สถานีคูคต
สถานีคูคต (N24) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับ ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 19 กิโลเมตร ยกระดับเหนือถนนลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี บริเวณสถานีตำรวจภูธรคูคต เป็นสถานีปลายทางของโครงการฯ ส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งมีศูนย์ซ่อมบำรุงไปทางทิศตะวันออก เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563
คูคต N24 Khu Khot | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||
![]() | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี | ||||||||||
พิกัด | 13°55′57″N 100°38′48″E / 13.9324°N 100.6466°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°55′57″N 100°38′48″E / 13.9324°N 100.6466°E | ||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ราง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ที่จอดรถ | อาคารจอดแล้วจร | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | N24 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 1,599,049 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
ที่ตั้ง | |||||||||||
![]() |
ที่ตั้ง แก้
ถนนลำลูกกา บริเวณสถานีตำรวจภูธรคูคต ในพื้นที่ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
สถานีคูคต เป็นสถานีปลายทางในส่วนเหนือ (Northbound Section) ของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ไปจนกว่าจะมีความชัดเจนในการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทส่วนเหนือระยะที่ 3 ตั้งแต่สถานีคูคต ไปจนถึงสถานีวงแหวนรอบนอกตะวันออก จากกรุงเทพมหานคร และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ทั้งนี้ช่วงดังกล่าว ซึ่งถือเป็นช่วงสุดท้ายของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง
แผนผังของสถานี แก้
U3 ชานชาลา |
||
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (แยก คปอ.) | |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท สถานีปลายทาง | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, สถานีตำรวจภูธรคูคต, ลานจอดแล้วจร (Park & Ride) |
เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง ผู้โดยสารที่มาจากสถานีเคหะฯ ถึงแล้วจะต้องลงจากขบวนทั้งหมดที่ชานชาลา 2 จากนั้นขบวนรถจะกลับทิศบริเวณสุดราง เพื่อมุ่งหน้ามารับผู้โดยสารที่ชานชาลา 1 ฝั่งตรงข้าม
รายละเอียดของสถานี แก้
รูปแบบของสถานี แก้
เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้าง 22.15 เมตร (ระยะรวมหลังคา 27.8 เมตร) ยาว 150 เมตร ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา มีประตูกั้นชานชาลาแบบ Half Height Platform Screen Doors ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยใช้กระจกเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด[1]
สัญลักษณ์ของสถานี แก้
ใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ
ทางเข้า-ออก แก้
- 1 ตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรคูคต (บันไดเลื่อน)
- 2 ลานจอดแล้วจร (Park & Ride) (บันไดเลื่อน, ลิฟต์)
- 3 ซอยสุนีย์ (ลิฟต์)
- 4 ตรงข้ามซอยสุนีย์, วัดสายไหม
สิ่งอำนวยความสะดวก แก้
- ลิฟต์ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ
- อาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) จอดรถได้ประมาณ 713 คัน[2]
เวลาให้บริการ แก้
ปลายทาง | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|
สายสุขุมวิท[3] | |||
ชานชาลาที่ 1 | |||
E23 | เคหะฯ | 05.15 | 23.15 |
E15 | สำโรง | – | 23.30 |
N9 | ห้าแยกลาดพร้าว | – | 00.00 |
สถานที่ใกล้เคียง แก้
รถโดยสารประจำทาง แก้
- ถนนลำลูกกา รถ ขสมก. สาย 543 รถชานเมือง สาย 374 374ค2 374ค3 6250 รถตู้ สาย ต.94 ต.117
ถนนลำลูกกา | |||
---|---|---|---|
สายที่ | ต้นทาง | ปลายทาง | หมายเหตุ |
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) | |||
543 | บางเขน | ลำลูกกา คลอง 7 | มีรถให้บริการน้อย |
รถชานเมือง | |||
374 | รังสิต | ลำลูกกา คลอง 16 | ใช้รถ ปอ. 6250 ในการให้บริการ |
แยกลำลูกกา | เปียร์นนท์ | ผ่านเฉพาะขากลับแยกลำลูกกา และให้บริการแค่ชั่วโมงเร่งด่วนเท่านั้น มีรถให้บริการน้อย | |
374ค3 | ตลาดกลางลาดสวาย | BTS คูคต | มีรถให้บริการน้อย |
374ค2 | ฟ้าคราม | ||
6250 | รังสิต | ลำลูกกา คลอง 10 | |
รถตู้ | |||
ต.94 | เมเจอร์รังสิต | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | ขึ้นทางพิเศษกาญจนาภิเษก หากมาจากฝั่งเมเจอร์รังสิตจะเก็บเต็มราคา แต่หากมาจากฝั่งรามคำแหงจะเก็บตามระยะทาง |
ต.117 | ม.รามคำแหง | ลำลูกกา คลอง 8 | ปัจจุบันตัดเสริมแค่ "ปากทางลำลูกกา - ลำลูกกา คลอง 8" |
อ้างอิง แก้
- ↑ "รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน (หมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา) ของกรุงเทพมหานคร เฉพาะช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา (ปัจจุบัน รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ) กรณียกเลิกการติดตั้งแผงบังสายตาบริเวณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ". บทที่ 1 บทนำ. โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2020-12-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-12-16.
- ↑ "แผ่นพับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-02-06. สืบค้นเมื่อ 2020-12-16.
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.