ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นนักเขียนและนักประวัติศาสตร์ชาวไทยผู้สนใจศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 ชาญวิทย์เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ | |
---|---|
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2538 | |
ก่อนหน้า | รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร |
ถัดไป | ศ.ดร.พนัส สิมะเสถียร (รักษาการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี |
วิชาชีพ | ข้าราชการพลเรือน |
ประวัติ
แก้ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ที่บ้านห้องแถว ถนนทรงพล อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เกิดและเติบโตจากครอบครัวชนชั้นกลาง คุณพ่อชื่อ เชิญ (เปลี่ยนนามสกุลเดิมจาก "แก่นแก้ว" เป็น "เกษตรศิริ") จบการศึกษาชั้นมัธยม 8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย คุณพ่อรับราชการเป็นเทศมนตรี อำเภอบ้านโป่ง และทำการค้าขายมี "ร้านขายปืนบ้านโป่ง" คุณแม่ชื่อ ฉวีรัตน์ (สกุลเดิม "เอี่ยมโอภาส") จบการศึกษาจากโรงเรียนพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีอาชีพเป็นพยาบาลและผดุงครรภ์
เมื่อชาญวิทย์อายุได้เพียง 7 เดือน เกิดเหตุการณ์กองทัพญี่ปุ่นบุกไทย (8 ธันวาคม 2484) และใช้บริเวณสถานีรถไฟหนองปลาดุก ซึ่งใกล้กับอำเภอบ้านโป่ง เป็นที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่นเพื่อควบคุมการสร้างทางรถไฟสายมรณะ จนก่อให้เกิด "เหตุการณ์บ้านโป่ง" ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว และเมื่อถึงช่วงปลายสงคราม ซึ่งเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดอย่างหนักที่หนองปลาดุก คุณแม่ฉวีรัตน์ จึงได้พาชาญวิทย์ขณะอายุ 3 ขวบ หนีหลบภัยสงครามไปยังบ้านญาติในคลองบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ชาญวิทย์เริ่มเรียน ก ไก่ ข ไข่ จากโรงเรียนเฉลิมวิทยา ที่วัดกลางปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งคุณตาคุณยายเป็นเจ้าของโรงเรียน จากนั้นกลับมาเรียนที่บ้านโป่งอีกครั้ง โดยเข้าศึกษาต่อระดับประถม 3 - 4 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 (ระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2497 เป็นเวลา 5 ปี) ที่โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนในเครือคณะนักบวชซาเลเซียน โดยเป็นโรงเรียนเดียวกับที่ธนินท์ เจียรวนนท์ ผู้บริหารสูงสุดของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เคยเข้าศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2492
เมื่ออายุ 14 ปี พ.ศ. 2498 ชาญวิทย์เดินทางเข้ามาเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 8 จากนั้นสอบเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (แผนกการทูต) โดยมีผลการเรียนดีจนได้รับเกียรตินิยมดี และได้รับรางวัลภูมิพล ในปี พ.ศ. 2506 จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับทุน Rockefeller Foundation ผ่านภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ไปเรียนในระดับปริญญาโททางการทูตที่ Occidental College รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2508 - 2510) จากนั้นให้เรียนต่อระดับปริญญาเอก ด้านประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล รัฐนิวยอร์ก เป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2510 - 2515) โดยเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่อง The Rise of Ayudhaya[ต้องการอ้างอิง]
