คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 2 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ภายในการนำของหลวงดำริอิสรานุวรรตน์

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Thammasat Business School
สถาปนา23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 (85 ปี)
คณบดีรศ.ดร.สมชาย สุภัทรกุล
ที่อยู่
วารสารJournal of Business Administration
Journal of Accounting Profession
Journal of Information Systems in Business
สี   สีฟ้าสีขาว
มาสคอต
เรือใบ
เว็บไซต์www.tbs.tu.ac.th
ตึกตู้ปลา หรือตึกรังผึ้ง อาคารเรียนปัจจุบันในวิทยาเขตท่าพระจันทร์ ถือเป็นหนึ่งในอาคารสมัยใหม่ที่โดดเด่นที่สุดในวิทยาเขตด้วยรูปแบบแพทเทรินของช่องหน้าต่าง ได้รับการออกแบบโดยนายอมร ศรีวงศ์ในปี พ.ศ. 2512

ในระยะเริ่มแรกได้ก่อตั้งเป็น "แผนกวิชาการบัญชี" โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ

  1. หลักสูตร 4 ปี ได้รับประกาศนียบัตรทางการบัญชี เทียบเท่าปริญญาตรี
  2. หลักสูตร 5 ปี ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชี เทียบเท่าปริญญาโท

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (Thammasat Business School) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 85 ปีในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอน มีครบทั้ง 3 ระดับ คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีทั้งหลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรนานาชาติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นคณะที่มีอัตราการแข่งขันค่อนข้างสูงทั้งในระบบแอดมิดชั่นและรับตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักสูตรนานาชาติหรือ BBA ปัจจุบันได้ผลิตบัณฑิตรุ่นใหม่รับใช้สังคมในทุกหน่วยงานอันเป็นผู้นำในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในแวดวงธุรกิจเป็นจำนวนมากอีกทั้งศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงทั้งในวงการธุรกิจไม่ว่าจะเป็นทั้งระดับไทยและนานาชาติ

ประวัติ แก้

 
อาคารเรียนคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (ขวา)

เดิมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองเปิดสอนหลักสูตรการศึกษาเฉพาะวิชากฎหมาย เมื่อสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาธรรมศาสตรบัณฑิตแล้วจึงแยกออกไปศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาต่าง ๆ ในปี 2478 วิชาการบัญชีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์โดยมีหลวงดำริอิศรานุวรรตน์ เป็นผู้สอน ในสมัยนั้นวิชาการบัญชียังไม่แพร่หลาย ยังมิได้มีการบันทึกบัญชีเป็นกิจจะลักษณะ ผู้มีความรู้ทางการบัญชีจริง ๆ มีน้อยมากเพียง 3 - 4 คนเท่านั้น และหนึ่งในจำนวนนั้นคือ หลวงดำริอิศรานุวรรตน์ ผู้มีบทบาทในการก่อตั้งและพัฒนาวิชาการบัญชี เป็นผู้ริเริ่มให้มีกฎหมายรับรองการจัดตั้งสภาบัญชี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวิชาชีพสอบบัญชี และเพื่อเป็นองค์กรให้รัฐบาลในการจัดดำเนินการทดสอบความชำนาญงานทางบัญชีเพื่อออกประกาศนียบัตรวิชาชีพรับรองว่าผู้นั้นเป็นผู้ที่มีความรู้ทางการบัญชี ดีพอที่จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตอิสระได้ แต่เนื่องจากรัฐบาลในสมัยนั้นพิจารณาเห็นว่ายังไม่สมควรที่จะจัดตั้งสภาบัญชี เนื่องจากผู้มีความรู้ทางบัญชีน้อยมาก จึงเห็นว่าควรจะส่งเสริมในการให้วิชาความรู้ทางการบัญชีให้แพร่หลาย ดังนั้นหลวงดำริอิศรานุวรรตน์ จึงได้ขอให้รัฐบาลรับนโยบายอนุมัติให้มีการศึกษาวิชาการบัญชีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง โดยระยะแรกได้ก่อตั้ง “แผนกวิชาการบัญชี” เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2481 จึงถือว่าคณะฯ ได้ใช้วันนี้เป็นวันสถาปนาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้มีการดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้เทียบเท่ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน

พ.ศ. 2481 แผนกวิชาการบัญชี ได้เปิดสอนวิชาการบัญชีโดยแบ่งเป็น 2 หลักสูตร

1. หลักสูตร 3 ปี ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรทางการบัญชี ซึ่งเทียบเท่าระดับปริญญาตรี

2. หลักสูตร 5 ปี ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชี ซึ่งเทียบเท่าระดับปริญญาโท

พ.ศ. 2492 หลังจากได้ดำเนินการสอนมา 10 ปี ได้ยกฐานะชื่อ “แผนกวิชาการบัญชี” เป็น “คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี” เพิ่มแผนกพาณิชยศาสตร์ หลักสูตรการศึกษา 4 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้รับปริญญาตรีทางพาณิชยศาสตร์

พ.ศ. 2499

• ยกเลิกการศึกษาแบบประกาศนียบัตรและจัดหลักสูตรการศึกษาใหม่เป็นแบบปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ทั้งแผนกการบัญชีและพาณิชยศาสตร์

• เปิดสอนระดับปริญญาโทภาคกลางวัน

พ.ศ. 2505 แผนกพาณิชยศาสตร์ในระดับปริญญาตรีได้แบ่งออกเป็น 3 สาขาวิชา ประกอบด้วย สาขาการบริหารการเงินและการธนาคาร, สาขาการตลาด, สาขาการบริหารทั่วไป

พ.ศ. 2513 เปลี่ยนแปลงหลักสูตรระดับปริญญาตรีเป็นระบบหน่วยกิต เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล

พ.ศ. 2518 พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะฯ โดยแบ่งสาขาวิชาเอกเป็น 5 สาขาวิชา แผนกบัญชีมี 1 สาขาวิชา คือ สาขาการบัญชี แผนกพาณิชยศาสตร์ มี 4 สาขาวิชา คือ สาขาการเงิน สาขาการตลาด สาขาการบริหารบุคคล สาขาเทคนิคการบริหาร

พ.ศ. 2523 เปลี่ยนชื่อสาขาเทคนิคการบริหารเป็นสาขาบริหารอุตสาหการ

พ.ศ. 2526 เปิดสาขาการพณิชยนาวีเพิ่มอีก 1 สาขาวิชาในแผนกพาณิชยศาสตร์ และหลักสูตรโครงการการตลาดภาคภาษาอังกฤษ (Master’s in Marketing English Language Certificate Programme: MIM) ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต

พ.ศ. 2528 เปิดหลักสูตรโครงการปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร

พ.ศ. 2531 ปรับปรุงโครงการการตลาดภาคภาษาอังกฤษ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาโททางการตลาด ซึ่งเป็นปริญญาโททางการตลาดแห่งแรก และแห่งเดียวของประเทศไทยในขณะนั้น

พ.ศ. 2533 ปรับปรุงหลักสูตรเป็นหลักสูตรบัญชีบัณฑิตและบริหารธุรกิจบัณฑิต เปลี่ยนชื่อปริญญาด้านพาณิชยศาสตรบัณฑิต (พณ.บ.) เป็นบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) และเปิดสาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพิ่มอีก 1 สาขาวิชา เปลี่ยนแปลงวิธีการสอบคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี จากเดิมซึ่งเป็นการสอบคัดเลือกรวมเป็นแยกรับเข้าตามสายสอบโดยแบ่งออกเป็น 2 สาย คือ สายบัญชี และสายบริหารธุรกิจ

พ.ศ. 2535 จัดตั้งโครงการปริญญาตรีบริหารธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) จัดตั้งโครงการร่วมผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ (The Joint Doctoral Program in Business Administration) โดยการลงนามความร่วมมือและประสานงานระหว่างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดุษฎีบัณฑิตคนแรกของโครงการได้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2539

พ.ศ. 2539 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการประเมินราคาทรัพย์สิน โครงการนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกรมที่ดิน และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกและรัฐบาลออสเตรเลีย ต่อมาได้บรรจุหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต และหลักสูตรปริญญาโททางด้านการประเมินราคาทรัพย์สิน ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยเริ่มเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต ทางการประเมินราคาทรัพย์สิน เมื่อปีการศึกษา 2539

