จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา
รองศาสตราจารย์ จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตนักการเมืองและนักวิชาการชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งองคมนตรี กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา[1] อดีตเลขาธิการพระราชวัง อดีตผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[2] อดีตเลขาธิการและกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง[3][4] นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[5] และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ประวัติ
แก้รศ.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เกิดวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เป็นบุตรของ นายจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตองคมนตรี กับท่านผู้หญิงอรอวล อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์จาก London School of Economics (วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน) ประเทศอังกฤษ และปริญญาเอกจาก Australian National University ประเทศออสเตรเลีย สมรสกับ ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ[6]
การทำงาน
แก้จิรายุ เริ่มต้นทำงานครั้งแรกในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง คณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ นายจิรายุได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองครั้งแรกเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2524 [7][8] ต่อมาได้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สืบแทนนายอบ วสุรัตน์ ซึ่งลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2528 [9] และในรัฐบาลถัดมา ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนจะลาออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2530 [10] และได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จนถึง 11 มีนาคม พ.ศ. 2561[6]ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง องคมนตรี
นอกจากนี้ นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ยังดำรงตำแหน่งเป็น ประธานกรรมการบริษัทและกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนปูนซีเมนต์ไทย กรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย [11] นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง [12] กรรมการมูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา
อดีตกรรมการ และประธานกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล[13]ธนาคารไทยพาณิชย์[14]อดีตนายกกรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
อดีตนายกสมาคมศูนย์วิชาการไทย – ออสเตรเลีย[15]
กรณีเผาโรงงานแทนทาลัม ที่จังหวัดภูเก็ต
แก้ในปี พ.ศ. 2529 ขณะนายจิรายุ ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (ครม.คณะที่ 43) มีการตั้งโรงงานถลุงแร่แทนทาลัมขึ้น ที่ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เกิดกระแสการต่อต้านโรงงานแทนทาลัมโดยเชื่อว่าจะก่อให้เกิดมลภาวะร้ายแรง กระแสต่อต้านลุกลามจนทำให้เกิดการชุมนุมประท้วง
นายจิรายุ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เดินทางไปจังหวัดภูเก็ตเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่ได้เกิดเหตุจลาจลขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2529 มีการเผาทำลายโรงงานแทนทาลัม[16] และลุกลามไปถึงโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลินที่ตั้งอยู่ในเมืองและไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ถูกเผาทำลายเสียหายเกือบ 30 ล้านบาทจนต้องหยุดกิจการ 3 เดือน เนื่องจากมีข่าวลือว่า ดร.จิรายุซึ่งถือเป็นตัวแทนรัฐบาลที่สนับสนุนโรงงานแทนทาลัม มาพำนักอยู่ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน
การถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยผู้อภิปรายอ้างสเตตเมนต์ปลอม
แก้เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2530 นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ขณะดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (ครม.คณะที่ 44) ถูกฝ่ายค้าน นำโดยนายสมัคร สุนทรเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หัวหน้าพรรคประชากรไทย ซึ่งถูกปรับออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในรัฐบาลก่อนหน้า (ครม.คณะที่ 43) อภิปรายไม่ไว้วางใจ [9] นายสมัครอภิปรายกล่าวหาว่า นายจิรายุรับสินบน โดยนำสำเนาสเตตเมนต์ แสดงการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเฟิสต์ อินเตอร์สเตตในสหรัฐอเมริกา มาแสดงในสภา และอภิปรายว่ามีชื่อของนายจิรายุ เป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าว ซึ่งมีรายการโอนเงินค่าสินบน เป็นจำนวนเงิน 92 ล้านบาท [17] นายจิรายุปฏิเสธว่าคำกล่าวหาของนายสมัครเป็นเท็จ และตนไม่เคยมีบัญชีธนาคารในสหรัฐอเมริกา
ต่อมาจากการตรวจสอบโดย คณะกรรมการวิสามัญตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎร ผ่านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พบว่าสเตตเมนต์ที่นายสมัครนำมาแสดงนั้นเป็นของปลอม และนายจิรายุไม่เคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารนั้น อย่างไรก็ตามไม่มีการดำเนินการทางกฎหมายใดๆ กับนายสมัคร เนื่องจากมีกฎหมายให้เอกสิทธิ์คุ้มครอง ส.ส. ในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ [18] ต่อมานายสมัครได้ยอมรับว่า ได้นำเอกสารเท็จมาแสดงในการอภิปรายในครั้งนั้นจริง [19]
หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายจิรายุลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 และเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ให้นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559 [10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[20]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[21]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[22]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[23]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[24]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[25]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ญี่ปุ่น:
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 2[26]
- บริเตนใหญ่:
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นอัศวิน (KCVO)[27]
- เดนมาร์ก:
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[28]
- บรูไน:
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปาดูลา เสรี ไลลา จาซา ชั้นที่ 2[29]
- สวีเดน:
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นที่ 1[30]
- เนเธอร์แลนด์:
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 1[31]
ลำดับสาแหรก
แก้พงศาวลีของจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
- ↑ พระราชโองการประกาศ แต่งตั้งเลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เล่ม ๑๓๕ ตอน ๕๕ ง พิเศษ หน้า ๒ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ↑ พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๘๑ ง พิเศษ หน้า ๑ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
- ↑ พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งกรรมการและเลขาธิการมูลนิธิโครงการหลวง(พลเรือเอก ปวิตร รุจิเทศ) เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง พิเศษ หน้า ๓ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
- ↑ นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ↑ 6.0 6.1 ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา “3 ห่วง 2 เงื่อนไข” Positioning Magazine พฤศจิกายน 2549
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 42". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-27. สืบค้นเมื่อ 2007-11-23.
- ↑ 9.0 9.1 "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 43". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-27. สืบค้นเมื่อ 2007-11-23.
- ↑ 10.0 10.1 "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 44". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-27. สืบค้นเมื่อ 2007-11-23.
- ↑ มีรับสั่งให้คงเดิมกก.มูลนิธิมหามกุฏ หนังสือพิมพ์ ข่าวสด วันที่ 4 มีนาคม 2546
- ↑ "ข่าวนิด้า มิถุนายน 2550" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2007-11-23.
- ↑ "คณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-26. สืบค้นเมื่อ 2018-01-18.
- ↑ "ข่าวธนาคารไทยพาณิชย์ 1 กันยายน 2550". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-20. สืบค้นเมื่อ 2007-11-23.
- ↑ "รายชื่ออดีตนายกสมาคมศูนย์วิชาการไทย – ออสเตรเลีย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-04. สืบค้นเมื่อ 2018-04-18.
- ↑ ดังไปทั่วโลก..จลาจลเผาโรงงานแทนทาลัมที่กำลังจะเปิด! ผู้นำเผาได้เป็น ส.ส. ๓ สมัย!!
- ↑ กองบรรณาธิการมติชน, 289 ข่าวดัง พ.ศ. 2521-2529, หน้า 131, ISBN 974-323-889-1
- ↑ คอลัมน์ เรียงคนมาเป็นข่าว สำเนาจาก มติชน 25 ตุลาคม 2550
- ↑ วิวาทะ สมัคร-ปชป. ซัดกันนัว เก็บถาวร 2008-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำเนาจาก คมชัดลึก 25 มิถุนายน 2551
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๘ ข หน้า ๑, ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๑๘, ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๒, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๒๗ ง หน้า ๒๒๓๓, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๔, ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๘, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
ก่อนหน้า | จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
แก้วขวัญ วัชโรทัย | เลขาธิการพระราชวัง (23 กันยายน พ.ศ. 2559 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2561) |
พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล | ||
อบ วสุรัตน์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (19 กันยายน พ.ศ. 2530 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529) |
ประมวล สภาวสุ | ||
ศุลี มหาสันทนะ ชาญ มนูธรรม มีชัย ฤชุพันธุ์ กระมล ทองธรรมชาติ สวัสดิ์ คำประกอบ ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ บัญญัติ บรรทัดฐาน |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2530) |
อรุณ ภานุพงศ์ |