การเป็นนักเรียนนอกในยุค 60s ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในวิธีคิดและการมองโลกของชาญวิทย์ ซึ่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นเป็นยุคที่เกิดกระแส "ซ้ายใหม่" หรือ New Left ในกลุ่มคนหนุ่มสาวในสหรัฐฯ ที่กบฏต่อทุกอย่างที่เป็นจารีตดั้งเดิม โดยการทุ่มเทชีวิตให้กับการชุมนุนประท้วง ในเรื่องต่างๆ อาทิเช่น สงครามเวียดนาม การแต่งกาย ฯลฯ จนเกิดเป็นค่านิยม Hippies หรือบุปผาชน ประสบการณ์ชีวิตช่วงนี้ส่งผลให้ชาญวิทย์เกิดจิตวิญญาณที่อิสระเสรี และเกิดจิตสำนึกที่จะเรียนรู้และขุดคุ้ยแสวงหาความจริงความถูกต้อง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเป็นนักประวัติศาสตร์ของ ดร.ชาญวิทย์ ในเวลาต่อมา และจากประสบการณ์นี้เองส่งผลให้ชาญวิทย์ ผลิตผลงานต่างๆที่ก้าวทันโลกและรักษ์รากเหง้า ด้วยความกล้าหาญทางจริยธรรม เพื่อการต่อสู้ เพื่อความถูกต้อง ความเป็นธรรม และความเสมอภาคในสังคม และในขอบเขตเหนือความเป็นรัฐประชาชาติ ด้วยความมุ่งหวังให้สาธารณชนทั่วไปสามารถเข้าถึงและมีส่วนในกระบวนการเรียนรู้ด้วย จนบางคนเรียกชาญวิทย์ว่า ปัญญาชนสาธารณะ[ต้องการอ้างอิง]
ดร.ชาญวิทย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[1]
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561 ดร.ชาญวิทย์ เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหา ในกรณีวิพากษ์วิจารณ์กระเป๋าของ รศ.นราพร จันทร์โอชา ภริยาของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยตำรวจปอท.กล่าวหาว่าเขาทำผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ 2560[2][3]
การศึกษา
แก้- ประถมศึกษา โรงเรียนเฉลิมวิทยา สมุทรปราการ
- มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ราชบุรี
- มัธยมศึกษาตอนปลายและเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ สาขาการทูต (เกียรตินิยมดี-รางวัลภูมิพล) คณะรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาโท สาขา Diplomacy and World Affairs จาก วิทยาลัยออกซิเดนทอล วิทยาลัยเอกชนขนาดเล็กในเมือง ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2510
- ปริญญาเอก ประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ มหาวิทยาลัยคอร์เนล รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2515
การทำงาน
แก้- เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2516
- รองอธิการบดีฝ่ายวิชาพื้นฐานสมัยนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นอธิการบดี พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2519
- หัวหน้าสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ พ.ศ. 2524 - 2526
- รองผู้อำนวยการและกรรมการสถาบันไทยคดีศึกษา พ.ศ. 2525 - 2528
- รองอธิการบดี (ฝ่ายธรรมศาสตร์ 50 ปี) และกรรมการสภามหาวิทยาลัย สมัยคุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี เป็นอธิการบดี พ.ศ. 2526 - 2529
- รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา พ.ศ. 2529 - 2531
- คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2534 - 2537
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มิ.ย. 2537 - 2538)
- ปัจจุบัน ประธานที่ปรึกษาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAs) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
งานเขียน
แก้- The Rise of Ayudhya: A History of Siam in the Fourteenth and Fifteenth Centuries (2517)
- ปฏิวัติ 2475 (2523)
- สำนักนั้น ธรรมศาสตร์และการเมือง (2535)
- อารยธรรมไทยพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ (2537)
- ประวัติศาสตร์การเมืองไทย (2538)
- วิถีไทย: การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
(2540)
- เจ้านโรดม สีหนุกับนโยบายความเป็นกลางของกัมพูชา (2540)
- บันทึกการสัมมนาจอมพล ป. พิบูลสงครามกับการเมืองไทยสมัยใหม่ (2540)
- การสำรวจแนวพรมแดนไทย-พม่า-ลาว-กัมพูชา (2540)
- สามทศวรรษอาเซียน (2540)
- ขบวนการคอมมิวนิสต์เวียดนาม (2540)
- เวียดนามในเมืองไทย (2541)
- มาเลเซีย: เอกภาพกับการศึกษา (2541)
- ยะวา-ชวาในบางกอก (2541)
- ปัญหาชายแดนไทย-พม่า (2541)
- มอญในเมืองไทย (2541)
- สิบสองพันนา: รัฐจารีต (2541)
- ลาวในกรุงรัตนโกสินทร์ (2541)
- บรรณานุกรม ว่าด้วยเรื่อง "อยุธยา" (2542)
- อยุธยา:ประวัติศาสตร์และการเมือง (2542)
- ภาพยนตร์กับการเมือง: เลือดทหารไทย-พระเจ้าช้างเผือก-บ้านไร่นาเรา (2542)
- 2475: การปฏิวัติของสยาม (2543)
- 14 ตุลา 2516 (2543)
- ปรีดี พนมยงค์ กับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (2543)
- ท่องตะเข็บแดนสยาม: การสำรวจแนวพรมแดนไทย-พม่า-ลาว-กัมพูชา (2543)