พ.ศ. 2540 ปรับปรุงหลักสูตร มีการปรับชื่อสาขาวิชา 2 สาขาวิชา และเพิ่มสาขาวิชา 1 สาขาวิชา รวมทั้งหมด 3 สาขาวิชา

1. สาขาวิชาการเงินและการธนาคารปรับเป็นสาขาวิชาการเงิน

2. สาขาวิชาบริหารอุตสาหการปรับเป็นสาขาวิชาบริหารอุตสาหการและปฏิบัติการ

3. สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

พ.ศ. 2541 เปิดสอนปริญญาโททางวิชาชีพการบัญชี และปริญญาเอกทางการตลาดภาคภาษาอังกฤษ

พ.ศ. 2542 เปิดโครงการปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน หลักสูตรนานาชาติ (MIF)

พ.ศ. 2543 เปิดสาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในระดับปริญญาตรี เปิดศูนย์ธรรมศาสตร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และศูนย์บริหารธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม

พ.ศ. 2544 เปิดโครงการปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (MRE)

พ.ศ. 2545 เปิดโครงการปริญญาโททางบริหารธุรกิจ เน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ (HRM)

พ.ศ. 2546 ปรับปรุงหลักสูตรโครงการปริญญาโททางการบัญชี โครงการปริญญาโททางวิชาชีพการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ และโครงการปริญญาโททางการบัญชี สำหรับอาจารย์ผู้สอนวิชาบัญชีระดับอุดมศึกษา โดยปรับปรุงเป็นโครงการใหม่ชื่อว่า “โครงการปริญญาโททางการบัญชี” จัดการเรียนการสอนเป็น 2 ภาษา (Bilingual) MAP และเปิดโครงการปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ธุรกิจระหว่างประเทศ) หลักสูตรนานาชาติ (IMBA)

พ.ศ. 2547 ปรับปรุงหลักสูตร มีการปรับชื่อสาขาวิชา 1 สาขาวิชา สาขาวิชาการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศปรับเป็นสาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศโลจิสติกส์และการขนส่ง

พ.ศ. 2548

• จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Business Competitiveness and Consulting Center) และศูนย์ทดสอบทักษะด้านการจัดการ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Scholarly Management Aptitude Requirement Test Center at Thammasat: SMART Center @ Thammasat)

• หลักสูตรปริญญาตรี สาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (BRE) และ หลักสูตรปริญญาโทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (MRE) ได้รับการ Accreditation จาก Royal Institution of Chartered Surveyors (RICS) เป็นครั้งแรก จนถึงปี 2551

พ.ศ. 2549

• เปิดหลักสูตรควบบัญชีบัณฑิตและมหาบัณฑิต (บูรณาการ) และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการแบบบูรณาการ) และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต โดยจัดการเรียนการสอนชั้นปีที่ 1 - 5 ที่ท่าพระจันทร์

• เปิดโครงการปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MSMIS)

พ.ศ. 2551 คณะฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอกทางการตลาด (Doctoral Program in Marketing) ซึ่งดำเนินการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ให้มีความกว้างขวางครอบคลุมทางด้านการบริหารธุรกิจครบทุกแขนง เป็นหลักสูตรปริญญาเอกทางธุรกิจ (Doctoral Program in Business: DPB)

พ.ศ. 2552

• ปรับปรุงหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ให้นักศึกษาสามารถเลือกจบ ด้วยวิชาเอกเดี่ยว (One major) หรือวิชาเอกเดี่ยวบวกวิชาโท (One major plus one minor) หรือวิชาเอกคู่ (Double major) ทั้งนี้ ไม่ว่านักศึกษาจะเลือกทางเลือกใดก็สามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในระยะเวลา 4 ปีการศึกษา นับเป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทยที่เปิดโอกาสเส้นทางการศึกษาได้หลากหลาย

• ปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชา 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาบริหารอุตสาหกรรมและปฏิบัติการ เป็นสาขาบริหารการปฏิบัติการ

• หลักสูตรปริญญาตรี สาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (BRE) และ หลักสูตรปริญญาโทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (MRE) ได้รับการ Accreditation จาก Royal Institution of Chartered Surveyors (RICS) เป็นครั้งที่ 2 จนถึงปี 2555

พ.ศ. 2555

• คณะฯ เป็นสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจแห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับโลก EQUIS (European Quality Improvement System) ซึ่งเป็นมาตรฐานคุณภาพทางการศึกษาด้านบริหารธุรกิจสูงสุดของ EFMD (European Foundation for Management Development) ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

• โครงการปริญญาโทสาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (MRE) ได้รับการจัดอันดับทางด้าน Real Estate Management ครั้งแรกจาก EDUNIVERSAL ลำดับที่ 80

พ.ศ. 2556

• คณะฯ ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตรเพื่อให้มีความทันสมัยมีความเป็นมาตรฐานโดยจัดทำในรูปแบบ มคอ.02 ประกอบด้วย หลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรภาษาอังกฤษ หลักสูตรควบบัญชีบัณฑิต (การบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ) หลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจแบบบูรณาการ)

• คณะฯ ปรับปรุงหลักสูตร Doctor of Business Administration (DBA) และ Doctoral Program in Business (DPB) เป็นหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ด้านบริหารธุรกิจ (Ph.D. in Business Administration)

• หลักสูตรปริญญาตรี สาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (BRE) และ หลักสูตรปริญญาโทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (MRE) ได้รับการ Accreditation จาก Royal Institution of Chartered Surveyors (RICS) เป็นครั้งที่ 3 จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561

พ.ศ. 2557

• คณะฯ ได้รับการตอบรับให้เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานการศึกษา AACSB (The Association to Advance Collegiate School of Business) เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2557 ในปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

• ปรับเปลี่ยนปฏิทินการศึกษาตามปฏิทิน ASEAN โดยเปิดภาคการศึกษาแรก ในเดือนสิงหาคม-ธันวาคม และภาคสองในเดือนมกราคม - พฤษภาคม

พ.ศ. 2558

• คณะฯ ปรับปรุงหลักสูตรบัณฑิตและหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558) โดยเพิ่มเงื่อนไขการศึกษาวิชาเอกคู่ (Double Major) เพื่อรองรับตลาดแรงงานที่มีความต้องการบัณฑิต ที่มีความรู้ความสามารถในหลาย ๆ ด้าน

• ปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรการตลาดมหาบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติ

• คณะฯ ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพ (Re - Accreditation) จาก EQUIS และได้รับการรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องอีก 3 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2561

พ.ศ. 2560

• คณะฯ ได้รับเลือกจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านธุรกิจ (Association to Advance Collegiate Schools of Business) ให้เป็นหนึ่งในคณะบริหารธุรกิจชั้นนำของโลก ทั้งทางด้านวิชาการ ระบบการจัดการงานวิจัย และการพัฒนานวัตกรรม มาตรฐานการรับรองจาก AACSB เป็นการรับรองที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากมีไม่ถึง 5% ของคณะบริหารธุรกิจทั่วโลกที่จะได้รับมาตรฐานนี้ การได้รับคัดเลือกจาก AACSB เป็นหนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะมีเพียง 4 มหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียน ที่ได้รับคัดเลือกให้ผ่านมาตรฐาน จากทั้ง AACSB และ EQUIS ในทุกระดับชั้นตั้งแต่ปริญญาตรี โท และเอก

• หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ธุรกิจระหว่างประเทศ) หลักสูตรนานาชาติ (IMBA) ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล หลักสูตรนานาชาติ (GEMBA)

• ปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 2 หลักสูตร ดังนี้

1. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) (MBA)

2. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) (GEMBA)

พ.ศ. 2561

• คณะฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับโลกจาก AMBA (Association of MBAs) องค์กรรับรองคุณภาพระดับสากล จากสหราชอาณาจักร สําหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา (MBA) ทําให้คณะฯ เป็นสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ ที่บรรลุสถานะ 3 มงกุฎ (Triple Crown) แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย โดยเป็นสถาบันการศึกษาที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับนานาชาติอย่างครบถ้วนจาก 3 สถาบันหลักด้านการบริหารธุรกิจของโลกคือ AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business) จากสหรัฐอเมริกา EQUIS (EFMD Quality Improvement System) จากสหภาพยุโรป และ AMBA (Association of MBAs) จากสหราชอาณาจักร ด้วยเกณฑ์การประเมินที่แตกต่างกันและมีกติกาที่เข้มงวดอย่างยิ่ง จากสถิติพบว่ามีมหาวิทยาลัยจํานวนน้อยกว่า 1% ของมหาวิทยาลัยในโลกนี้ที่ได้รับการรับรอง ซึ่งสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจํานวน 13,670 แห่งทั่วโลก มีเพียง 90 แห่งเท่านั้น ที่ผ่านการรับรองครบทั้ง 3 มาตรฐานดังกล่าว

