคลองบางพูดเข้าเขตตำบลบางพูด ตัดกับถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ดและตัดผ่านถนนสุขาประชาสรรค์ 3 ข้ามคลองบางพังเข้าเขตตำบลบ้านใหม่ ตัดผ่านซอยติวานนท์-ปากเกร็ด 36 (ถนนบอนด์สตรีทหมู่บ้านเมืองทองธานี) ก่อนตัดกับถนนศรีสมานและถนนนนทบุรี-ปทุมธานี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 307) ที่แยกสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ตัดผ่านซอยติวานนท์-ปากเกร็ด 56 (พระแม่มหาการุณย์) และซอยติวานนท์-ปากเกร็ด 39 (วัดโพธิ์ทองบน) ก่อนข้ามคลองบ้านใหม่เข้าเขตจังหวัดปทุมธานี
เขตอำเภอเมืองปทุมธานี
แก้บางครั้งเรียกว่า "ถนนติวานนท์-ปทุมธานี" เริ่มจากสะพานข้ามคลองบ้านใหม่ ตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและวกขึ้นไปทางทิศเหนือในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี ข้ามคลองรังสิตประยูรศักดิ์และตัดกับถนนเลียบคลองรังสิตประยูรศักดิ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345) ตรงไปทางทิศเดิม เมื่อถึงบริเวณใกล้ทางเข้าสนามกีฬาจังหวัดปทุมธานี เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลบ้านใหม่กับตำบลบางกะดี จนกระทั่งถึงคันดินแนวเขตนิคมอุตสาหกรรมบางกะดีจึงเข้าเขตตำบลบางกะดี ตัดผ่านซอยวัดบางกุฎีทอง สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปทุมธานี และสำนักงานเทศบาลเมืองบางกะดี เมื่อผ่านซอยวัดบางกะดีและถนนประตูน้ำเชียงรากจึงโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางหลวงเชียงรากเข้าเขตตำบลบ้านกลาง โค้งไปทางทิศเหนืออีกครั้ง ก่อนไปบรรจบกับถนนรังสิต-ปทุมธานี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346) ที่แยกบ้านกลาง เป็นการสิ้นสุดทางหลวงหมายเลข 306 แต่ "ถนนติวานนท์" ยังคงมีระยะทางตรงต่อไปอีก (กลายเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346) ผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทุมธานี สามแยกเทคโน (ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347) แล้วโค้งซ้าย ไปสิ้นสุดที่ท่าเรือหัวถนนติวานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3186 เดิม) โดยที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 จะตรงเบี่ยงขวาขึ้นสะพานปทุมธานีไป
สถานที่สำคัญ
แก้- สะพานพระราม 6
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (วิทยาเขตพระนครเหนือ)
- โรงเรียนสตรีนนทบุรี
- โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
- กระทรวงสาธารณสุข
- สถาบันโรคทรวงอก
- อุโมงค์ลอดแยกปากเกร็ด
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีปทุมธานี
- วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี
- กรมชลประทาน
- ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- โรงพยาบาลกรุงไทย
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินแห่งประเทศไทย. พ.ศ. ๒๕๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1963-06-04.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1966-05-06.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์