กระมล ทองธรรมชาติ
ศาสตราจารย์ กระมล ทองธรรมชาติ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539[1] และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากตุลาการศาลปกครองสูงสุด
กระมล ทองธรรมชาติ | |
---|---|
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มีนาคม พ.ศ. 2546 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 | |
ก่อนหน้า | อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ |
ถัดไป | อุระ หวังอ้อมกลาง |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 |
เสียชีวิต | 20 มกราคม พ.ศ. 2560 (81 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
การศึกษา
แก้ศ.กระมล ทองธรรมชาติ หรือที่รู้จักกันในนาม ศ.ดร.กระมล ทองธรรมชาติ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท M.A. (Government) Oberlin, Ohio สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก Ph.D (Government & Foreign Affairs) มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา เคยผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 25
การทำงาน
แก้งานวิชาการ
แก้กระมล ทองธรรมชาติ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 สมัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2525 และในปี พ.ศ. 2529 ถึงปี พ.ศ. 2533 และเป็นประธานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2532 ถึงปี พ.ศ. 2543
งานการเมือง
แก้กระมล ทองธรรมชาติ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
งานอื่น ๆ
แก้ในปี พ.ศ. 2543 ได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุด และเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในปีเดียวกัน (29 กันยายน พ.ศ. 2543 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2548) และเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ [4] ในเวลาต่อมา กระทั่งในปี พ.ศ. 2549 เขาได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการสิทธิเสรีภาพและยุติธรรม (กสย.) (16 มกราคม พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2560)
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[7]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศรัฐสภา เรื่อง ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอน 2ง วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2540
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-19. สืบค้นเมื่อ 2010-06-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
ก่อนหน้า | กระมล ทองธรรมชาติ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ | ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (28 มีนาคม พ.ศ. 2546 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2548) |
อุระ หวังอ้อมกลาง |