เรวดี รัศมิทัต (เกิด 19 เมษายน พ.ศ. 2512) เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคภูมิใจไทย สังกัดพรรคราษฎร[1] และเป็นหนึ่งในสอง ส.ส. ของพรรคราษฎรที่ได้รับเลือกตั้ง

เรวดี รัศมิทัต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 เมษายน พ.ศ. 2512 (55 ปี)
อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
พรรคการเมืองภูมิใจไทย

ประวัติ

แก้

เรวดี เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2512 ที่อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของนายอำนวย รัศมิทัต อดีตนายก อบจ.สมุทรปราการ กับนางปรานอม รัศมิทัต[2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาอุตสาหกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล[3] และปริญญาโท ด้านการค้าและธุรกิจ จาก DEAKIN UNIVERSITY ประเทศออสเตรเลีย

การทำงาน

แก้

เรวดี เข้าสู่งานการเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เป็นสมัยแรก สังกัดพรรคราษฎร และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวของพรรคราษฎรที่ชนะการเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรปราการ[4] และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย

เรวดี ย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 โดยแพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชน ต่อมาได้หันมาทำงานการเมืองในระดับท้องถิ่น ในตำแหน่งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จังหวัดสมุทรปราการ (อำนวย รัศมิทัต) ระหว่างปี พ.ศ. 2551 ถึงปี พ.ศ. 2554

เรวดี ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย และในปี 2562 เรวดีลงสมัคร ส.ส.สมุทรปราการ ในนามพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเธอได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (อนุทิน ชาญวีรกูล)[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. การเมืองร้อนที่ปากน้ำ ม่านปมยิง"ประชา" และเรื่องเล่า "ผู้ยิ่งใหญ่" สองฝั่งน้ำเจ้าพระยา[ลิงก์เสีย]
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสาวเรวดี รัศมิทัต[ลิงก์เสีย]
  3. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-03. สืบค้นเมื่อ 2012-03-07.
  4. แพ้ยังไง เพื่อไทยปากน้ำ เสียแชมป์ 4 สมัย
  5. ครม.เห็นชอบตั้ง ‘ที่ปรึกษา-เลขานุการ’ รมว.สธ.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖๖, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