พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์
พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2546) อดีตเลขาธิการพระราชวัง และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ | |
---|---|
เลขาธิการพระราชวัง | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 – 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา |
ถัดไป | แก้วขวัญ วัชโรทัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 |
เสียชีวิต | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (81 ปี) |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์ |
บุตร | 5 คน |
ประวัติ
แก้พูนเพิ่มเกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 เป็นบุตรของพระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม ไกรฤกษ์) กับคุณหญิงจำเริญ ประเสริฐศุภกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2475 เข้ารับการศึกษาที่วชิราวุธวิทยาลัยเป็นเวลา 6 ปี แล้วจึงเดินทางไปศึกษาชั้นมัธยมปลายที่ Oundie School ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 2 ปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2483 ย้ายไปศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยไมอามี สหรัฐ เป็นเวลา 1 ปี และในระหว่างปี พ.ศ. 2484-2487 ศึกษาต่อที่ Stanford University สหรัฐ จบปริญญาเศรษฐศาสตร์บัณฑิต (B.A.) เมื่อเดินทางกลับประเทศไทยได้สมรสกับท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์ (สกุลเดิม สุจริตกุล) และเริ่มทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในระหว่างที่อาภรณ์ กฤษณามระ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เมื่อมีประสบการณ์ในธุรกิจธนาคารมากพอสมควร ได้รับการชักชวนจากบัญชา ล่ำซำให้มาร่วมงานกันที่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ชีวิตส่วนตัว
แก้พูนเพิ่มสมรสกับท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์ (สกุลเดิม สุจริตกุล) มีบุตรธิดา 5 คน ล้วนมีชื่อเล่นว่า "หมู" ตามบิดาทั้งสิ้น ดังนี้
- ศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ (หมูแดง) สมรสกับ ม.ร.ว.เบญจาภา จักรพันธุ์
- อนุทิพย์ ไกรฤกษ์ (หมูน้อง) สมรสกับ กิ่งมณี สังขทรัพย์
- เพิ่มพูน ไกรฤกษ์ (หมูเล็ก) สมรสกับ นางจุฑาทิพย์ ไกรฤกษ์
- ไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ (หมูตือ) สมรสกับ นัดดา ปันยารชุน
- กุณฑิกา ไกรฤกษ์ (หมูหวาน) สมรสกับ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ดิศ ดิศกุล
การทำงาน
แก้พูนเพิ่มได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์สืบแทน ฯพณฯ พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ซึ่งถึงแก่อสัญกรรม และเริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2513 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังในเวลาต่อมา
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้พูนเพิ่มถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2546 สิริอายุ 81 ปี 71 วัน พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2549
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[1]
- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[4]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[5]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[7]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[8]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นสร้อยแพร[9]
- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2527 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1 (พิเศษ)[10]
- โปรตุเกส :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องอิสริยาภรณ์อิงฟังตึ เด. เอ็งรีกึ ชั้นตริตาภรณ์[9]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นตริตาภรณ์[9]
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นตริตาภรณ์[9]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นตริตาภรณ์[11]
- อิตาลี :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นตริตาภรณ์[11]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฏเบลเยียม ชั้นตริตาภรณ์[12]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นกอม็องเดอร์[11]
- ลักเซมเบิร์ก :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อดอล์ฟแห่งนัสเซา ชั้นตริตาภรณ์[12]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นนายกอง[11]
- สเปน :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายพลเรือน ชั้นนายทัพ[11]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 3 เคียวกุจิสึ ชูจุโช[13]
- กรีซ :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เดอะฟีนิกซ์ ชั้นที่ 2[14]
- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว ชั้นที่ 3 (สายสะพายม่วง)[15]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒ ง หน้า ๕๐, ๗ มกราคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๙, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑๓ กันยายน ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๐๘
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๔๔, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๔๕, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๕
- ↑ 12.0 12.1 ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๘ ง หน้า ๑๔๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๗ ง หน้า ๒๒๗๐, ๑ ตุลาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐๑ ง หน้า ๒๓๕๗, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐๑ ง หน้า ๒๓๖๑, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๖