ชวลิต ยงใจยุทธ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ภ. ท.จ.ว. ม.ร. ภ.ป.ร. ๔ (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475) เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 22 อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รับสมญา "ขงเบ้งแห่งกองทัพบก"[3][4] เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ขณะดำรงตำแหน่งทางทหาร เป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคความหวังใหม่คนแรก และเป็น สส. หลายสมัย
ชวลิต ยงใจยุทธ | |
---|---|
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 22 | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 (0 ปี 349 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | |
ก่อนหน้า | บรรหาร ศิลปอาชา |
ถัดไป | ชวน หลีกภัย |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มีนาคม พ.ศ. 2533 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2533 (0 ปี 83 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ดำรงตำแหน่ง 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 (0 ปี 103 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (1 ปี 134 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 (4 ปี 23 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (0 ปี 13 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มีนาคม พ.ศ. 2533 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2533 (0 ปี 72 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (1 ปี 134 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 (0 ปี 345 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (1 ปี 228 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (2 ปี 73 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | เภา สารสิน |
ถัดไป | สนั่น ขจรประศาสน์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2536 – 7 มกราคม พ.ศ. 2537 (0 ปี 106 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ไพฑูรย์ แก้วทอง |
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (0 ปี 32 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | ประมาณ อดิเรกสาร |
ถัดไป | ประมาณ อดิเรกสาร |
ดำรงตำแหน่ง 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 30 เมษายน พ.ศ. 2543 (2 ปี 155 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | ชวน หลีกภัย |
ถัดไป | ชวน หลีกภัย |
รักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2530 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2533 (2 ปี 181 วัน) | |
ก่อนหน้า | สุภา คชเสนี |
ถัดไป | สุนทร คงสมพงษ์ |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2533 (3 ปี 308 วัน) | |
ก่อนหน้า | อาทิตย์ กำลังเอก |
ถัดไป | สุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2533–2545, 2554–2558) ไทยรักไทย (2545–2548) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2552–2554) |
คู่สมรส |
|
บุตร |
|
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2497–2533 |
ยศ | พลเอก[1] พลเรือเอก พลอากาศเอก[2] |
บังคับบัญชา | กองบัญชาการทหารสูงสุด (รักษาการ) กองทัพบก |
ผ่านศึก | สงครามเวียดนาม |
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เกิดวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรของร.อ. ชั้น ยงใจยุทธ และนางสุรีย์ศรี (นามเดิม: ละมุน) ยงใจยุทธ มีพี่สาวต่างบิดาชื่อ สุมน สมสาร และน้องชายต่างมารดาชื่อธรรมนูญ ยงใจยุทธ[5] ในวัยเด็ก พล.อ. ชวลิต มีชื่อเล่นเดิมว่า “ตึ๋ง” หรือ “หนู” แต่ต่อมาเพื่อน ๆ นายทหารมักเรียกว่า “จิ๋ว”[6]
ชวลิตสมรสครั้งแรกกับวิภา ยงใจยุทธ[5] ครั้งที่ 2 กับพิมพ์นิภา มนตรีอาภรณ์ (นามเดิม: ประเสริฐศรี จันทน์อาภรณ์)[7][8][9] สมรสครั้งที่ 3 กับคุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ (ลิมปภมร) และสมรสครั้งที่สี่กับอรทัย ยงใจยุทธ ชวลิตมีบุตร 3 คนกับภรรยาคนแรก คือ
- นายกฤศพล ยงใจยุทธ
- นางอรพิณ นพวงศ์ (ถึงแก่กรรม)
- พ.ต.ต.หญิง ศรีสุภางค์ โสมกุล
ชวลิตเป็นพระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดชทางพระมารดา โดยหม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา มีศักดิ์เป็นป้าแท้ ๆ ของเขา
