พรรคมหาชน (อังกฤษ: Mahachon Party ตัวย่อ: MCP. พมช.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 โดยใช้ชื่อว่า "พรรคราษฎร"[4] และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อพรรคมหาชน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[5] เป็นพรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกมากเป็นลำดับที่ 2 รองจากพรรคประชาธิปัตย์ มีจำนวนสมาชิกกว่า 1.18 ล้านคน[3]

พรรคมหาชน
ผู้ก่อตั้งวัฒนา อัศวเหม
หัวหน้าอภิรัต ศิรินาวิน
เลขาธิการสุปกิจ คชเสนี [1]
โฆษกโสมทัต ณ ตะกั่วทุ่ง
ประธานยุทธศาสตร์พรรคพาลินี งามพริ้ง
คำขวัญพรรคราษฎร เพื่อราษฎร (พรรคราษฎร)
พร้อมชน...เพื่อความเท่าเทียม (พรรคมหาชน)
ก่อตั้ง10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
เปลื่ยนชื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
ถูกยุบ23 มกราคม พ.ศ. 2563 (21 ปี)[2]
แยกจากพรรคประชากรไทย (พรรคราษฎร)
พรรคประชาธิปัตย์ (พรรคมหาชน)
ที่ทำการ210/7 ถนนสุโขทัย แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร[3]
สมาชิกภาพ1,182,238 คน
สีสีแดง
เว็บไซต์
http://www.mahachon.or.th
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ประวัติ

แก้

ยุคพรรคราษฎร

แก้

พรรคราษฎร จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดยมีคำขวัญว่า "พรรคราษฎร เพื่อราษฎร" มีสมชาย หิรัญพฤกษ์ เป็นหัวหน้าพรรค ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเป็น พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ มีเลขาธิการพรรค คือ มั่น พัธโนทัย[6] และหัวหน้าพรรคคนต่อมา คือ นายวัฒนา อัศวเหม แกนนำกลุ่มปากน้ำ

 
ตราสัญลักษณ์ของพรรคราษฎร ซึ่งใกล้เคียงกับพรรคราษฎร (พ.ศ. 2529) มาก


ยุคพรรคมหาชน

แก้

พรรคมหาชน ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากเดิม ในปี พ.ศ. 2547 มีพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นแกนนำ โดยนโยบายพรรคมหาชนในระยะแรก ร่างโดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งลาออกจากพรรค มาพร้อมกับพลตรีสนั่น นำเสนอนโยบายว่าเป็นพรรคทางเลือกที่สาม นอกเหนือจาก พรรคไทยรักไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ตามมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์โจมตีว่า พรรคตั้งขึ้นมาเพื่อแย่งชิงฐานเสียงของ พรรคไทยรักไทย ในภาคเหนือและภาคอีสาน และจะร่วมมือจัดตั้งรัฐบาลกับ พรรคประชาธิปัตย์ ในภายหลัง[7]

เมื่อแรกก่อตั้งพรรค พลตรีสนั่น ได้เชิญ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก และกำลังจะหมดวาระ ให้มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมหาชน แต่ ดร.ศุภชัยปฏิเสธ และต่อมาพิจารณารับตำแหน่งอื่นในสหประชาชาติต่อ พลตรีสนั่นจึงสนับสนุนให้ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรคแทน

ภายหลังการยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549 พรรคมหาชนร่วมกับ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย ทำหนังสือถึงพรรคไทยรักไทย ขอให้ลงนามในสัตยาบันร่วมกันว่าจะจัดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง พรรคจึงมีมติไม่ส่งผู้สมัคร

วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พลตรีสนั่น พร้อมด้วยนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชาย และสมาชิกพรรคมหาชน เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันไม่เอื้อต่อการดำเนินงานของพรรคการเมืองขนาดเล็ก ถือเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานของพรรคมหาชนไปโดยบริยาย [8]


บุคลากรพรรค

แก้

หัวหน้าพรรค

แก้
ลำดับ รูปภาพ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง สิ้นสุดวาระ
พรรคราษฎร
1   สมชาย หิรัญพฤกษ์ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 29 เมษายน พ.ศ. 2542
2   พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 19 มิถุนายน พ.ศ. 2544
3   วัฒนา อัศวเหม 19 มิถุนายน พ.ศ. 2544 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
พรรคมหาชน
1   เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 24 ตุลาคม พ.ศ. 2549
2   สนั่น ขจรประศาสน์ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2549 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550
3   อรรณพ เกรียงศักดิ์พิชิต 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 20 มกราคม พ.ศ. 2551
4   สมิตา สรสุชาติ 20 มกราคม พ.ศ. 2551 31 มีนาคม พ.ศ. 2552
5   อภิรัต ศิรินาวิน 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552 23 มกราคม พ.ศ. 2563

การเลือกตั้ง

แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 พรรคราษฎรมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งเพียง 2 คน คือ เรวดี รัศมิทัต จากจังหวัดสมุทรปราการ กับ ชัยวัฒน์ กุลศักดิ์วิมล จากจังหวัดนครพนม และได้รับเลือกตั้งเพิ่มเติมอีกในการเลือกตั้งใหม่ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2544 คือ วิทยา บันทุปา จากจังหวัดอุบลราชธานี แต่ต่อมาถูก กกต.ตัดสินให้เลือกตั้งใหม่ และไม่ได้รับเลือกตั้งอีก


ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยนำเสนอนโยบายที่ใช้ชื่อ "สองนคราประชาธิปไตย" และประกาศตัวพร้อมจะเป็นนายกรัฐมนตรี แต่พรรคได้รับเลือกเพียง 2 ที่นั่ง แม้กระทั่งในเขตจังหวัดพิจิตร นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชายพลตรีสนั่น ก็ยังไม่ได้รับเลือก ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคได้คะแนนเสียงระบบบัญชีรายชื่อไม่ถึง 5% ทำให้ทั้งนายเอนก และพลตรีสนั่น ไม่ได้เป็น ส.ส. ภายหลังการเลือกตั้ง ดร.เอนก ในฐานะหัวหน้าพรรคมีปัญหากับกรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคมหาชนมีมติให้ พลตรีสนั่น รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อ


การที่พรรคมี ส.ส. เพียงสองคน โดยที่หัวหน้าพรรค และประธานที่ปรึกษาพรรคเป็น ส.ส.สอบตก ทำให้ ส.ส.ของพรรคคือ นายตุ่น จินตะเวช จากจังหวัดอุบลราชธานี และนางทัศนียา รัตนเศรษฐ จากจังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการทางการเมืองเป็นอิสระ และหันไปสนันสนุนพรรคไทยรักไทย โดยที่ทางหัวหน้าพรรคก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ เพราะในระเบียบระบุว่าการประชุมพรรคเพื่อขับสมาชิกพรรค (คือนายตุ่น และนางทัศนียา) ต้องมี ส.ส.ของพรรคร่วมอยู่ด้วย


ต่อมามีการเลือกตั้งซ่อมในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 พื้นที่เขต 3 จังหวัดพิจิตร นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ผู้สมัครหมายเลข 1 ของพรรคมหาชน บุตรชาย พล.ต.สนั่น มีคะแนนนำห่างนายนาวิน บุญเสรฐ จากพรรคไทยรักไทย กว่า 17,000 คะแนน[9] ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. คนที่ 3 ของพรรคมหาชน[10]


ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แม้พรรคมหาชนจะไม่ได้เป็นพรรคการเมืองที่เป็นที่จับตามองเหมือนเช่นในอดีต แต่ก็มีสมาชิกพรรคได้รับเลือกตั้งจำนวนหนึ่งคน คือ นายอภิรัต ศิรินาวิน หัวหน้าพรรค และเป็นผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อหมายเลขหนึ่ง โดยได้รับคะแนนไปทั้งหมด 161,251 คะแนน[11]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคมหาชนส่งผู้สมัครลงการเลือกตั้งครั้งนี้ และได้มีการเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรค คือ พาลินี งามพริ้ง พร้อมกับชูประเด็นความหลากหลายทางเพศ[12] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ประวัติการทำงานในรัฐสภา

แก้

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

แก้
การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
พรรคราษฎร
2544
2 / 500
  2 ฝ่ายค้าน พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์
พรรคมหาชน
2548
2 / 500
  0 ฝ่ายค้าน เอนก เหล่าธรรมทัศน์
2549 คว่ำบาตรการเลือกตั้ง - การเลือกตั้งเป็นโมฆะ (ไม่มีการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง)
2550
0 / 480
  3 ไม่ได้รับเลือกตั้ง อภิรัต ศิรินาวิน
2554
1 / 500
  1 ร่วมรัฐบาล
2557 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
2562
0 / 500
  1 ไม่ได้รับเลือกตั้ง

สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง

แก้

พรรคมหาชนสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563 อันเนื่องมาจากการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 ที่ประชุมมีมติให้เลิกพรรคมหาชน[13]

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคมหาชน
  2. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง พรรคมหาชนสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23.
  3. 3.0 3.1 "ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557" (PDF). www.ect.go.th. คณะกรรมการการเลือกตั้ง.[ลิงก์เสีย]
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง พรรคราษฎร
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค นโยบายพรรค และกรรมการบริหารพรรคราษฎร
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคราษฎร พ.ศ. 2541 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2542) และคณะกรรมการบริหารพรรคราษฎร
  7. ประชาธิปัตย์ ปราศรัย Democrat Live (กรุงเทพ, พ.ศ. 2548) สำนักพิมพ์ Politic Press ISBN 9789749273869
  8. ""ชาติไทย-มหาชน" จับขั้วไร้เงื่อนไข". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2007-10-29.
  9. ฝ่ายค้านผลงานเยี่ยมดัน 125 เสียง - ทรท.ได้สิงห์บุรีสนามเดียว[ลิงก์เสีย]
  10. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง (นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์)
  11. [ลิงก์เสีย] ตามไปดู 1 เสียง "อภิรัต ศิรินาวิน" พรรคมหาชน" ที่มารัฐบาลเลขสวย 299 จากมติชน
  12. "พรรคมหาชน เปิดตัวขุนพล ระดม ทอมพ่อพระ กะเทยตัวแม่ เน้นคนไทยเท่าเทียม".
  13. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง พรรคมหาชนสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้