อำเภอลำลูกกา
ลำลูกกา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานีและเป็นเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานครโดยในพื้นที่มีหมู่บ้านจัดสรรและชุมชนอย่างหนาแน่น ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเปิดให้บริการที่สถานีคูคต
อำเภอลำลูกกา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Lam Luk Ka |
ถนนลำลูกกาบริเวณหน้าวัดสายไหม | |
แผนที่จังหวัดปทุมธานี เน้นอำเภอลำลูกกา | |
พิกัด: 13°55′57″N 100°44′58″E / 13.93250°N 100.74944°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปทุมธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 297.71 ตร.กม. (114.95 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 294,207 คน |
• ความหนาแน่น | 988.23 คน/ตร.กม. (2,559.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 12150, 12130 (เฉพาะตำบลคูคต) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1306 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอลำลูกกา หมู่ที่ 21 ตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอลำลูกกาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอธัญบุรี มีแนวเส้นขนานคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปทางทิศใต้ 1.6 กิโลเมตรเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอองครักษ์ (จังหวัดนครนายก) และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองสิบสี่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตสายไหม และเขตดอนเมือง (กรุงเทพมหานคร) มีแนวคันนาระหว่างจังหวัดปทุมธานีและกรุงเทพมหานคร คลองพระยาสุเรนทร์ คลองหกวาสายล่าง คลองสอง แนวรั้วหมู่บ้านการ์เด้นโฮมวิลเลจ แนวรั้วอนุสรณ์สถานแห่งชาติ แนวเส้นตรงผ่านแนวรั้วโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร แนวรั้วหมู่บ้านวังทอง แนวรั้วบริษัทดอนเมืองพัฒนา และถนนลำลูกกาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองปทุมธานี มีคลองเปรมประชากร ถนนลูกรัง และทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
แก้อำเภอลำลูกกาสมัยก่อนเป็นที่ราบลุ่มเต็มไปด้วยป่าพงป่าอ้อ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าทั่วไป สภาพของพื้นที่เป็นที่รกร้างกว้างใหญ่ มีชื่อเรียกว่า "ทุ่งหลวง" ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ประมาณปี พ.ศ. 2433 พระองค์ทรงเห็นว่าทุ่งหลวงกว้างใหญ่ไพศาลมาก ควรให้ประชาชนเข้ามาอยู่เป็นที่พักอาศัยทำมาหากิน ประกอบกับมีพระราชดำริว่า กรุงสยาม คลองเป็นสำคัญ สมควรต้องขุดทุกปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ดำเนินการขุดคลองหกวา เริ่มจากคลองซอยที่ 2 ไปจนถึงอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นระยะทาง 900 เส้นเศษ และขุดคลองซอยที่เป็นระยะห่างกัน 60 เส้น จำนวน 16 คลอง ผลจากการขุดคลองนี้ทำให้ประชาชนที่อยู่ในถิ่นกันดารต่างอพยพหลั่งไหลเข้ามาอาศัยอยู่และทำการปลูกมากยิ่งขึ้น
สำหรับชื่ออำเภอลำลูกกานี้ตามประวัติบอกว่า แต่เดิมนั้นในท้องที่อำเภอนี้มีลำธารไหลผ่านมาบรรจบเป็นรูปตีนกา และปรากฏว่ามีนกมาอาศัยทำรังอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะที่รวมของลำธารนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง ปลา อาหารของสัตว์นานาชนิด ประชาชนจึงเรียนบึงนี้ว่า "บึงลำลูกกา" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นใกล้กับบึงนี้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2447 จึงขนานนามว่า อำเภอลำลูกกา สันนิษฐานว่าเป็นเพราะนิยมใช้คำสั้น ๆ
- วันที่ 21 สิงหาคม 2470 โอนตำบลคลองหกวาฝั่งใต้ของอำเภอหนองจอก ตำบลคลองเจ็ดของอำเภอมีนบุรี จังหวัดมีนบุรี และตำบลคูคตของอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร มาขึ้นกับอำเภอลำลูกกา[1]
- วันที่ 12 ธันวาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 16,17,18 (ในขณะนั้น) ของตำบลคลองหกวาฝั่งใต้ ไปขึ้นกับตำบลคลองเจ็ด และตั้งตำบลคลองสิบสองหกวา แยกออกจากตำบลลำไทร ตำบลบึงทองหลาง และตำบลคลองหกวาฝั่งใต้[2]
- วันที่ 30 ธันวาคม 2484 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดปทุมธานีกับจังหวัดพระนคร โดยโอนพื้นที่ตำบลสายไหมของอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ไปขึ้นอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร[3]
- วันที่ 18 กรกฎาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลลำลูกกาในท้องที่บางส่วนของตำบลลำลูกกาและตำบลบึงคำพร้อย[4]
- วันที่ 12 ธันวาคม 2504 จัดตั้งสุขาภิบาลลำไทรในท้องที่บางส่วนของตำบลลำไทร[5]