การศึกษา
แก้พล.อ. ชวลิต เข้าศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร และสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากนั้น จึงไปสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2496 และ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2507
ลำดับการศึกษา
แก้- พ.ศ. 2492 : มัธยมศึกษา โรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- พ.ศ. 2496 : ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นแรก
- พ.ศ. 2502 : หลักสูตรการซ่อมเครื่องไมโครเวฟ, โรงเรียนทหารสื่อสารกองทัพบก ฟอร์ตบอนมัธ สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2504 : หลักสูตรฝึกงานการประกอบซ่อมเครื่องมือสื่อสาร, กองทัพน้อยที่ 9 เกาะริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2505 : หลักสูตรผู้บังคับกองพัน, โรงเรียนทหารสื่อสาร
- พ.ศ. 2506 : โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2507 : หลักสูตรเสนาธิการกิจ, วิทยาลัยเสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา
- พ. ศ. 2512 : หลักสูตรกระโดดร่มนายทหารชั้นผู้ใหญ่ รุ่นที่ 2
การทำงาน
แก้ราชการทหารช่วงสงครามเย็น
แก้ภายหลังสงครามเวียดนามสิ้นสุดลงในพ.ศ. 2518 ด้วยชัยชนะของฝ่ายเวียดนามเหนือ และกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ถอนกำลังออกจากภูมิภาคอินโดจีน ทำให้กองทัพเวียดนามเริ่มรุกรานประเทศกัมพูชา จนเกิดเป็นสงครามกัมพูชา–เวียดนามขึ้นและทำให้รัฐบาลเขมรแดงซึ่งมีจีนคอมมิวนิสต์หนุนหลังอยู่หมดอำนาจลง แต่กองกำลังของเขมรแดงนี้ได้ถอยร่นมาอยู่บริเวณภาคตะวันตกของกัมพูชา นอกจากนี้กองทัพเวียดนามยังมีการประกาศว่ามีศักยภาพที่จะยึดกรุงเทพได้ภายใน 2 ชั่วโมง ทำให้ไทยต้องตรึงกำลังทหารตลอดชายแดนไทย-กัมพูชา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 กองทัพเวียดนามส่งทหารเข้าโจมตีกองกำลังเขมรแดงจนลึกเข้ามาถึงในอาณาเขตของไทย ทำให้เกิดการปะทะกับทหารไทยเป็นระยะ ๆ ประกอบกับกองทัพสหรัฐได้ถอนกำลังจากประเทศไทยไปแล้ว ทำให้รัฐบาลไทยมีความวิตกกังวลในเรื่องการรับมือเวียดนามเป็นอันมาก
ในระหว่างนั้นรัฐบาลไทยได้ส่งคณะนายทหารจำนวนสามนายปฏิบัติราชการลับ ซึ่งประกอบด้วย
- พล.ท. ผิน เกสร
- พ.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ
- พ.อ. พัฒน์ อัคนิบุตร
เดินทางไปเจรจาความกับเติ้ง เสี่ยวผิง ที่ประเทศจีน โดยจีนได้ตกลงที่จะเลิกให้ที่พักพิงกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และยังได้สนับสนุนยุทโธปกรณ์จำนวนหนึ่งให้แก่กองทัพไทยและตัดสินใจก่อสงครามกับเวียดนาม โดยพ.อ. ชวลิต ยงใจยุทธได้รับเกียรติจากกองทัพจีนให้ยิงปืนใหญ่นัดแรกจากกว่างซีเข้าสู่ดินแดนเวียดนาม ทำให้เวียดนามต้องถอนกำลังจากกัมพูชาเพื่อไปต้านการรุกรานจากจีน
งานการเมือง
แก้พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วเข้าสู่การเมือง ก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 พล.อ. ชวลิต เป็นหนึ่งในผู้ที่ปราศรัยขับไล่ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ที่สนามหลวง เป็นคนแรกด้วย การเมืองหลังจากนั้น พรรคความหวังใหม่กลายเป็นพรรคที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดในภาคอีสาน
ต่อมาเมื่อพรรคความหวังใหม่ชนะในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 พล.อ.ชวลิต ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคจึงขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี[10] แต่ต่อมาได้ลาออกเนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ก่อนที่จะย้ายพรรคมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2544 และ พล.อ. ชวลิต ก็รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร สมัยแรกด้วย
หลังเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 พล.อ. ชวลิต พยายามจะเป็นผู้เสนอตัวไกล่เกลี่ยทำความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้ที่ขับไล่ทักษิณ และกลุ่มผู้ที่สนับสนุนทักษิณ ให้ "สมานฉันท์" กันโดยเรียกบทบาทตัวเองว่า"โซ่ข้อกลาง" รวมทั้งมีการข่าวว่าอาจจะเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน แต่แล้วตำแหน่งนี้ในที่สุดก็ตกเป็นของสมัคร สุนทรเวช
ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.อ. ชวลิตได้เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่เจรจากับฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยโดยเฉพาะ แต่หลังจากรับตำแหน่งเพียงไม่กี่วัน ก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่หน้าอาคารรัฐสภา พล.อ. ชวลิตก็ขอลาออกทันที
ในกลางปี พ.ศ. 2552 หลังจากถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ชี้มูลความผิดในกรณีเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม แล้วนั้น พลเอกชวลิตก็ได้สมัครเข้าสู่พรรคเพื่อไทย โดยให้เหตุผลว่าต้องการเข้ามาเพื่อสมานฉันท์ โดยไม่ต้องการเป็นคู่ขัดแย้งกับใคร[11] และหลังจากนั้นทางพรรคเพื่อไทยก็ได้มีมติให้เขาดำรงตำแหน่งประธานพรรค
ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 พล.อ. ชวลิต ขึ้นเวทีของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[12] โดยประกาศตอนหนึ่งว่า ว่า นายวีระ นายแน่มาก และไม่เคยเห็นมหาชนที่ประกอบภารกิจที่ศักดิ์สิทธิ์ของแผ่นดิน และทำสำเร็จแล้ววันนี้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะทำอะไรอย่าไปสนใจ
ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553 พล.อ. ชวลิต และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ออกแถลงการณ์ขอร้องให้[13] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงหยุดวิกฤตการเมือง
ต่อมาในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554 ท่ามกลางข่าวลือที่มีมาช่วงระยะหนึ่ง พล.อ. ชวลิต ก็ได้ลาออกจากทุกตำแหน่งในพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้ คนใกล้ชิดของ พล.อ. ชวลิต อ้างว่า ไม่พอใจที่มีสมาชิกพรรคเพื่อไทยบางคนที่เข้าทำกิจกรรมร่วมกับทางแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และมีพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ก่อนหน้านั้นไม่นาน[14]
ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เขากล่าวให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระวังเกิดการรัฐประหารซ้ำ[15] ต่อมาในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เขากล่าวตอนนึงว่า การบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ทำให้เศรษฐกิจดีหรือไม่นั้นต้องไปถามประชาชนว่ากินอิ่ม นอนหลับหรือไม่ ถ้าหากประชาชนยังไม่มีกินก็ต้องไปแก้ปัญหาตรงนี้[16] ซึ่งนับเป็นปัญหาของทุกรัฐบาล ในขณะที่คุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ แสดงความเห็นว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความเคารพ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ[17]
ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
แก้- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนนทบุรี สังกัด พรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดนนทบุรี สังกัด พรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนครพนม สังกัด พรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนครพนม สังกัด พรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคความหวังใหม่ → พรรคไทยรักไทย
งานการศาสนา
แก้สนับสนุนให้มีการผลักดันพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขึ้นเป็นการเฉพาะ การศึกษาของคณะสงฆ์ไทยที่จัดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา เป็นสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา ในปี พ.ศ. 2540 สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอให้รัฐสภาตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ของคณะสงฆ์ไทย (ฝ่ายธรรมยุตินิกาย) และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ของคณะสงฆ์ไทย (ฝ่ายมหานิกาย) ส่งผลให้มหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ไทยทั้งสองแห่ง มีพระราชบัญญัติรับรองสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เน้นจัดการศึกษาวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและศาสตร์แขนงอื่น ๆ [18]
งานการศึกษา
แก้- เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม
รัฐบาลของพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐบาลที่มีส่วนรับผิดชอบต่อวิกฤตการณ์ทางการเงิน เมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่ทำให้ประเทศไทยล้มละลาย และลุกลามไปทั่วโลกและส่งผลต่อสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เนื่องจากดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปรับตัวลดลงถึง 554.26 จุด ไปปิดที่ 7161.15. จุด คิดเป็นร้อยละ 7.18 ด้วยการทำเงินคงคลังทั้งหมดของประเทศเข้าไปอุ้มค่าเงินบาท ซึ่งถูกปล่อยขายในขณะนั้น ธุรกิจของเหล่าแกนหลักของรัฐบาลชุดนี้ ยังถูกตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ได้รับผลกระทบต่อวิกฤตการณ์แต่อย่างใด ในขณะที่ธุรกิจของบุคคลโดยทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง กับคนในรัฐบาลนั้น ได้รับผลกระทบถึงขั้นล้มละลายเป็นจำนวนมาก จนมีการประท้วงโดยประชาชนส่งผลทำให้พลเอกชวลิตต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[19]
ยศกองอาสารักษาดินแดน
แก้พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดน[20]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[21]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[22]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[23]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[24]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[25]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[26]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[27]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[28]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[29]
- พ.ศ. 2509 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[30]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[31]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เวียดนามใต้ :
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2511 - เหรียญบรอนซ์สตาร์ ประดับ วี
- พ.ศ. 2531 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[32][33]
- เยอรมนีตะวันตก :
- พ.ศ. 2527 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นประถมาภรณ์
- อินโดนีเซีย :
- พ.ศ. 2530 - เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราการติกาเอกปักษี ชั้นอุตมา[34]
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2531 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยัง มูเลีย ปังกวน เนการา ชั้นที่ 2[35]
- พ.ศ. 2533 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 1
- สิงคโปร์ :
- พ.ศ. 2531 - เครื่องอิสริยาภรณ์อุตมะ บักติ เจเมอร์ลัง (เท็นเทรา)[36]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2531 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอล ชั้นประถมาภรณ์[37]
- อาร์เจนตินา :
- พ.ศ. 2540 - เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย ชั้นประถมาภรณ์[38]
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. 2540 - ลีเจียนออฟออเนอร์ ชั้นปุนองโกมันดัน[39]
- กัมพูชา :
- พ.ศ. 2566 - เครื่องอิสริยยศมุนีสาราภัณฑ์ ชั้นมหาเสรีวัฒน์[40]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของชวลิต ยงใจยุทธ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานยศพลเอก
- ↑ "พระราชทานยศพลอากาศเอก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
- ↑ "ฉายา ชวลิต ยงใจยุทธ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2021-11-01.
- ↑ “พระเจ้าแผ่นดินประเทศนี้ไม่มีวันหยุด”-เรื่องเล่าเมื่อ-“ขงเบ้งแห่งกองทัพบก”-รับตำแหน่งนายกฯ [ลิงก์เสีย]
- ↑ 5.0 5.1 "ชวลิต ยงใจยุทธ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ August 31, 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ชวลิต ยงใจยุทธ (พลเอก) เก็บถาวร 2021-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียบเรียงโดย พิษณุ สุ่มประดิษฐ์ สถาบันพระปกเกล้า
- ↑ แฟ้มบุคคลในทำเนียบ สมาคมดนตรีไทย. คุณ พิมพ์นิภา มนตรีอาภรณ์ (ประเสริฐศรี จันทน์อาภรณ์) [กรรมการ-ฝ่ายต่างประเทศและดนตรีนานาชาติ] เก็บถาวร 2011-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2556
- ↑ "มูลนิธิมิราเคิลฯ รับดูแลเมียเก่า "บิ๊กจิ๋ว"" (Press release). เดลินิวส์. February 12, 2013. สืบค้นเมื่อ February 17, 2013.
- ↑ "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ทรงรับอดีตภรรยาบิ๊กจิ๋วเป็นคนไข้ในพระอนุเคราะห์" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. February 12, 2013. สืบค้นเมื่อ February 17, 2013.[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ)
- ↑ 'บิ๊กจิ๋ว'มาแล้ว ปธ.เพื่อไทย ปัด'ทักษิณ'ทาบ
- ↑ พลเอกชวลิต ขึ้นเวทีของแนวร่วม
- ↑ "แถลงการณ์ขอร้องให้ กษัตริย์ ทรงหยุดวิกฤตการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-13. สืบค้นเมื่อ 2018-10-01.
- ↑ [ลิงก์เสีย] อึดอัดแดงจาบจ้วง! 'จิ๋ว' ชี้เหตุทิ้งเพื่อไทยเตรียมแจงใหญ่ 2 วันนี้ จากประชาทรรศน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐประหาร ปี 2557[ลิงก์เสีย]
- ↑ "การบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ทำให้เศรษฐกิจดีหรือไม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-16. สืบค้นเมื่อ 2016-05-16.
- ↑ แสดงความเห็นว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความเคารพ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
- ↑ เกี่ยวกับรัฐบาล > ทำเนียบนโยบายรัฐบาล > พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
- ↑ 6 พ.ย. 2540 ต้มยำกุ้งเป็นพิษ บิ๊กจิ๋วประกาศลาออกจากนายกฯ ข่าวสดออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2560
- ↑ "ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๕๙, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๐๐ ง หน้า ๘๑๕๓, ๔ ตุลาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิด สำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๖ มกราคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๙๗ ง หน้า ๒๗๒๙, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๕๗, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๑๓ มีนาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 105 ตอนที่ 14 ฉบับพิเศษ หน้า 1, 22 มกราคม 2531
- ↑ HQDA GENERAL ORDERS: MILITARY AWARDS
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญตราต่างประเทศ, เล่ม 104 ตอนที่ 150 หน้า 5553, 6 สิงหาคม 2530
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1988.
- ↑ PRESIDENT WEE KIM WEE PRESENTING DISTINGUISHED SERVICE ORDER (MILITARY) TO GENERAL CHAVALIT YONGCHAIYUDH AT THE ISTANA STATE ROOM
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 108 ตอนที่ 182 หน้า 8143, 8 พฤจิกายน 2531
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 114 ตอนที่ 7 ข หน้า 3, 9 เมษายน 2540
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 114 ตอนที่ 16 ข หน้า 1, 30 มิถุนายน 2540
- ↑ วาสนา นาน่วม. ฮุนเซน ส่งเตียบันห์มาไทยพบบิ๊กจิ๋วถึงบ้าน มอบเครื่องราชฯชั้นสูงสุด ให้เชิดชูเกียรติ ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในกัมพูชามาตั้งแต่ต้น และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย-กัมพูชา
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติจากเว็บทำเนียบรัฐบาล เก็บถาวร 2006-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติจากเว็บกองทัพบก เก็บถาวร 2006-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | ชวลิต ยงใจยุทธ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
บรรหาร ศิลปอาชา | นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (ครม.52) (25 พฤศจิกายน 2539 – 9 พฤศจิกายน 2540) |
ชวน หลีกภัย | ||
ประมาณ อดิเรกสาร | ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย (15 พฤษภาคม 2535 – 16 มิถุนายน 2535) |
ประมาณ อดิเรกสาร | ||
ชวน หลีกภัย | ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย (26 พฤศจิกายน 2540 – 2 มิถุนายน 2541) (2 กันยายน 2541 – 27 เมษายน 2542) (12 พฤษภาคม 2542 – 30 เมษายน 2543)) |
ชวน หลีกภัย | ||
พลเรือเอก สุภา คชเสนี | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รักษาราชการ) (1 ตุลาคม 2530 – 31 มีนาคม 2533) |
พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ | ||
พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก | ผู้บัญชาการทหารบก (27 พฤษภาคม 2529 – 28 มีนาคม 2533) |
พลเอก สุจินดา คราประยูร |