มหาวิทยาลัยนครพนม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
มหาวิทยาลัยนครพนม (อังกฤษ: Nakhon Phanom University; อักษรย่อ: มนพ. – NPU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 78 ในประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดนครพนม ที่เกิดจากการหลอมรวมสถานศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่122 ตอนที่ 75 ก เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 จึงมีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม ได้รับการยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยนครพนม” ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินั้นให้รวม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม, วิทยาลัยเทคนิคนครพนม, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม, วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม, วิทยาลัยการอาชีพนาหว้าและวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยนครพนม และให้มหาวิทยาลัยนครพนม เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ตราพระธาตุพนม สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม |
---|---|
ชื่อย่อ | มนพ. / NPU |
คติพจน์ | พัฒนาตน ตื่นรู้ รับใช้สังคม |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 2 กันยายน พ.ศ. 2548 |
นายกสภาฯ | กระแส ชนะวงศ์ |
อธิการบดี | ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ (รักษาการ) |
ผู้ศึกษา | 10,090 คน [1] |
ที่ตั้ง | มหาวิทยาลัยนครพนม 103 หมู่ 3 ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000 สำหรับเขตพื้นที่อื่น ดูในบทความ |
เพลง | มาร์ชมหาวิทยาลัยนครพนม |
สี | ██ สีเหลืองทอง |
ฉายา | มอนคร / มอพระธาตุ |
เครือข่าย | ASAIHL |
มาสคอต | กันเกรา |
เว็บไซต์ | www.npu.ac.th |
มหาวิทยาลัยนครพนมดำเนินภารกิจภายใต้ภารกิจเดิมของสถานศึกษาที่นำมาหลอมรวม จัดการศึกษาทั้งในระดับหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) หลักสูตรปริญญา ภายใต้ภาระกิจการหลอมรวมสถานศึกษาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งแตกต่างจากสถาบันอุดมศึกษาเดิมที่จัดตั้งสถาบันขึ้นมาใหม่
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยนครพนม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 โดยการหลอมรวมสถาบันการศึกษาในจังหวัดนครพนม เข้าด้วยกัน อันได้แก่
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม
- วิทยาลัยเทคนิคนครพนม
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม
- วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม
- วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม
เป็น "มหาวิทยาลัยนครพนม" ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2548[2] นับเป็นมหาวิทยาลัยรัฐแห่งที่ 78 ของประเทศไทย
แนวคิดของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย
แก้สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างไม่เป็นทางการที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2545 ฯพณฯ พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เสนอว่าควรมีการพิจารณาหาระบบและแนวทางให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งมีการเชื่อมโยงกับชุมชนในระดับรากหญ้า โดยมิใช่เป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของสถาบัน และมีการก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ที่เป็นการเน้นในแง่วัตถุ โดยเห็นว่าสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีอาคารและสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างจำนวนมากตามจังหวัดต่าง ๆ แต่ยังขาดการบริหารจัดการที่ดีในการใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่เหล่านี้อย่างเต็มที่ ที่ประชุมจึงได้มีมติมอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีขณะนั้น คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ ในฐานะที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจและพิจารณาทบทวน โดยมีนโยบายว่าหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาอยู่ที่วิธีการเรียนการสอนและวิธีการจัดการ ต้องเร่งสร้างความตระหนักในเรื่องประสิทธิภาพการบริหารจัดการเป็นสำคัญ โดยเน้นการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด และนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพโดยไม่ต้องลงทุนก่อสร้างอาคารเรียนที่มีราคาแพง
การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดนครพนม นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสแก่ประชาชนในจังหวัดให้ได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นจุดเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอินโดจีนทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม อันจะส่งผลต่อการเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ของประเทศต่อไป ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2545 สถาบันอุดมศึกษาจังหวัดนครพนมได้ใช้หลักการหลอมรวมสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนครพนม ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เพื่อดำเนินการยกร่างโครงการจัดทำแผนแม่บทและร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนมเสนอที่ประชุมจึงได้ให้ความเห็นชอบโครงการนำร่องจัดตั้งมหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนมจึงเป็นมหาวิทยาลัยที่เกิดจากการหลอมรวมสถานศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอนที่ 75 ก เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 และมีผลให้มหาวิทยาลัยนครพนมได้รับการยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยนครพนม” ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินั้นให้รวม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม วิทยาลัยเทคนิคนครพนม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยนครพนม และให้มหาวิทยาลัยนครพนมเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการตามกฎหมาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
มหาวิทยาลัยนครพนมดำเนินภารกิจภายใต้ภารกิจเดิมของสถานศึกษาที่นำมาหลอมรวม จัดการศึกษา ทั้งในระดับหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) หลักสูตรปริญญา ภายใต้ภาระกิจการหลอมรวมสถานศึกษาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งแตกต่างจาก สถาบันอุดมศึกษาเดิมที่จัดตั้งสถาบันขึ้นมาใหม่
คณะและวิทยาลัย
แก้มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนครพนม เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับเตรียมอุดมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษาทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนครพนม มีหน่วยงานในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 7 คณะ 6 วิทยาลัย 1 โรงเรียน ดังต่อไปนี้
คณะ
แก้
(หมายเหตุ กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำหลักสูตรและเตรียมการด้านต่างๆตามมาตรฐาน WFME คาดจะขอรับรองต่อแพทยสภาได้ภายในปี 2568)
|
วิทยาลัย
แก้
|
โรงเรียนสาธิต
แก้- โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยนครพนม พนมพิทยพัฒน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
โรงพยาบาล
แก้- โครงการจัดตั้งโรงพยาบาลมรุกขนครและศูนย์การแพทย์สาธารณสุขศรีโคตรบูรณ์ มหาวิทยาลัยนครพนม
(หมายเหตุ จัดตั้งพร้อมคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำหลักสูตรและเตรียมการด้านต่างๆตามมาตรฐาน WFME คาดจะขอรับรองต่อแพทยสภาได้ภายในปี 2568)
ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัย
แก้ทำเนียบนายกสภา มหาวิทยาลัยนครพนม | ||
---|---|---|
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. ศาสตรจารย์ นายแพทย์ กระแส ชนะวงศ์ | พ.ศ. 2548 | |
2. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ | 15 มีนาคม 2549 - 29 กันยายน 2551 | |
3. พลตำรวจเอกสนอง วัฒนวรางกูร | 30 กันยายน 2551 - 29 เมษายน 2553 | |
4. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ภาวิช ทองโรจน์ | 30 เมษายน 2553 - 11 พฤศจิกายน 2561 | |
12 พฤศจิกายน 2557 - 5 เมษายน 2562 | ||
5. ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ | 6 เมษายน 2562 - 30 เมษายน 2563 | |
6. สุเมธ แย้มนุ่น
ประธานคณะบุคคลปฏิบัติหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการ |
1 พฤษภาคม 2563 – 11 กันยายน 2564 | |
7. ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ กระแส ชนะวงศ์ | 12 กันยายน 2564[3] - ปัจจุบัน |
หมายเหตุ 1. คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย และผู้รักษาการแทนนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
ทำเนียบอธิการบดี
แก้ทำเนียบอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม | |
---|---|
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ | 2 กันยายน 2548 - 30 มิถุนายน 2550 (รักษาราชการแทน)
ตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 (มาตรา 59) |
2. รองศาสตราจารย์ สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ | 1 กรกฎาคม 2550 - 26 สิงหาคม 2550 (รักษาราชการแทน) |
27 สิงหาคม พ.ศ. 2550 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 (วาระที่ 1) [4] | |
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (วาระที่ 2)[5] | |
3. ผู้ช่วยศาสตราจาร์ ดร. ทัศนา ประสานตรี | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557 (รักษาราชการแทน) |
4. ดร.ไพฑูรย์ พลสนะ | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - 7 มกราคม พ.ศ. 2558 (รักษาราชการแทน) |
9 มกราคม พ.ศ. 2558 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (รักษาราชการแทน) | |
5. ดร.พรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 - 30 เมษายน พ.ศ. 2559 (รักษาราชการแทน) |
6. รองศาสตราจารย์ ดร.ประวิต เอราวรรณ์ | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 - 7 มกราคม พ.ศ. 2560 (รักษาราชการแทน) |
8 มกราคม พ.ศ. 2560 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 | |
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จินดา งามสุทธิ | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 [6] (รักษาราชการแทน) |
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สังคม ภูมิพันธุ์ | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2561 (รักษาราชการแทน) [6] |
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัฒนพงษ์ วันจันทึก | 12 มีนาคม พ.ศ. 2561 - 9 มกราคม พ.ศ. 2563 (รักษาราชการแทน) |
10. ศาสตราจารย์ ดร.อภิรัฐ ศิริธราธิวัตร | 10 มกราคม 63 - 15 มกราคม 2563 (รักษาราชการแทน) |
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จรูญ ถาวรจักร์ | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 - 22 พฤศจิกายน 2563 (รักษาราชการแทน) |
12. รองศาสตราจารย์ ดร. กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 - 9 เมษายน พ.ศ. 2564 (รักษาราชการแทน) |
13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทัศนา ประสานตรี | 10 เมษายน พ.ศ. 2564 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (รักษาราชการแทน) |
14. ดร.พรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 15 มีนาคม 2566 (รักษาราชการแทน) |
15. นายสมยศ สีแสนซุย | 15 มีนาคม 2566 - 10 กันยายน 2566 (รักษาราชการแทน) |
16. ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ | 11 กันยายน 2566 - ปัจจุบัน (รักษาราชการแทน) |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี รักษาการแทนอธิการบดี และผู้รักษาการแทนอธิการบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
หน่วยงาน
แก้หน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยนครพนม แบ่งออกเป็น[7][8]
สำนัก/สถาบัน/ศูนย์
แก้- สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม
- สำนักวิทยบริการ
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
- สำนักงานสภามหาวิทยาลัยนครพนม
- ศูนย์ศึกษาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยนครพนม
- ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยนครพนม
พื้นที่มหาวิทยาลัย
แก้มหาวิทยาลัยนครพนม ประกอบด้วย 7เขตพื้นที่การศึกษา
- เขตพื้นที่ศรีโคตรบูรณ์ (103 หมู่ 3 ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000)
- คณะเกษตรและเทคโนโลยี
- วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ
- สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม
- สำนักงานสภามหาวิทยาลัยนครพนม
- เขตพื้นที่มรุกขนคร (167 หมู่ 8 ตำบลนาราชควาย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000)
- คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
- คณะครุศาสตร์
- คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- วิทยาลัยการบินนานาชาติ
- สำนักวิทยบริการ
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
- เขตพื้นที่กลางเมือง (92 ถนนกลางเมือง ตำบลหนองแสง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000)
- เขตพื้นที่พนมบุรินทร์ (214 หมู่ 12 ถนนนิตโย ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000)
- เขตพื้นที่ดิจิทัล (330 ถนนอภิบาลบัญชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000)
- อาคารเทคโนโลยีดิจิทัล
- สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนครพนม
- เขตพื้นที่อำเภอธาตุพนม (457 หมู่ 3 ถนนพนมพนารักษ์ ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 48110)
- เขตพื้นที่อำเภอนาหว้า (330 ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม 48180)
- เขตพื้นที่อำเภอศรีสงคราม (129 หมู่ 7 ถนนศรีสงคราม-ท่าดอกแก้ว ตำบลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม 48150)
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
แก้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยนครพนม และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต และมหาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยนครพนม ณ อาคารศรีโคตรบูรณ์ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ในช่วงเดือนธันวาคมเป็นประจำทุกปี
อ้างอิง
แก้- ↑ จำนวนนักศึกษาปีการศึกษา 2560
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอน 75ก วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/220/T_0027.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม, เล่ม 124 ตอนพิเศษ 86 ง, หน้า 9, วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม, เล่ม 128 ตอนพิเศษ 149 ง, หน้า 8, วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554
- ↑ 6.0 6.1 รายงานการประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยนครพนม, ครั้งที่ 6/2560, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
- ↑ กฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยนครพนม กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๕
- ↑ กฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยนครพนม กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