แก้วขวัญ วัชโรทัย
แก้วขวัญ วัชโรทัย (3 กันยายน พ.ศ. 2471 – 15 กันยายน พ.ศ. 2559) อดีตเลขาธิการพระราชวัง ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ พ.ศ. 2530–2559 เป็นเลขาธิการพระราชวังคนที่ 5 และเป็นฝาแฝดกับขวัญแก้ว วัชโรทัย อดีตรองเลขาธิการพระราชวัง
แก้วขวัญ วัชโรทัย | |
---|---|
เลขาธิการพระราชวัง | |
ดำรงตำแหน่ง 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 – 15 กันยายน พ.ศ. 2559 (29 ปี 49 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ |
ถัดไป | จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 กันยายน พ.ศ. 2471 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 15 กันยายน พ.ศ. 2559 (88 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | เพ็ญศรี วัชโรทัย |
บุตร | 3 คน |
บุพการี |
|
อาชีพ | ข้าราชการ |
ประวัติ
แก้แก้วขวัญ วัชโรทัย เป็นบุตรของพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย) กับท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2471 มีฝาแฝดหนึ่งคน คือขวัญแก้ว วัชโรทัย ทั้งสองมีศักดิ์เป็นพระภาคิไนย (ลูกของพี่สาว) ในสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา และเป็นหลานน้าของพระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) “แก้วขวัญ” และ “ขวัญแก้ว” เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
แก้วขวัญสมรสกับท่านผู้หญิงเพ็ญศรี วัชโรทัย (เดิม หม่อมหลวงเพ็ญศรี ศรีธวัช) มีบุตร-ธิดา 3 คน ดังนี้
- รัตนาภา เทวกุล ณ อยุธยา สมรสกับพลเอก หม่อมหลวงทศนวอมร เทวกุล (อดีตรองสมุหราชองครักษ์)
- รัตนาวุธ วัชโรทัย (อดีตที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สํานักพระราชวัง)
- วัชรกิติ วัชโรทัย (อดีตกรมวังผู้ใหญ่, อดีตกรรมการบริษัทปตท.)
การศึกษา
แก้- โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
- ปริญญาตรีสาขาวิชาเกษตรกรรม ที่ฟรีบูร์ ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นนักศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามเสด็จฯพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- ประกาศนียบัตร โปรแกรมการจัดการขั้นสูง ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐ ด้วยทุนเล่าเรียนหลวง
การทำงาน
แก้- เริ่มรับราชการที่สำนักพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2493 ทำหน้าที่มหาดเล็กและนายเวรห้องพระบรรทม เป็นช่างถ่ายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ตามเสด็จฯ ไปถ่ายทำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ตามจังหวัดต่าง ๆ และต่างประเทศเกือบทั่วโลก เป็นผู้จัดทำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉาย
- พ.ศ. 2505 เป็นผู้ช่วยหัวหน้ากองมหาดเล็ก ผู้จัดการโรงโคนมสวนจิตรลดา ผู้กำกับราชการส่วนสวนพระราชวังดุสิต และเป็นผู้จัดการกองทุนสวัสดิการในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2509 รับพระมหากรุณาพระราชทานให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร
- พ.ศ. 2515 หลังจบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายการเงิน มีหน้าที่ตรวจตราและควบคุมการบริหารงานในกองคลังเพิ่มเติมจากหน้าที่เดิม
- พ.ศ. 2521 เลื่อนเป็นรองเลขาธิการพระราชวัง คนที่ 2
- พ.ศ. 2530 โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 และโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา นอกจากนี้ยังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการอำนวยการพระคลังข้างที่ ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2530
- นอกจากงานในสำนักพระราชวังแล้ว ท่านยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการมูลนิธิสุนทราภรณ์ให้กับวงดนตรีสุนทราภรณ์อีกด้วย
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้แก้วขวัญเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราชแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครด้วยภาวะหัวใจขาดเลือด โดยได้มีการผ่าตัดและอยู่ในความดูแลของแพทย์มาระยะหนึ่งแล้ว แต่ด้วยความที่อายุมากจึงได้เกิดอาการสำลัก ติดเชื้อเป็นครั้งคราว ทำให้หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน และถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา 10.02 น. ของวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559 สิริอายุ 88 ปี
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และเชิญพวงมาลาของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วางที่หน้าโกศศพ ที่บ้านถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร[1]
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 18.29 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในโอกาสนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ท่านผู้หญิงพลอยไพลิน เจนเซน และท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน โดยเสด็จด้วย[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้แก้วขวัญ วัชโรทัย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ[3] ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[7]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[12]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[13]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- อิตาลี :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์[14]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์[14]
- ลักเซมเบิร์ก :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อดอล์ฟแห่งนัสเซา ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎ (พิเศษ)[14]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชวงศ์ออเรนจ์ ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์[14]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 1 อัศวินมหากางเขน[15]
- สเปน :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายพลเรือน ชั้นที่ 3 นายทัพ[14]
- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2527 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์[16]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1 สายสะพาย[17]
- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นที่ 2 อัศวิน[18]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[19]
- บรูไน :
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซเทีย เนการา บรูไน ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์[20]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[21]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของแก้วขวัญ วัชโรทัย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ https://www.matichon.co.th/local/news_286144
- ↑ มติชนออนไลน์. ในหลวง-ราชินี พระราชทานเพลิงศพ แก้วขวัญ วัชโรทัย, 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก, เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๒๖ ข หน้า ๗๕, ๒๕ กันยายน ๒๕๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๖๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒ ง หน้า ๕๐, ๗ มกราคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๘๗, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๐, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๖ ง หน้า ๘๑๙๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๐๘
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๔๕, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๒๗ ง หน้า ๒๒๓๓, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๔, ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๗, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
ก่อนหน้า | แก้วขวัญ วัชโรทัย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ | เลขาธิการพระราชวัง (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 - 15 กันยายน พ.ศ. 2559) |
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา |