มีชัย ฤชุพันธุ์

อดีตประธานรัฐสภาไทย

มีชัย ฤชุพันธุ์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ภ. ท.จ. (เกิด 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวไทย อดีตประธานรัฐสภาไทย อดีตประธานวุฒิสภา อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตรักษาการนายกรัฐมนตรี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[1]

มีชัย ฤชุพันธุ์
ประธานรัฐสภาไทย
ดำรงตำแหน่ง
28 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(0 ปี 1 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 มกราคม พ.ศ. 2551
(1 ปี 95 วัน)
ประธานวุฒิสภาไทย
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2539
(3 ปี 266 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
6 เมษายน พ.ศ. 2539 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2543
(3 ปี 349 วัน)
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 มกราคม พ.ศ. 2551
(1 ปี 95 วัน)
รักษาการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(0 ปี 17 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าสุจินดา คราประยูร
(นายกรัฐมนตรี)
ถัดไปอานันท์ ปันยารชุน
(นายกรัฐมนตรี)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 (86 ปี)
จังหวัดพระนคร
ประเทศสยาม
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองอิสระ
คู่สมรสอัมพร ฤชุพันธุ์ (เสียชีวิต)
บุตร
  • มยุระ
  • สุกษม
  • มธุรส
  • สวิจักร์

ประวัติ

แก้

มีชัย มีชื่อเล่นว่า แป๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติคนเดียวที่เป็นพลเรือน อดีตรักษาการนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย อดีตประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534[2]และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์[3][4]อดีตประธานรัฐสภา และ​เป็น​ประธาน​รัฐสภา​ที่ดำรงตำแหน่ง​สั้น​ที่สุด​คือ ​1 วัน​ เนื่องจาก​มี​การ​แก้ไข​รัฐธรรมนูญ​ให้​ประธาน​รัฐสภา​มาจากประธาน​สภา​ผู้แทน​ราษฎร​ประธานวุฒิสภา และ รองนายกรัฐมนตรี ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธุ์ สมรสกับคุณหญิงอัมพร (เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) ฤชุพันธุ์ (ถึงแก่อนิจกรรม) มีบุตรี 2 คน คือ นางมยุระ ช่วงโชติ และ นางมธุรส โลจายะ

หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พลเอกสุจินดา คราประยูร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ได้รับการคัดเลือกจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี จึงทำให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งประมุขของทั้งฝ่ายบริหาร (รักษาการนายกรัฐมนตรี) และฝ่ายนิติบัญญัติ (ประธานรัฐสภา)

การศึกษา

แก้
ปริญญากิตติมศักดิ์

การทำงาน

แก้

นายมีชัย เริ่มรับราชการที่สำนักงาน ก.พ. และมาใช้ทุนรัฐบาลที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จนได้เป็นผู้อำนวยการกองยกร่างกฎหมายคนแรกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และก้าวหน้าในราชการเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งกรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาเชี่ยวชาญและนักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ)สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ต่อมา ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ในรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ธานินทร์ กรัยวิเชียร และพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในพ.ศ. 2517- 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากฎหมายสำนักนายกรัฐมนตรี

ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์[5][6] ระหว่าง พ.ศ. 2523 - 2531 และรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[7] ระหว่าง พ.ศ. 2531 - 2533 และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน[8] และรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ระหว่าง พ.ศ. 2534 - 2535[9] และทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2 สมัย คือ ระหว่าง พ.ศ. 2520 - 2522 และระหว่าง พ.ศ. 2532 - 2534 และดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา 3 สมัย ระหว่าง พ.ศ. 2526 - 2532, พ.ศ. 2535 - 2539 และ พ.ศ. 2539[10] - 2543 โดยได้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา 2 สมัย [11][12]และประธานรัฐสภา

นายมีชัย ได้รับการดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี ในระหว่างวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย และ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีนานที่สุดของประเทศไทย

นายมีชัย เป็นผู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2534 เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. เพื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นที่มาของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 นายมีชัยเป็นที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฝ่ายกฎหมาย มีบทบาทในการร่างแถลงการณ์ประกาศ และคำสั่ง คปค. หลายฉบับ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่วมกับนายวิษณุ เครืองาม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ [13] และถอนตัวออกไปหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เนื่องจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทการทำงานในอดีต

บทบาททางการเมือง

แก้

นอกจากนี้ นายมีชัย ยังได้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2551[14] และเป็นกรรมการสำคัญๆอีกหลายตำแหน่ง เช่น ประธานกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1 (กฎหมายการเมืองการปกครอง) โดยได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ถึงปัจจุบัน ประธานคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ....ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการสาขากฎหมายบริหารปกครอง ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ปะธานอนุกรรมการสาขากฎหมายล้มละลาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงค่าตอบแทนสำหรับคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณายกเลิกกฎหมาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ กรรมการจัดทำพจนานุกรมทางกฎหมาย ราชบัณฑิตยสภา กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ

ปี 2550 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายานายมีชัย ฤชุพันธุ์ ว่า ซีอีโอ สนช. เนื่องจากสามารถลำเลียงกฎหมายที่รัฐบาลและคมช.ต้องการเข้าสู่ที่ประชุมได้อย่างไม่บกพร่อง และใช้ความเด็ดขาดในการควบคุมการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกระหว่างสนช.กลุ่มต่างๆได้เป็นอย่างดี ทำให้สมาชิกมีความยำเกรงในตัวนายมีชัย ราวกับพนักงานบริษัทที่เกรงอกเกรงใจซีอีโอของบริษัท

นอกจากนี้ยังได้รับฉายา คู่กัดแห่งปี ระหว่างนายมีชัย กับ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ เนื่องจากเป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งประธานสนช. หลังจากนั้นก็มีความขัดแย้งมาตลอด กฎหมายที่นายมีชัยหนุนจะถูก น.ต.ประสงค์คัดค้านอย่างที่สุด เช่น ร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยออกนอกระบบทั้งหลาย และในช่วงทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ การประชุมไหนมีน.ต.ประสงค์ก็จะไม่มีนายมีชัย และถ้านายมีชัยเข้าประชุม ก็จะไม่มีน.ต.ประสงค์[15] ปี 2558 เขารับตำแหน่งเป็น ประธานกรรมการบริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 5 เมษายน 2562[16]ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561 เขาได้รับรางวัล “เกียรติภูมินิติโดม” ในฐานะศิษย์เก่าดีเด่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตรฺ์[17]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พระพรหมคุณาภรณ์ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ศาสตราจารย์ คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส)
  2. อดีตประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (นายมีชัย ฤชุพันธุ์)
  4. มีชัย ฤชุพันธุ์ ประกาศลาออกจากนายกสภามรร. อย่างเป็นทางการแล้ว
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานวุฒิสภา (นายมีชัย ฤชุพันธุ์) (สมัยที่ 1)
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานวุฒิสภา (นายมีชัย ฤชุพันธุ์) (สมัยที่ 2)
  13. "ฝ่ายกฎหมาย มีบทบาทในการร่างแถลงการณ์ประกาศ และคำสั่ง คปค. หลายฉบับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2006-10-02.
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศแตงตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (นายมีชัย ฤชุพันธุ์, พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ และนางสาวพจนีย์ ธนวรานิช
  15. ได้รับฉายา คู่กัดแห่งปี
  16. ยื่นลาออกปธ.บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์คฯ แจงบอร์ด “มีภารกิจส่วนตัวมากขึ้น”
  17. นิติศาสตร์ มธ. มอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คนการเมืองเพียบ
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๔๓๙
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๘, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗
ก่อนหน้า มีชัย ฤชุพันธุ์ ถัดไป
โภคิน พลกุล
ในตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร
   
ประธานรัฐสภา
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(25 ตุลาคม พ.ศ. 254923 มกราคม พ.ศ. 2551)
  ยงยุทธ ติยะไพรัช
ในตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร
อุกฤษ มงคลนาวิน    
ประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา

(28 มิถุนายน พ.ศ. 253529 มิถุนายน พ.ศ. 2535)
  มารุต บุนนาค
พลเอก สุจินดา คราประยูร
นายกรัฐมนตรี
   
รักษาการนายกรัฐมนตรี (ครม.48)
(24 พฤษภาคม พ.ศ. 253510 มิถุนายน พ.ศ. 2535)
  อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี