กนิษฐ์ สารสิน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กนิษฐ์ สารสิน ชื่อเล่น เป๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2507 เป็นพิธีกร, นักแสดงชาวไทย ชาวกรุงเทพมหานคร มีชื่อเสียงจากการเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์
กนิษฐ์ สารสิน | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2507 กนิษฐ์ สารสิน |
บิดา | พล.ต.อ.เภา สารสิน |
มารดา | ท่านผู้หญิงถวิกา สารสิน (สุจริตกุล) |
คู่สมรส | อมรา สารสิน |
อาชีพ | พิธีกร, นักแสดง, นักธุรกิจ, วิศวกร |
ประวัติ
แก้กนิษฐ์เป็นบุตรชายคนสุดท้องของ พล.ต.อ.เภา สารสิน อดีต อธิบดีกรมตำรวจ และ ท่านผู้หญิงถวิกา สารสิน (สกุลเดิม สุจริตกุล) จึงมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของนาย พจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรี จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นเดียวกับ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของไทย และ เนตรปรียา ชุมไชโย หรือ ครูเคท โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ ระดับอุดมศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาเครื่องกล และจบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ MBA จาก มหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับ อมรา สารสิน มีบุตรชาย 2 คน คือ กรวิชญ์ สารสิน ชื่อเล่น กำปั่น จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันเป็นนักแสดง) และ อนพัช สารสิน ชื่อเล่น ข้าวปุ้น จบการศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบัน กนิษฐ์เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง จำกัด (กระเบื้องยาง Dynoflex)
หลังจากศึกษาจบจากต่างประเทศ กนิษฐ์ได้เข้าทำงานครั้งแรกที่ซีพี (เซเว่น อีเลฟเว่น) จากนั้นก็เข้ามาทำบริษัทผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว และเคยมีผลงานในวงการบันเทิง เช่น ถ่ายโฆษณาบัตรเครดิตการ์ดของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ที่ถ่ายกันทั้งครอบครัว
ส่วนการเป็นพิธีกร เนื่องจากเพื่อนมักจัดงานอยู่บ่อย ๆ กนิษฐ์จึงได้รับหน้าที่เป็นพิธีกร ทั้งกิจกรรมกอล์ฟ แรลลี่ คืนสู่เหย้า จนมาได้ชักชวนจาก บอย ถกลเกียรติ ให้เป็นพิธีกรรายการ 4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม [1] และเป็นพิธีกรในรายการ และยังมีผลงานแสดงภาพยนตร์เรื่อง แก๊งชะนีกับอีแอบ อีกด้วย
กนิษฐ์มีศักดิ์เป็นญาติกับขวัญแก้ว วัชโรทัยและแก้วขวัญ วัชโรทัยซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับมารดาของเขา โดยทั้งสามท่านต่างล้วนเป็นหลานของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) และเป็นพระภาติยะและพระภาคิไนยในสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
นอกจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2563 กนิษฐ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ (วิศวกรรมศาสตร์) ของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีมติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการเสนอรายชื่อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ผลงาน
แก้ละคร
แก้- นารีสโมสร - สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
- สงครามนางงาม - รับบท พิธีกรในรอบตัดสิน (รับเชิญ) ช่องวัน
รายการที่ยังออกอากาศอยู่ในปัจจุบัน
แก้- ทีเด็ดลูกหนี้
- วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 10:30 - 10:55 น.
- ข่าวนอกลู่ เสาร์-อาทิตย์
- วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 19:50 - 20:05 น.
รายการโทรทัศน์ที่เคยเป็นพิธีกร
แก้- 4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม - สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- 4 ต่อ 4 ซันเด - สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- เกมหยุดเวลา - สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
- คุณจำเนียน - สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
- เลขมหาสมบัติ - สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (คู่กับธงธง มกจ๊ก)
- ดารามหาชน - สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (คู่กับธงธง มกจ๊ก)
- ถ้าคุณแน่อย่าแพ้ ป.4 - สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- ถ้าคุณแน่อย่าแพ้เด็กประถม - สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- บางกอกสเตชัน - สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
- เกมเนรมิต - สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
- เชื่อไม่เชื่อ - โมเดิร์นไนน์ทีวี
- หน้ากากทองคำ - โมเดิร์นไนน์ทีวี
- แก๊งกระจี๊ดคิดได้ใจ - สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- Sexpert Family - ช่อง 8
- The BEST Forever ทำดีเพื่อสังคม - สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (คู่กับ พิมพ์ณัฐชยา บุณยมาลิก)
- ภาพลับนับแบงก์ - ช่อง 7HD
- ภาพลับนับแบงค์ แก๊งจับป่วน - ช่อง 7HD (คู่กับ เป็กกี้ ศรีธัญญา)
ภาพยนตร์และภาพยนตร์สั้น
แก้- แก๊งชะนีกับอีแอบ รับบท พี่โจ้ (2549)
- ไทยนิยม เรื่อง เจ้าชายป้อม รับบทเป็น เสี่ย (2557)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ แบบฉบับของผู้ชายยุคใหม่ กนิษฐ์ สารสิน[ลิงก์เสีย] sakulthai.com
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๒๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