- วันที่ 14 ตุลาคม 2507 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลลำลูกกา โดยขยายออกไปในบางหมู่บ้านของตำบลลำลูกกาและตำบลบึงคำพร้อย[6]
- วันที่ 28 เมษายน 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลคูคตในท้องที่บางส่วนของตำบลคูคต[7]
- วันที่ 10 สิงหาคม 2532 ตั้งตำบลพืชอุดม แยกออกจากตำบลลำไทร[8]
- วันที่ 5 พฤษภาคม 2539 ยกฐานะจากสุขาภิบาลคูคตเป็นเทศบาลเมืองคูคต[9]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลลำลูกกาและสุขาภิบาลลำไทรเป็นเทศบาลตำบลลำลูกกาและเทศบาลตำบลลำไทร
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้พื้นที่อำเภอลำลูกกาแบ่งเขตการปกครองเป็น 8 ตำบล
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[10] |
สี | แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | คูคต | Khu Khot | 18 |
108,444 |
||
2. | ลาดสวาย | Lat Sawai | 11 |
70,223 |
||
3. | บึงคำพร้อย | Bueng Kham Phroi | 19 |
48,983 |
||
4. | ลำลูกกา | Lam Luk Ka | 21 |
30,820 |
||
5. | บึงทองหลาง | Bueng Thonglang | 22 |
10,942 |
||
6. | ลำไทร | Lam Sai | 14 |
8,572 |
||
7. | บึงคอไห | Bueng Kho Hai | 12 |
7,998 |
||
8. | พืชอุดม | Phuet Udom | 9 |
4,060 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้อำเภอลำลูกกาประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองคูคต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูคต เฉพาะหมู่ที่ 4–5, 8–11, 13–18 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 6, 7 และ 12
- เทศบาลเมืองลำสามแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูคต เฉพาะหมู่ที่ 1–2 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 6, 7 และ 12
- เทศบาลเมืองลาดสวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดสวายทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลลำไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำไทร เฉพาะหมู่ที่ 2, 9 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3–7 และ 10–11
- เทศบาลตำบลลำลูกกา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงคำพร้อย เฉพาะหมู่ที่ 15–16 และบางส่วนของหมู่ที่ 4–6, 17 และ 19 และตำบลลำลูกกา เฉพาะหมู่ที่ 11, 18, 20–21 และบางส่วนของหมู่ที่ 5, 10, 12 และ 18–19
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงคำพร้อย เฉพาะหมู่ที่ 1–3, 7–14, 18 และบางส่วนของหมู่ที่ 4–6, 17 และ 19
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำลูกกา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำลูกกา เฉพาะหมู่ที่ 1–4, 6–9, 13–17 และบางส่วนของหมู่ที่ 5, 10, 12 และ 18–19
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงทองหลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงทองหลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำไทร เฉพาะหมู่ที่ 8, 12–14 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3–7 และ 10–11
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคอไห ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงคอไหทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพืชอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพืชอุดมทั้งตำบล
การคมนาคม
แก้เส้นทางสายหลักของอำเภอลำลูกกา ได้แก่
- ถนนลำลูกกา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312)
- ถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9)
- ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1)
- ถนนวิภาวดีรังสิต (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31)
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต - คูคต
เส้นทางสายรองของอำเภอลำลูกกา ได้แก่
- ถนนนิมิตใหม่ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3592)
- ถนนหทัยราษฎร์
- ถนนลำลูกกา-ธัญบุรี (คลอง 7) (ทางหลวงชนบท ปท.3004)
- ถนนอบจ.ปท.2006
- ถนนไสวประชาราษฏร์ (พระองค์เจ้าสาย)
รถโดยสารประจำทาง
แก้ฝั่งถนนพหลโยธิน
- รถเมล์ ขสมก. สาย 34 รังสิต - หัวลำโพง (รถธรรมดาและรถปรับอากาศ)
- รถมินิบัสสาย 34 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต - BTS แยก คปอ. (รถธรรมดา)
- รถเมล์เอกชนสาย 1-2E (34) (ทางด่วน) รังสิต - วัชรพล - หัวลำโพง (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์ ขสมก. สาย 39 ม.ธรรมศาสตร์ - สะพานใหม่ - อนุสาวรีย์ชัยฯ (รถธรรมดา)
- รถเมล์ ขสมก. สาย 39 ตลาดไท - อนุสาวรีย์ชัยฯ (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์เอกชนสาย 1-4 (39) ม.ธรรมศาสตร์ - บางเขน (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์เอกชนสาย 1-5 (39) รังสิต - อนุสาวรีย์ชัยฯ (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์ ขสมก. สาย 59 รังสิต - ดอนเมือง - สนามหลวง (รถธรรมดาและรถปรับอากาศ)
- รถเมล์ ขสมก. สาย 95ก รังสิต - บางกะปิ (รถธรรมดา)
- รถเมล์ ขสมก. สาย 185 รังสิต - คลองเตย (รถธรรมดา)
- รถเมล์เอกชนสาย 187 รังสิตคลองสาม - สี่พระยา (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์ ขสมก. สาย 503 รังสิต - สะพานใหม่ - สนามหลวง (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์เอกชนสาย 504 รังสิต - สะพานกรุงเทพ (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์ ขสมก. สาย 510 ม.ธรรมศาสตร์ - ดอนเมือง - อนุสาวรีย์ชัยฯ (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์ ขสมก. สาย 520 มีนบุรี - ตลาดไท (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์ ขสมก. สาย 522 (ทางด่วน) รังสิต - อนุสาวรีย์ชัยฯ (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์ ขสมก. สาย 522 (เสริม) สถานีรังสิต - BTS แยก คปอ. (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์เอกชนสาย 538 มทร.ธัญบุรี - รพ.สงฆ์ (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์เอกชนสาย 554 (ทางด่วน) รังสิต - กม.8 - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์ ขสมก. สาย 555 (ทางด่วน) รังสิต - การบินไทย - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์เอกชนสาย 1-31 คลองหลวง คลอง 5 - ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ (รถปรับอากาศ)
- รถตู้สาย ต.39 มีนบุรี - ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต
- รถตู้และรถมินิบัสสาย ต.95 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต - บางกะปิ
- ฯลฯ
ฝั่งถนนลำลูกกา
- รถเมล์เอกชน สาย 525 ลำลูกกา คลอง 12 - สวนสยาม (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์ชานเมืองสาย 374 รังสิต - ลำลูกกาคลองสิบหก (ใช้รถเมล์สาย ปอ.6250 วิ่งแทนชั่วคราว)
- รถเมล์ชานเมืองสาย 374 ปากทางลำลูกกา - ฟ้าคราม (ลำลูกกาคลองสอง) (รถธรรมดา)
- รถเมล์ชานเมืองสาย 374 ปากทางลำลูกกา - เปียร์นนท์ (ลำลูกกาคลองสาม) (รถธรรมดา)
- รถเมล์ชานเมืองสาย 374 ลาดสวาย - BTS คูคต (ลำลูกกาคลองสี่) (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์ชานเมืองสาย 374 ลำลูกกาคลองสิบ - รังสิตคลองเจ็ด (ใช้รถสองแถววิ่งแทนชั่วคราว)
- รถเมล์ ขสมก. สาย 543 บางเขน - ลำลูกกาคลองเจ็ด (รถปรับอากาศ)
- รถเมล์ ขสมก. สาย 543 (เสริม) บางเขน-กรมการปกครอง ลำลูกกา คลอง 9 (รถปรับอากาศ)
- รถสองแถวสาย 1009 ตลาดวงศกร - ลำลูกกาคลองสี่
- รถเมล์ชานเมืองสาย 1117 โลตัสลำลูกกาคลองหก - รังสิตคลองแปด (ใช้รถสองแถววิ่งแทนชั่วคราว)
- รถสองแถวสาย 1222 รังสิตคลองสี่ - ลำลูกกาคลองสี่
- รถสองแถวและรถตู้สาย 1304 มีนบุรี - ลำลูกกาคลองเจ็ด
- รถสองแถวสาย 6046 ซอยพหลโยธิน 62 - ซอยเย็นฉ่ำ
- รถเมล์ชานเมืองสาย 6250 รังสิต - ลำลูกกาคลองสิบ (รถปรับอากาศ)
- รถตู้สาย ต.117 (ม.รามคำแหง) - ปากทางลำลูกกา - ลำลูกกาคลองแปด
อื่น ๆ
- รถสองแถวสาย 6038 เซียร์รังสิต - ซอยรังสิต-นครนายก 18 - สะพานฟ้า (ยกเลิกแล้ว)
- รถสองแถวสาย 6038 เซียร์รังสิต - ซอยรังสิต-นครนายก 2 - สะพานฟ้า (ยกเลิกแล้ว)
- รถสองแถวสาย 6038 เซียร์รังสิต - จามร - สนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ (ยกเลิกแล้ว)
- รถสองแถวสาย 6038 เซียร์รังสิต - หมู่บ้านพฤกษา 20
ขนส่งทางราง
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ [1]พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แก้ไขเขตจังหวัดพระนคร ธนบุรี พระประแดง สมุทรปราการ และมีนบุรีในมณฑลกรุงเทพ ฯ กับธัญบุรี ในมณฑลอยุธยา
- ↑ [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- ↑ [3]พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนคร พุทธศักราช ๒๔๘๔
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 9-10. 3 สิงหาคม 2499.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลลำไทร จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (106 ง): 2472–2473. 19 ธันวาคม 2504.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (107 ง): 2706–2707. 3 พฤศจิกายน 2507.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (97 ง): 1910–1912. 14 มิถุนายน 2526.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 72-76. 15 กันยายน 2532.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองคูคต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (5 ก): 4–7. 6 มีนาคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-09-03.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.