จงกล กิตติขจร
ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร (สกุลเดิม ถนัดรบ; 14 มกราคม พ.ศ. 2457 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555) เป็นภริยาของจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของไทย อดีตประธานมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์
จงกล กิตติขจร | |
---|---|
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
ก่อนหน้า | ศิริ สารสิน |
ถัดไป | ฉวีวรรณ มิลินทจินดา นวลจันทร์ ธนะรัชต์ ไปรมา ธนะรัชต์ วิจิตรา ธนะรัชต์ |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
ก่อนหน้า | ฉวีวรรณ มิลินทจินดา นวลจันทร์ ธนะรัชต์ ไปรมา ธนะรัชต์ วิจิตรา ธนะรัชต์ |
ถัดไป | พงา ธรรมศักดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 มกราคม พ.ศ. 2457 |
เสียชีวิต | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (98 ปี) |
เชื้อชาติ | ไทย |
คู่สมรส | จอมพล ถนอม กิตติขจร |
บุตร | 6 คน |
บุพการี |
|
เป็นที่รู้จักจาก | ภริยานายกรัฐมนตรี |
ประวัติ
แก้ท่านผู้หญิง จงกล กิตติขจร เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2457 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 เป็นบุตรีคนที่ 5 ของ พันเอก หลวงจบกระบวนยุทธ (แช่ม ถนัดรบ) และคุณหญิงเครือวัลย์ จบกระบวนยุทธ มีพี่น้อง 9 คน
ต่อมาได้สมรสกับจอมพลถนอม กิตติขจร ในปี พ.ศ. 2473 ในขณะที่มียศเป็นร้อยโท (ร.ท.) มีบุตรธิดาทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่
- นางนงนาถ เพ็ญชาติ (พ.ศ. 2474-ปัจจุบัน)
- พันเอก ณรงค์ กิตติขจร (พ.ศ. 2476-ปัจจุบัน) สมรสกับคุณสุภาพร (จารุเสถียร) กิตติขจร
- คุณหญิงนงนุช จิรพงศ์
- พลอากาศเอก ยุทธพงศ์ กิตติขจร
- คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี (พ.ศ. 2487-ปัจจุบัน) สมรสกับ ร้อยโท ดร.สุวิทย์ ยอดมณี
- คุณหญิงทรงสมร คชเสนี (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน)
นอกจากนี้ยังรับหลานอีก 2 คน ซึ่งเป็นบุตรของน้องสาวของท่านผู้หญิงจงกลมาเลี้ยงดูดุจลูกแท้ ๆ ของท่านเอง คือ
- พลตำรวจตรี นเรศ คุณวัฒน์
- นรา คุณวัฒน์
ท่านผู้หญิงจงกลได้ประกอบกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ การจัดจำหน่ายดอกป๊อปปี้เพื่อค่าทุนให้แก่ทหารผ่านศึกและครอบครัว เป็นประจำในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี หรือวันทหารผ่านศึก[1]
การศึกษา
แก้มรณกรรม
แก้ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 17.30 น. ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว สิริอายุได้ 98 ปี[2]
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว., ภ.ป.ร. 2 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เวลา 17.09 น.[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[6]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[8]
- พ.ศ. 2507 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ สนเทศน่ารู้ : วันทหารผ่านศึก 3 กุมภาพันธ์ จากสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ↑ สิ้นท่านผู้หญิง”จงกล กิตติขจร” จากเดลินิวส์
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า ๖๓)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ ตุลาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๗๗, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๒๒ ง หน้า ๓๑๔๗, ๒๙ ธันวาคม ๒๕๐๗
ก่อนหน้า | จงกล กิตติขจร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ท่านผู้หญิงศิริ สารสิน | คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (สมัยที่ 1) (1 มกราคม พ.ศ. 2501 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501) |
ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ | ||
ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ | คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (สมัยที่ 2) (9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) |
ท่านผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์ |