- พม่า :ประวัติศาสตร์และการเมือง (2544)
- 14 ตุลา บันทึกประวัติศาสตร์ (2546)
- บันทึกประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 2516 (2546)
- 3 ทศวรรษ 14 ตุลา กับประชาธิปไตยไทย: Thai democracy (2547)
- 14 ตุลา วันประชาธิปไตย: บันทึกตำนาน 14 ตุลาคม 2516 ฉบับเยาวชน (2547)
- รัชกาลที่ 5: สยามกับอุษาคเนย์และชมพูทวีป
(2547)
- จากสยามเป็นไทย: นามนั้นสำคัญไฉน?(2548)
- ประวัติการเมืองไทย 2475-2500 (2549)
- แม่น้ำโขง: จากต้าจู-ล้านช้าง-ตนเลธม ถึง กิ๋วล่อง (2549)
- สยามหรือไทย? (2550)
- เส้นทางเดินของนาม: จากสยามเป็นไทย-นามนั้นสำคัญมากฉะนี้หรือ? (2550)
- มอญ-เขมรศึกษา (2551)
- ไทดำ,ไทขาว, ไทแดง และไทยเหลือง: อัตลักษณ์เปิด อัตลักษณ์ปิด (2551)
- ฮีตสิบสอง: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตบูร (พิพิธภัณฑ์พระธาตุพนม) และจิตรกรรมชุด "ฮีตสิบสอง" วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม (2551)
- ลัทธิชาตินิยมไทย/สยามกับกัมพูชา: และกรณีศึกษาปราสาทเขาพระวิหาร (2552)
- ชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม (2552)
- แม่:กลับจากบ้านโป่งถึงปากน้ำ (2553)
- ประมวลสนธิสัญญา: อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจและแผนที่ ระหว่างสยามประเทศไทยกับประเทศอาเซียนเพื่อนบ้าน : กัมพูชา-ลาว-พม่า-มาเลเซีย (2554)
- คำนำ (2559)
- ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี
- การค้าสังคโลก
- รายงานชวา สมัย ร.5
- 3 ทศวรรษ 14 ตุลากับประชาธิปไตยไทย
- สยามพาณิชย์
- ฯลฯ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[4]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[5]
- พ.ศ. 2543 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อื่น ๆ
แก้- นักวิจัยประจำศูนย์ศึกษาตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกียวโต (พ.ศ. 2520-2521)
- ผู้บรรยายวิชาประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (พ.ศ. 2521-2522)
- ผู้ควบคุมวิชาสัมมนาเรื่องประเทศไทย โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ (พ.ศ. 2528)
- บรรณาธิการวารสารธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2524-2526)
- เลขานุการก่อตั้งกองทุนธรรมศาสตร์ 50 ปี (พ.ศ. 2527)
- ประธานกรรมการก่อตั้งกองทุนศิลปศาสตร์ 30 ปี (พ.ศ. 2535)
- ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน)
- กรรมการและเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (พ.ศ. 2521-ปัจจุบัน)
- กรรมการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ข้าว จังหวัดสุพรรณบุรี (พ.ศ. 2533)
- ฯลฯ
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ (นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ)
- ↑ ชาญวิทย์เข้าพบ ปอท. ยันสิทธิในการแสดงความเห็น หวั่นฟ้องปิดปากคนวิจารณ์
- ↑ เรียก'ดร.'ผิดพรบ.คอมพ์พบตร. โบ้ย'อ.น้อง'ถือกระเป๋าหรู
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๒๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๕ กรกฎาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔๙๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๑๐, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ชาญวิทย์ เกษตรศิริ[ลิงก์เสีย] ประวัติบุคคล สำนักข่าวไทย
- 6 ตุลา กับสถานะทางประวัติศาสตร์การเมือง (จำนวน 9 หน้า ปีที่พิมพ์ : 2539) โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
- บ้านแห่งเกมออนไลน์และอีสปอร์ต
- หนังสือ การแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ้งภากรณ์ ครั้งที่ 11 โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ จัดทำโดย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก่อนหน้า | ชาญวิทย์ เกษตรศิริ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
รองศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร | อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2538) |
ศาสตราจารย์ ดร.พนัส สิมะเสถียร (รักษาการ) |