สุภา คชเสนี
พลเรือเอก สุภา คชเสนี (12 ตุลาคม พ.ศ. 2469 — 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564) เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนที่ 12 และสมาชิกวุฒิสภาไทยชุดที่ 5
สุภา คชเสนี | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2529 – 30 กันยายน พ.ศ. 2530 | |
ก่อนหน้า | พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก |
ถัดไป | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
สมาชิกวุฒิสภาไทยชุดที่ 5 | |
ดำรงตำแหน่ง 22 เมษายน พ.ศ. 2528 – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2469 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด |
เสียชีวิต | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (95 ปี) โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงทรงสมร คชเสนี |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้พล.ร.อ. สุภา คชเสนี เป็นบุตรของหลวงบริณัยจรรยาราษฎร์ (มณฑล คชเสนี) กับนางกระถิน (จารุศังข์) คชเสนี มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 4 คน ได้แก่
- นางสุทิพย์ พึ่งประดิษฐ์ อดีตครูอาวุโส โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย (ถึงแก่อนิจกรรม)
- ศ.(เกียรติคุณ) นพ.สุเอ็ด คชเสนี (ถึงแก่อนิจกรรม)
- พล.ร.อ. สุภา คชเสนี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ถึงแก่อนิจกรรม)
- ดร.สุกรี คชเสนี อดีตเอกอัครราชทูตไทยหลายประเทศ (ถึงแก่อนิจกรรม)
พล.ร.อ. สุภา คชเสนี สมรสกับคุณหญิงทรงสมร (กิตติขจร) คชเสนี ธิดาของจอมพล ถนอม กิตติขจร กับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร[1] กรรมการจัดการมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกในพระราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยได้รับพระราชทานน้ำสังข์จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และมีงานเลี้ยงฉลองสมรสบริเวณทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 มีบุตร-ธิดารวม 5 คน ได้แก่
- นายสุปกิจ คชเสนี
- นางรุจิเรศ วิชิตะกุล
- นางเพ็ญสุภา คชเสนี
- นางอาภาสมร มหธร
- นางสุภาพิมพ์ คชเสนี
การทำงาน
แก้พล.ร.อ. สุภา คชเสนี ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2512 : รองผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 - 30 กันยายน พ.ศ. 2526 : ผู้บัญชาการโรงเรียนนายทหารเรือ[2]
- 22 เมษายน พ.ศ. 2528 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 : สมาชิกวุฒิสภาไทยชุดที่ 5[3]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 - 30 กันยายน พ.ศ. 2527 : รองเสนาธิการทหาร
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2529 : รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- 1 กันยายน พ.ศ. 2529 - 30 กันยายน พ.ศ. 2530 : ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2526 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พล.ร.ท. สุภา คชเสนี เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ[4]
เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2527 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พล.ร.อ. สุภา คชเสนี เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกองบังคับการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน[5]
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พล.ร.อ. สุภา คชเสนี เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศ รักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ และประจำกองพันทหารอากาศโยธินที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบ กรมอากาศโยธิน[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลเรือเอก สุภา คชเสนี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[10]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[11]
- พ.ศ. 2495 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[12]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[13]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
แก้- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2495 – เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[16]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เวียดนามใต้ :
- พ.ศ. 2513 – เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นที่ 4
- พ.ศ. 2513 – เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารอากาศ)
- พ.ศ. 2513 – เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารเรือ)
- พ.ศ. 2513 – แกลแลนทรี่ครอส ประดับใบปาร์ม
- พ.ศ. 2513 – เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2513 – เหรียญปฏิบัติการกิจการพลเรือน ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2513 – เหรียญรณรงค์เวียดนาม
- พ.ศ. 2513 – เหรียญปฏิบัติการจิตวิทยา ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2513 – เหรียญเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึก ชั้นที่ 1
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2513 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นนายทหาร[17]
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2530 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ชั้นที่ 1[18]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายทหาร ชั้นที่ 3
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญราชการสงครามเกาหลี
- อินโดนีเซีย :
- พ.ศ. 2530 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดารายุทธธรรม ชั้นอุตมา[18]
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – ลีเจียนออฟออเนอร์ ชั้นปินูโน
- ไต้หวัน :
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร]". naewna.com. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2022.
- ↑ "ประวัติวิทยาลัยการทัพเรือ". navy.mi.th. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2022.
- ↑ "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๕" (PDF). senate.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-09-10. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2022.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/D/096/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2527/D/011/193.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/D/215/5890.PDF
- ↑ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พล.ร.อ. สุภา คชเสนี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๙๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔๔, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๖๔ ง หน้า ๓๗๕๙, ๒๑ ตุลาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๑๔ ง หน้า ๗๓๑๒, ๒๗ ตุลาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๘ ง หน้า ๓๕๖, ๒๗ มกราคม ๒๔๙๖
- ↑ AGO 1970-50 — AWARDS
- ↑ 18.0 18.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๗๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๐