พลตำรวจเอก เภา สารสิน (18 กรกฎาคม 2472 - 7 มีนาคม 2556)[1] อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตอธิบดีกรมตำรวจ ในระหว่างปี 2530 - 2532

พลตำรวจเอก
เภา สารสิน
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน – 22 กันยายน 2535
นายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้า อนันต์ กลินทะ
ถัดไป ชวลิต ยงใจยุทธ
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2530 – 30 กันยายน 2532
ก่อนหน้า พล.ต.อ.ณรงค์ มหานนท์
ถัดไป พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2472
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต 7 มีนาคม พ.ศ. 2556 (83 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรส ท่านผู้หญิงถวิกา สารสิน (สุจริตกุล)

ประวัติและครอบครัวแก้ไข

พลตำรวจเอก เภา สารสิน เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายพจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรี กับ ท่านผู้หญิงสิริ สารสิน สมรสกับท่านผู้หญิงถวิกา สารสิน (สกุลเดิม สุจริตกุล) บุตรีของพระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล) อดีตอธิบดีกรมชาวที่[2] และคุณหญิงเชิด อุดมราชภักดี มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ

การศึกษาแก้ไข

พลตำรวจเอก เภา สารสิน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2489 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาชั้นสูง (High School) จาก Wilbraham Academy ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2491 จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจนได้รับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี (Chemistry) จากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ในปี พ.ศ. 2498 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางอาชญาวิทยา (Criminology) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และ พ.ศ. 2522 สำเร็จการศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 21

การทำงานแก้ไข

การรับราชการแก้ไข

พล.ต.อ.เภา เริ่มรับราชการประจำกองวิทยาการ กรมตำรวจ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2497 และได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานเรื่อยมา

  • 5 ต.ค. พ.ศ. 2503 ผู้กำกับการ 1 กองพิสูจน์หลักฐาน
  • 22 มี.ค. พ.ศ. 2509 รองหัวหน้ากองพิสูจน์หลักฐาน
  • 28 ก.ย. พ.ศ. 2514 หัวหน้ากองพิสูจน์หลักฐาน
  • พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]
  • 14 ก.ย. พ.ศ. 2517 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง[4]
  • 7 ก.ค. พ.ศ. 2519 รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง[5]
  • 2 มิ.ย. พ.ศ. 2521 - 4 ม.ค. พ.ศ. 2526 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
  • 27 ก.ย. พ.ศ. 2525 ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • 2 ต.ค. พ.ศ. 2527 ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
  • 2 ต.ค. พ.ศ. 2529 รองอธิบดีกรมตำรวจ
  • 2 ต.ค. พ.ศ. 2530 อธิบดีกรมตำรวจ

งานการเมืองแก้ไข

พล.ต.อ.เภา สารสิน ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[6][7] 2 สมัย

อนิจกรรมแก้ไข

พลตำรวจเอก เภา สารสิน ป่วยด้วยโรคหลายชนิด โดยเฉพาะโรคเลือด เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556 จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 20.55 น. ณ หออภิบาลการหายใจ ตึกอัษฎางค์ ชั้น 2 โรงพยาบาลศิริราช

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พลตำรวจเอก เภา สารสิน ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 18.00 น. และพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พร้อมทั้งพระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ มีกำหนด 7 คืน ระหว่างวันที่ 8 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19.00 น. และสวดพระอภิธรรมศพ ระหว่างวันที่ 15 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19.00 น.[8] และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร บรมนาถบพิตรพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 17.30 น.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. พลตำรวจเอก เภา สารสิน อดีตรองนายกรัฐมนตรี ถึงแก่อนิจกรรม
  2. บ้านขุนนางที่รัชกาลที่ 6 สร้างพระราชทาน
  3. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย)เล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  7. ราชกิจจานุบเกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
  8. ข่าวในพระราชสำนัก ประจำวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พุทธศักราช 2556[ลิงก์เสีย]
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๑, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๙๙ ง หน้า ๔๓๖๘, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๙, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