• คณะฯ ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพ (Re - Accreditation) จาก EQUIS และได้รับการรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องอีก 3 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2564

• ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี จํานวน 6 หลักสูตร ดังนี้

1. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

3. หลักสูตรควบบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

4. หลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจแบบบูรณาการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

5. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

6. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

• ปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้

1. หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

2. หลักสูตรควบวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีและการบริหารการเงิน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

3. หลักสูตรควบวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการตลาด (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

4. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

พ.ศ. 2562 ปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 3 หลักสูตร ดังนี้

1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

2. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

3. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

พ.ศ. 2563 • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ได้มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการจัดอันดับ QS World University Rankings: Global MBA Rankings 2021 จากสถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS Quacquarelli Symonds limited ในด้าน Return on Investment อันดับ 1 ของเอเซีย

• โครงการปริญญาโททางการเงิน หลักสูตรนานาชาติ (MIF) ลงนามในความร่วมมือ (MOU) กับสมาคมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความเสี่ยงระดับโลก หรือ Global Association of Risk Professionals (GARP) ซึ่งเป็นสถาบันผู้จัดการสอบ Financial Risk Management (FRM) ที่ได้รับการยอมรับจากตลาดการเงินทั่วโลกและมีมาตรฐานสากล

พ.ศ. 2564

• คณะฯ ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพ (Re - Accreditation) จาก EQUIS และ AMBA และได้รับการรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องอีก 3 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2567

• โครงการปริญญาโทสาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (MRE) ได้รับการจัดอันดับทางด้าน Real Estate Management จาก EDUNIVERSAL อันดับที่ 51 ถือเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยที่สอนทางด้าน Real Estate Business

พ.ศ. 2565

• คณะฯ ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพ (Re - Accreditation) จาก AACSB และได้รับการรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องอีก 5 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2570 ทําให้คณะฯ ยังคงเป็นสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ ที่คงสถานะ 3 มงกุฎ (Triple Crown) แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย

• ปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 2 หลักสูตร ดังนี้

1. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) (MBA)

2. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) (GEMBA)

พ.ศ. 2566 • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ได้มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการจัดอันดับ QS World University Rankings 2024

QS Master of Management Ranking 2024

MBA THAMMASAT

อันดับ 1 ของประเทศไทย

อันดับ 8 ของเอเชีย

อันดับ 64 ของโลก

2024 QS Global MBA Ranking

GEMBA THAMMASAT

อันดับ 1 ของประเทศไทย

อันดับ 1 ของ Asia ในเรื่อง Return on Investment

อันดับ 21 ของเอเชีย

อันดับ 131-140 ของโลก

สัญลักษณ์ แก้

  • สัญลักษณ์ประจำคณะ

สัญลักษณ์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ เรือสำเภา

  • สีประจำคณะ

   สีฟ้าสีขาว

หลักสูตรการศึกษา แก้


ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตร 4 ปี ศึกษาที่ศูนย์รังสิต

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) 1 สาขาวิชา

  1. สาขาวิชาการบัญชี

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) 7 สาขาวิชา

  1. สาขาวิชาการเงิน
  2. สาขาวิชาการตลาด
  3. สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
  4. สาขาวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
  5. สาขาวิชาการบริหารการปฏิบัติการ
  6. สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง
  7. สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

