สมบุญ ระหงษ์
พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ (21 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 — 23 กันยายน พ.ศ. 2556) อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรี และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ
สมบุญ ระหงษ์ | |
---|---|
สมบุญ ในปี พ.ศ. 2505 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 เมษายน พ.ศ. – 9 มิถุนายน 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ |
ถัดไป | ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
หัวหน้าพรรคชาติไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2535 | |
ก่อนหน้า | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ถัดไป | ประมาณ อดิเรกสาร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 23 กันยายน พ.ศ. 2556 (81 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2534-2539) ประชากรไทย (2539-2541) ราษฎร (2541-2544) |
คู่สมรส | คุณหญิงนงเยาว์ ระหงษ์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2529 |
ยศ | พลอากาศเอก |
ผ่านศึก | สงครามเกาหลี |
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้พล.อ.อ. สมบุญ ระหงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 เป็นบุตรของนายสงวน และนางกิมลั้น ระหงษ์ เป็นบุตรลำดับที่ 4 จากทั้งหมด 7 คน
พล.อ.อ. สมบุญ ระหงษ์สมรสกับคุณหญิงนงเยาว์ ระหงษ์ (สกุลเดิม มีรักษา) มีบุตร-ธิดาทั้งหมด 4 คน
การศึกษา
แก้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ก่อนเข้าศึกษาต่อที่ โรงเรียนนายเรือ ก่อนที่จะขอโอนย้ายมารับราชการเป็น ทหารอากาศ และเข้าศึกษาที่ โรงเรียนการบิน ของกองทัพอากาศ โดยสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2499 (ศิษย์การบินรุ่น น.25)[1] รุ่นเดียวกับ พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล, พล.อ.อ. วรนาถ อภิจารี, พล.อ.อ. กันต์ พิมานทิพย์
การรับราชการ
แก้พล.อ.อ. สมบุญ เข้ารับราชการเป็นครูการบิน ที่โรงเรียนการบิน และรับราชการใน กองทัพอากาศ จนถึงปี พ.ศ. 2529 จึงลาออกจากราชการ โดยตำแหน่งสุดท้ายในกองทัพคือ ที่ปรึกษากองทัพอากาศ (ขณะนั้นมียศเป็น พลอากาศโท)[1] และเข้ารับตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2530-2531 และต่อมาได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2534 โดยในระหว่างรับราชการทหารอากาศ ได้เข้าร่วมราชการสงครามใน สงครามเกาหลี โดยเป็นผู้บังคับการหน่วยบินลำเลียง ซึ่งร่วมรบกับกองกำลัง สหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2510
บทบาททางการเมือง
แก้พล.อ.อ. สมบุญ ระหงษ์ เข้าสู่วงการเมือง โดยได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นวุฒิสมาชิก ใน วุฒิสภาไทย ชุดที่ 5 ชุดแต่งตั้งแทน เมื่อ 22 เมษายน พ.ศ. 2532 และเมื่อมีการรัฐประหารขึ้นในปี 2534 ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี 2534 ต่อมาเมื่อใกล้มีการเลือกตั้ง ในเดือนมีนาคม 2535 ก็ได้มีส่วนร่วมในการก่อตั้ง พรรคสามัคคีธรรม ร่วมกับ น.ต. ฐิติ นาครทรรพ และพล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล รวมไปถึงนักการเมืองบางส่วน ก่อนที่ทาง พรรคชาติไทย จะเชิญให้พล.อ.อ. สมบุญ เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรค แทนที่ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เพื่อประสานความสัมพันธ์ระหว่างพรรค กับ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ โดยที่ความสัมพันธ์ทางการเมืองนั้น พล.อ.อ. สมบุญ ถือว่าเป็นนายทหารคนสนิทของ พล.อ. ประมาณ อดิเรกสาร ครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งถือว่ามีความสนิทสนมกับนักการเมือง กลุ่มราชครู[2] และเป็นศิษย์โรงเรียนการบินรุ่น น.25
โดย พล.อ.อ. สมบุญ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคประชากรไทย
และได้ดำรงตำแหน่งเป็น รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ใน รัฐบาลพล.อ. สุจินดา คราประยูร[3] ดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา และ ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ใน รัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่สอง
โดยภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ในเวลานั้น พล.อ.อ. สมบุญ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น หัวหน้าพรรคชาติไทย มีโอกาสที่จะได้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ต่อจาก พล.อ. สุจินดา เหตุเพราะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเป็นลำดับที่สอง แต่ทว่า อาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในขณะนั้น ได้นำชื่อ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีรักษาการระหว่างการปฏิวัติ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกลายเป็นที่เล่าขาน กันมาถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า พล.อ.อ. สมบุญ "แต่งชุดขาวรอเก้อ"
กลุ่มงูเห่า
แก้อีก 5 ปีต่อมาหลังจากนั้น พล.อ.อ. สมบุญ ได้สร้างปรากฏการณ์ให้เป็นที่จดจำอีกครั้งในปี พ.ศ. 2540 หลังการลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ และสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ พล.อ.อ. สมบุญ ได้ร่วมกับ วัฒนา อัศวเหม นำ ส.ส.พรรคประชากรไทย 12 คน ฝืนมติพรรคที่จะสนับสนุน พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไปสนับสนุนให้ ชวน หลีกภัย ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดยต่อมาแกนนำกลุ่ม ได้รับตำแหน่งระดับรัฐมนตรี 2 ตำแหน่งใน รัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่สอง แม้ว่าการกระทำดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยว่าไม่ถึงขั้นขับออกจากความเป็นสมาชิกภาพของพรรค เนื่องด้วย ส.ส. แต่ละคนมีอิสระในการตัดสินใจ โดยไม่ขึ้นกับมติพรรค แต่กระนั้นก็ตาม สมัคร สุนทรเวช ในฐานะหัวหน้าพรรคประชากรไทย ก็ได้ให้สัมภาษณ์เปรียบเปรยว่าเป็น "ชาวนากับงูเห่า" ตามนิทานอีสป จนเป็นที่มาของชื่อ กลุ่มงูเห่า
และในปี 2541 ก็ได้ร่วมมือกับ วัฒนา อัศวเหม ก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นในชื่อของ พรรคราษฎร โดยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค และลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรค ลำดับที่ 2 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[4] จากนั้นจึงยุติบทบาททางการเมืองเป็นการถาวร
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พล.อ.อ. สมบุญ ระหงษ์ ถึงแก่อนิจกรรมจากอาการหัวใจล้มเหลว และติดเชื้อในกระแสเลือด หลังเข้ารับการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556 สิริอายุได้ 81 ปี[5] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[7]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)
- พ.ศ. 2515 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2509 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2534 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[8]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหราชอาณาจักร :
- พ.ศ. 2539 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นอัศวิน (KCVO)[10]
- เวียดนาม :
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ทายาท, 2556. อนุสรณ์ พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์. กรุงเทพฯ: ทายาท, พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ณ เมรุ 1 ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2556 เวลา 16.00 น.
- ↑ จรัญ พงษ์จีน, 2550. ลึกแต่ไม่ลับ คนการเมือง พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มติชน หน้า 137-138
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ นิทัศน์การเมืองไทยฉบับ พรรคการเมือง EP. 4 - “พรรคราษฎร” พรรคของวัฒนา? (และกลุ่มปากน้ำ) - Voice Online
- ↑ อดีตแกนนำส.ส.กลุ่มงูเห่า "สมบุญ ระหงษ์" เจ้าของฉายา "แต่งชุดขาวรอเก้อ" สมัยพฤษภาทมิฬ เสียชีวิตแล้ว![ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๒๓๘ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-02-02. สืบค้นเมื่อ 2013-03-20.
- ↑ "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2014-05-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๓๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๔
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 55 เล่ม 88 ตอนที่ 125
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 113 ตอนที่ 19 ข หน้า 14, 4 พฤศจิกายน 2539