กันต์ พิมานทิพย์
พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ คนที่ 13 และรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด “บิ๊กกันต์” เป็นนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นที่ 1 เป็นนักบินขับไล่ด้วยเรื่องไอพ่นรุ่นแรกของกองทัพอากาศ F-86F และมีเกียรติประวัติดีเด่นคนหนึ่งของกองทัพอากาศ ทำการบินและการบินรบมากกว่า 2,900 ชั่วโมง เป็นหนึ่งใน ตำนานนักรบนิรนาม กองพล 333 (Unknown Warrior 333) เป็นกองกำลังผสมต่างชาติของทหารและพลเมือง เพื่อเฝ้าระวังพื้นที่ระวังป้องกันภายนอกประเทศ
กันต์ พิมานทิพย์ | |
---|---|
![]() | |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม 2535 – 30 กันยายน 2536 | |
ก่อนหน้า | พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล |
ถัดไป | พล.อ.อ. ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 เมษายน พ.ศ. 2476 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 (86 ปี) โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | คุณหญิง จิตรวดี พิมานทิพย์ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนอัสสัมชัญ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพอากาศไทย |
ประวัติ
แก้พล.อ.อ. กันต์ หรือที่นักข่าวสายทหารมักจะเรียกว่า บิ๊กกันต์ เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2476 สมรสกับคุณหญิงจิตรวดี พิมานทิพย์
พล.อ.อ. กันต์ จบการศึกษาจากจาก โรงเรียนอัสสัมชัญ (AC14867) หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่ โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่น 1 รุ่นเดียวกับ พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
รับราชการ
แก้พล.อ.อ. กันต์ ได้รับพระราชทานยศ "เรืออากาศตรี" และเริ่มรับราชการเมื่อปี 2501 กระทั่งวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 ขณะมียศเป็น "นาวาอากาศเอก" ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมข่าวทหารอากาศ[1] พร้อมกับรับพระราชทานยศ "พลอากาศตรี"[2]
ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม 2530 พล.อ.อ. กันต์ ขณะมียศเป็น "พลอากาศโท" และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมอากาศโยธินได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารอากาศสืบต่อจาก พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล ที่ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารอากาศ[3] พร้อมกับรับพระราชทานยศ"พลอากาศเอก"[4]
ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 พล.อ.อ. กันต์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารอากาศ[5]
ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2534 พล.อ.อ. กันต์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งจเรทหารทั่วไป[6] สืบต่อจาก พล.อ. สมคิด จงพยุหะ ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 พล.อ.อ. กันต์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดต่อจาก พล.อ.อ. วรนาถ อภิจารี ที่สลับไปดำรงตำแหน่งจเรทหารทั่วไป[7]
ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2535 พล.อ.อ. กันต์ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ ต่อจาก พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล ที่ขยับไปดำรงตำแหน่งจเรทหารทั่วไป[8]
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขณะทรงพระเยาว์ ได้เสด็จเยี่ยมกองบิน 1 ด้วยความสนพระทัยในเรื่องการบิน ขณะนั้น พล.อ.อ.กันต์ ได้เป็นนักบินคนหนึ่งที่มีโอกาสได้สนองพระยุคลบาท[9]
เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรฯ ทรงพระเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา พล.อ.อ.กันต์ ได้ร่วมกับ พล.อ.อ. ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ และ พล.อ.อ.วรนาถ อภิจารี ดำเนินการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ "นภเมทนีดล" น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล และเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงฯ เจริญพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา ท่านได้ร่วมกับข้าราชการกองทัพอากาศและประชาชนสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ "นภพลภูมิสิริ" น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล
ต่อมาในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 พล.อ.อ. กันต์ ได้รับประกาศจากกระทรวงกลาโหม เรื่อง ชมเชยการช่วยเหลือราชการทหาร เนื่องจากบริจาคเงินจำนวน 1 ล้านบาทให้แก่ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ในการสร้างอาคารผู้ป่วยวัณโรคและสมทบ เข้ามูลนิธิโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560[10]
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พล.อ.อ. กันต์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลาประมาณ 07.00 น. ณ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร สิริอายุ 86 ปี[11] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร แขวง อนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[15]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[16]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[17]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[18]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[19]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[20]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เหรียญสหประชาชาติ
แก้- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2510 – เหรียญสหประชาชาติเกาหลี
ต่างประเทศ
แก้- เยอรมนีตะวันตก :
- พ.ศ. 2527 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 2[21]
- สิงคโปร์ :
- พ.ศ. 2536 – เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[22]
- สหรัฐ :
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอน 161 ง พิเศษ หน้า 1 29 ตุลาคม พ.ศ. 2525
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอน 173 ง พิเศษ หน้า 1 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 ตอน 188 ง พิเศษ หน้า 1 18 กันยายน พ.ศ. 2530
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2022-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 ตอน 207 ง พิเศษ หน้า 5 16 ตุลาคม พ.ศ. 2530
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอน 150 ง พิเศษ หน้า 1 14 กันยายน พ.ศ. 2531
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (จำนวน 427 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอน 58 ง พิเศษ หน้า 4 28 มีนาคม พ.ศ. 2534
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 50 ง พิเศษ หน้า 1 15 เมษายน พ.ศ. 2535
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 97 ง พิเศษ หน้า 1 1 สิงหาคม พ.ศ. 2535
- ↑ หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๖.
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ชมเชยการช่วยเหลือราชการทหารราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอน 23 ง หน้า 12 23 มีนาคม พ.ศ. 2560
- ↑ พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ อดีต ผบ.ทอ. ถึงแก่อนิจกรรม ด้วย วัย 86 ปี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๑ มกราคม ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๕๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 102 ตอนที่ 60 ฉบับพิเศษ หน้า 13, 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
- ↑ SINGAPORE CHIEF OF DEFENCE FORCE MAJOR-GENERAL NG JUI PING (BACK TO CAMERA) CONGRATULATING COMMANDER-IN-CHIEF OF ROYAL THAI AIR FORCE, AIR CHIEF MARSHAL GUN PIMANTIP, WHO IS CONFERRED THE MERITORIOUS SERVICE MEDAL (MILITARY) AT A CEREMONY HELD AT MINISTRY OF DEFENCE, GOMBAK DRIVE
ก่อนหน้า | กันต์ พิมานทิพย์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล | ผู้บัญชาการทหารอากาศ (1 สิงหาคม 2535 – 30 กันยายน 2536) |
พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ |