พิสิฐ ลี้อาธรรม

ศาสตราภิชาน พิสิฐ ลี้อาธรรม เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ประธานกรรมการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย นายกสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประธานกรรมการ บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน[1]กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[2] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ช่วงปี 2540-2544 (รัฐบาลนายชวน หลีกภัย) อดีตคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) และอดีตผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พิสิฐ ลี้อาธรรม
พิสิฐ ในปี พ.ศ. 2548
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 มกราคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
คู่สมรสลักษณา ลี้อาธรรม

การศึกษา แก้

พิสิฐ ลี้อาธรรม หรือ ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม เกิดวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2494 เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายวริศน์ กับนางนวลแข ลี้อาธรรม มีพี่น้อง 5 คน ศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปีการศึกษา 2508-2512 จากนั้นได้รับทุนการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย ไปศึกษา ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513-2520 จบการศึกษาขั้นปริญญาตรี โท และ เอก (ปี 2534) สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีราสมูส (Erasmus University) เมืองร็อตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์

การทำงาน แก้

ในอดึตเป็นหนึ่งในกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550, นายกสมาคมนักเรียนเก่าเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2546-49, ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงินการคลัง ของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ประธานสภาหอการค้าไทยเนเธอร์แลนด์ และ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารเงินกองทุนประกันสังคม

นอกจากเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ยังเคยเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 - 2546 ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2537 - 2540 ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2534 - 2537 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ พ.ศ. 2533 - 2534 นักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี พ.ศ. 2530 - 2533 ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ พ.ศ. 2529 - 2530 หัวหน้าส่วนการควบคุมปริวรรต ฝ่ายการต่างประเทศ พ.ศ. 2527 - 2528 ผู้ช่วยกรรมการบริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศ พ.ศ. 2525 - 2526 หัวหน้าหน่วยการคลัง พ.ศ. 2524, 2525, 2526, และ 2527 เศรษฐกร และเศรษฐกรผู้ช่วย หน่วยการคลัง ฝ่ายวิชาการ ธปท พ.ศ. 2520 - 2524 ระหว่างปี 2551 - 2559 เป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อดีตกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555

เคยดำรงตำแหน่ง อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กระทรวงวิทยาศาสตร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กบข นายกสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยง ประธานอนุกรรมการบริหารการเงินของสสส กรรมการมูลนิธิขาเทียม กรรมการหลักสูตร ปรม. สถาบันพระปกเกล้า เป็นกรรมการและที่ปรึกษาในภาคเอกชนหลายแห่ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 14 [3]

ชีวิตส่วนตัว แก้

นายพิสิฐ ลี้อาธรรม สมรสแล้วกับนางลักษณา มีบุตรชาย 2 คน คือ นายปรมัตถ์ ทำงานที่ธนาคารในสิงคโปร์ และนายนุสิฐ เป็นพนักงานการลงทุน ทุนสำรองระหว่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ไทย แก้

ต่างประเทศ แก้

รางวัล แก้

  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รางวัลพิเศษจากผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO Diretor General’s Special Award 2009 on No Tobacco Day)
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อ้างอิง แก้

  1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน
  2. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  3. "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘

แหล่งข้อมูลอื่น แก้