บุญจง วงศ์ไตรรัตน์
บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ (เกิด 14 มกราคม พ.ศ. 2504) เป็นนักการเมืองชาวไทย กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (อนุทิน ชาญวีรกูล)[3] อดีตรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ถาวร เสนเนียม | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ประสงค์ โฆษิตานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 14 มกราคม พ.ศ. 2554 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ถาวร เสนเนียม | |
ถัดไป | ชูชาติ หาญสวัสดิ์ ฐานิสร์ เทียนทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 มกราคม พ.ศ. 2504 อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2565–2566) พลังประชารัฐ (2561–2565) ภูมิใจไทย (2551–2556, 2566–ปัจจุบัน)[1] พลังประชาชน (2550–2551) ไทยรักไทย (2543–2549) |
คู่สมรส | กาญจนา วงศ์ไตรรัตน์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองอาสารักษาดินแดน |
ประจำการ | พ.ศ. 2552 – 2554 |
ยศ | นายกองเอก[2] |
ประวัติ
แก้นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ เกิดที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จบชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จบการศึกษา ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ นายบุญจงเริ่มต้นชีวิตการเมืองท้องถิ่น โดยเป็น สจ.อำเภอโชคชัย นครราชสีมา ติดต่อกัน 2 สมัย เป็นเวลา 10 ปี จากนั้นขึ้นมาเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และก้าวขึ้นมาเล่นการเมืองระดับชาติในนามของพรรคไทยรักไทย และได้เป็น ส.ส.นครราชสีมา สมัยแรกในปี 2544
จากนั้นนายบุญจงก็ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.นครราชสีมา พรรคไทยรักไทย อีกครั้งในปี 2548 จนกระทั่งเป็น ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน ในปี 2550
โดยในระหว่างอยู่ร่วมพรรคพลังประชาชน นายบุญจงถือเป็น ส.ส.คนหนึ่งที่มีบทบาทในการคุมมวลชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ว่าจะเป็น แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) หรือ คนรักทักษิณไม่เอาเผด็จการ ทำให้สนิทสนมกับ นายเนวิน ชิดชอบ หัวหน้ากลุ่มเพื่อนเนวิน ซึ่งมีบทบาทสูงในการสลับขั้วไปตั้งรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์
ในการจัดตั้งรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายบุญจงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) [4] ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก
และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 พรรคภูมิใจไทยได้มีมติให้นายบุญจง ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค คนที่ 1
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม หลังจากที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 7 ต่อ 1 ให้หมดสมาชิกภาพ เนื่องจากถือหุ้นในกิจการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 และมาตรา 48 รวมทั้งได้หุ้นมาหลังจากได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.[5] และได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554[6]
นายบุญจง ได้รับเลือกตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555[7] ซึ่งก่อนหน้านั้นนายบุญจง เป็นผู้ที่ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค แทนนายชวรัตน์ ชาญวีรกุล ที่ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2555
ใน พ.ศ. 2561 นายบุญจงได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[8]
ใน พ.ศ. 2565 เขาได้กลับเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และได้รับการเปิดตัวเป็นว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา[9] ต่อมาเกิดกระแสต่อต้านจากกลุ่มไลน์ของพรรคเพื่อไทย ถึงความเหมาะสมของการรับเขากลับเข้าพรรคอีกครั้ง ในที่สุดเขาประกาศถอนตัวจากว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[10]
ใน พ.ศ. 2566 เขาได้กลับเข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย และได้รับการเปิดตัวเป็นว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหลังลาออกจากพรรคเพื่อไทย โดยเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 10 ของจังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง โดยแพ้ให้กับผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เขาได้รับการเสนอชื่อจากอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 และที่ประชุมมีมติแต่งตั้งเขาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พร้อมกับวัน อยู่บำรุง[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ “ศุภชัย” เผย “บุญจง” ทิ้ง ภูมิใจไทย ไปตั้งแต่ “ยิ่งลักษณ์” ยุบสภา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็นกรณีพิเศษ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126, ตอนที่ 8 ข, 27 เมษายน พ.ศ. 2552, หน้า 15
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี เล่ม 141 ตอนพิเศษ 76 ง วันที่ 15 มีนาคม 2567
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ ตุลาการศาลรธน.ตัดสิน 6 ส.ส.พ้นสภาพ เก็บถาวร 2012-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนข่าวสด 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 5ง วันที่ 15 มกราคม 2554
- ↑ มติภูมิใจไทยเลือก‘อนุทิน’ นั่งหัวหน้าพรรค - ‘บุญจง’ รอง[ลิงก์เสีย]
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ “บุญจง” กลับรัง เพื่อไทย เป็นผู้สมัคร ส.ส. นครราชสีมา
- ↑ บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ถอนตัวเพื่อไทย หลังถูก ส.ส. ในพรรครุมต้าน
- ↑ "'ครม.' ไฟเขียว ตั้ง 'วัน อยู่บำรุง' นั่ง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี". กรุงเทพธุรกิจ. 13 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติจากเว็บไซต์พรรคภูมิใจไทย เก็บถาวร 2009-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข้อมูลประวัติสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน