เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล)

มหาอำมาตย์โท เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) เป็นบุตรพระยาราชภักดี (โค) ซึ่งเป็นน้องชายของสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) และคุณหญิงราชภักดี (ทองศุข สุจริตกุล) และมีน้องสาวเพียงคนเดียว คือ คุณท้าววนิดาพิจาริณี (เจ้าจอมเพิ่ม ในรัชกาลที่ 5) เกิดเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2410 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2422) พ.ศ. 2425 ออกไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2433 สอบไล่กฎหมายได้เนติบัณฑิต พ.ศ. 2435 กลับเข้ามารับราชการในกระทรวงยุติธรรม

  • 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นนายหัศบำเรอ หุ้มแพรวิเศษ ขณะเป็นมหาดเล็กเวรฤทธิ์ ถือศักดินา ๕๐๐[1]
  • 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 เป็นหัวหน้าผู้พิพากษาศาลโปริสภาที่ 3 [2]
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 เป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศ[3]
เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี
(ปลื้ม สุจริตกุล)
.
เกิด26 กันยายน พ.ศ. 2410
เสียชีวิต12 เมษายน พ.ศ. 2477 (66 ปี)
สัญชาติไทย
ตำแหน่งเจ้าพระยา
คู่สมรสกิมไล้ สุธรรมมนตรี
เง็ก สุจริตกุล
บุตร24 คน
บิดามารดาพระยาราชภักดี (โค สุจริตกุล)
คุณหญิงราชภักดี (ทองศุข สุจริตกุล)

ลำดับบรรดาศักดิ์

แก้
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 เป็น พระอรรถการประสิทธิ์ ถือศักดินา ๘๐๐ [4]
  • 2 มกราคม พ.ศ. 2453 เป็น พระยาพิเชตพิเศษพิสัยวินิจฉัยโกศล ถือศักดินา ๑๐๐๐[5]
  • พ.ศ. 2466 เป็น เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี วัชรินทรศักดีมหาประยูรญาติ ไพรัชธรรมศาสตร์บัณฑิต อเนกราชนิติปรีชาคุณ สุจริตกุลวโรปสดมภ์ บรมขัตติยราชภักดี ศรีรัตนตรไยสรณธาดา มัทวเมตตาชวาธยาศัย อภัยพิริยปรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[6]

ยศเสือป่า

แก้
  • 26 ตุลาคม 2455 – นายหมู่ตรี[7]

ยศพลเรือน

แก้
  • – หุ้มแพร
  • 5 มกราคม 2459 – จางวางตรีพิเศษ[8]
  • 20 ตุลาคม 2464 – จางวางโท[9]

อสัญกรรม

แก้

เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2477 อายุ 66 ปี 8 เดือน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ภรรยา บุตร-ธิดา

แก้

มีบุตรธิดา ๘ คน เป็นชาย ๔ คนและเป็นหญิง ๔ คน ทุกคนได้รับการตั้งชื่อให้มีความหมายว่าภาชนะทั้งสิ้น เนื่องจากท่านเจ้าคุณผู้เป็นบิดามีนามว่าโถ นั่นเอง มีรายนามดังนี้

๑. นายเตียบ สุจริตกุล สมรสครั้งแรกกับ คุณงามเฉิด อนิรุธเทวา (ถึงแก่กรรม) บุตรของพระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) มีบุตร ๑ คน คือ นายติรวัฒน์ สุจริตกุล ธิดา ๑ คน คือ นางสาวงามโฉม สุจริตกุล และต่อมาสมรสครั้งที่ ๒ กับคุณกุณฑล วสันตสิงห์ มีศักดิ์เป็นหลายลุงของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล มีธิดา ๑ คน คือ นางสาวมนทิรา สุจริตกุล บุตร ๑ คน คือ นายตนัย สุจริตกุล

และในบรรดาธิดาทั้ง ๔ คนนั้น ในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า มีคำนำหน้านามว่าท่านผู้หญิงถึง ๓ คน คุณหญิงอีก ๑ คนคือ

๑.ท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์ ภริยานายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

๒.ท่านผู้หญิงกรัณฑ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ภริยานายพิสิษฐ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์และพระสหายในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

๓.ท่านผู้หญิงถวิกา สารสิน ภริยาพลตำรวจเอกเภา สารสิน อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตอธิบดีกรมตำรวจ

๔.คุณหญิงผะอบทิพย์ ศาตะมาน ภริยาพลตำรวจโทประกาศ ศาตะมาน

คุณเง็ก มีธิดา 1

แก้

คุณเทศ มีธิดา 1

แก้

ตุณเพียบ สุจริตกุล

จากภริยาท่านอื่น

แก้
  • คุณเกื้อ สุจริตกุล
  • คุณลมหวล สุจริตกุล
  • คุณอานิก สุจริตกุล สมรสกับ พลเรือตรี กมล ชัมพุนพงศ์
  • คุณอุทัย สุจริตกุล
  • คุณสุปรีดา ภรรยานายประนอม วสุธาร มารดาชื่อ เนื่อง สุจริตกุล
  • พันตำรวจโทเปรม สุจริตกุล

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม ๑๐, หน้า ๙๐
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศว่าด้วยแบ่งแขวงของศาลโปริสภา ทั้งสี่ศาลในกรุงเทพฯ (หน้า ๔๔๙), เล่ม 40, หน้า 2612-2614
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงยุติธรรม, เล่ม 14, หน้า 222
  4. พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ (หน้า ๔๙๓)
  5. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๓๙๑)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาเลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 40, หน้า 2612-2614
  7. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  8. พระราชทานยศ
  9. "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 2076. 23 ตุลาคม 1921.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคารที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๔, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๘๓, ๘ มกราคม ๒๔๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า[ลิงก์เสีย], เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๒๗, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๗๗, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๓, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๒ หน้า ๔๗๑, ๑๔ มกราคม ๑๑๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๐๙, ๒๙ มกราคม ๒๔๖๔
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๒๐, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๒๖, ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