หลักสูตร 4 ปี นานาชาติ (BBA) ศึกษาที่ท่าพระจันทร์

  1. สาขาวิชาการบัญชี
  2. สาขาวิชาการเงิน
  3. สาขาวิชาการตลาด

หลักสูตรบูรณาการปริญญาตรี-โท 5 ปี (IBMP) ศึกษาที่ท่าพระจันทร์

  1. สาขาวิชาบูรณาการบัญชี
  2. สาขาวิชาบูรณาการบริหารธุรกิจ

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : MBA

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ : MRE

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ : MSMIS

หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (หลักสูตรสองภาษา) : MAP

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (หลักสูตรนานาชาติ) : MIF

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล (หลักสูตรนานาชาติ) : GEMBA

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) : PhD

การรับรองมาตรฐานการศึกษา แก้

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการรับรองวิทยฐานะ European Quality Improvement System (EQUIS) อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นโครงการประกันคุณภาพระดับโลกของมูลนิธิ เพื่อพัฒนาด้านการจัดการแห่งยุโรป หรือ European Foundation for Management Development (EFMD) โดยการรับรองวิทยฐานะ EQUIS ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งระดับปริญญาตรี–ปริญญาโท–และปริญญาเอกจากกรรมการผู้ประเมินคุณภาพ EQUIS Review Committee ในการรับรองมาตรฐาน ได้มีการตรวจเข้มโดยใช้มาตรฐานเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับนานาชาติในทุก ๆ ด้าน อาทิ

  • ด้านคุณภาพของอาจารย์และนักศึกษา
  • ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่มีความทันสมัย
  • ด้านงานวิจัยมีมาตรฐานที่ดีซึ่งพิสูจน์จากการได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำระดับนานาชาติ
  • ด้านคุณภาพของการบริหารจัดการที่มีมาตรฐานในระดับสากล
  • ด้านความสัมพันธ์กับองค์กรภายนอกและนักศึกษาเก่า

ทั้งนี้ EFMD ได้มีการรับรองวิทยฐานะ EQUIS ให้กับสถาบันด้านบริหารธุรกิจชั้นนำทั่วโลกรวมถึง INSEAD (France), London Business School (UK), Cambridge Business School (UK), Melbourne Business School (Australia), Tsinghua University School of Economics and Management (China), NUS Business School (Singapore) เป็นต้น

ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2560 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาจาก The Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ให้เป็นหนึ่งในคณะบริหารธุรกิจชั้นนำของโลก ทั้งทางด้านวิชาการ ระบบการจัดการ งานวิจัย และ การพัฒนานวัตกรรม มาตรฐานการรับรอง จาก AACSB เป็นการรับรองที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากคณะบริหารธุรกิจมีไม่ถึง 5 เปอร์เซนต์ของทั่วโลก ที่จะได้รับมาตรฐานนี้ การได้รับคัดเลือกจาก AACSB เป็นหนึ่งในความสำเร็จ ที่ยิ่งใหญ่ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะมีเพียง 4 มหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของไทย และ ในสิงคโปร์คือ NUS, SMU, NANYANG ที่ได้รับคัดเลือกให้ผ่านมาตรฐานจากทั้ง AACSB และ EQUIS ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ปริญญาตรี โท และ เอก

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2561 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาจาก The Association of MBAs (AMBA) จากประเทศสหราชอาณาจักร (United Kingdom) โดยเฉพาะหลักสูตรและนวัตกรรมการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจในระดับบัณฑิตศึกษา (ในระดับปริญญาโทบริหารธุริจ MBA)

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจแห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาครบถ้วน (Triple Crown accreditation) จากทั้ง 3 สถาบันรับรองคุณภาพการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ AACSB, AMBA, และ EQUIS ที่มีชื่อเสียงที่สุดและเป็นที่ยอมรับที่สุดทั่วโลก มีสถาบันการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจไม่ถึง 100 แห่งทั่วโลก ที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาครบถ้วน (Triple Crown accreditation) จากทั้ง 3 สถาบันนี้

บุคคลสำคัญ แก้

คณบดี แก้

คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
รองศาสตราจารย์ เกศินี วิทูรชาติ พ.ศ. 2549 – 2553
รองศาสตราจารย์ ดร.กุลภัทรา สิโรดม พ.ศ. 2553 – 2556
ศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย พ.ศ. 2556 – 2559
รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร พ.ศ. 2559 – 2562
ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ พ.ศ. 2562 – 2565
รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สุภัทรกุล พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ดูเพิ่ม แก้