พนัส สิมะเสถียร
ศาสตราจารย์พนัส สิมะเสถียร เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตรักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พนัส สิมะเสถียร | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | นายอานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | นายสุธี สิงห์เสน่ห์ |
ถัดไป | นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ |
รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มีนาคม พ.ศ. 2538 – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
ก่อนหน้า | ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ |
ถัดไป | รศ.ดร.นริศ ชัยสูตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 กันยายน พ.ศ. 2475 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | กัลยา สิมะเสถียร |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้พนัส สิมะเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2475 เป็นบุตรของนายเพ็ญ กับนางจำเนียร สิมะเสถียร เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[1] อดีตปลัดกระทรวงการคลัง อดีตรักษาการอธิการบดี และนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอดีตอธิบดีกรมสรรพากรโดยเป็นคนแรกที่จบการศึกษาปริญญาเอกในขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากร
ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 12,กฎหมายการคลัง) และประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ถึงปัจจุบัน
ศ.พนัส สิมะเสถียร หรือ ศ.ดร.พนัส สิมะเสถียร สมรสกับนางกัลยา สิมะเสถียร มีบุตร 3 คน คือ นายดนุชา สิมะเสถียร, นางณัฐญา นิยมานุสร (สิมะเสถียร) และ นายธีรสุต สิมะเสถียร
ศ.พนัส สิมะเสถียร เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2]
พนัส สิมะเสถียร เคยเป็นประธานมูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร[3]
การศึกษา
แก้- พ.ศ. 2494 ประกาศนียบัตร วิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2497 B.A., Cum Laude, สาขาบริหารธุรกิจ Claremont Men's College, California ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2498 ปริญญาโท วิชาการบัญชี University of Illinois ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2501 ปริญญาเอก วิชาการบัญชี University of Illinois ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2527 พาณิชยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2541 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาสังคมศาสตร์[7]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ 'ไอคอนสยาม' ยกเลิกสัญญาการก่อสร้าง 'หอชมเมือง' ริมเจ้าพระยา เหตุโควิด-19 ระบาด นักท่องเที่ยวลด
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑๑, ๓๐ เมษายน ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙๙, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๙๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๘ กันยายน ๒๕๓๐
ก่อนหน้า | พนัส สิมะเสถียร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุธี สิงห์เสน่ห์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (18 มิถุนายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2535) |
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ |