ธานินทร์ กรัยวิเชียร

อดีตนายกรัฐมนตรีไทย

ศาสตราจารย์[1] ธานินทร์ กรัยวิเชียร (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2470) เป็นอดีตองคมนตรีและผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานองคมนตรี อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 14

ศาสตราจารย์
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ภ.ป.ร.๒
ธานินทร์ ในปี พ.ศ. 2554
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานองคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้า เปรม ติณสูลานนท์
(ประธานองคมนตรี)
ถัดไป เปรม ติณสูลานนท์
(ประธานองคมนตรี)
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 14
ดำรงตำแหน่ง
8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้า หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ถัดไป เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2470 (96 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เชื้อชาติ ไทย
พรรค อิสระ
คู่สมรส คุณหญิงคาเรน กรัยวิเชียร
บุตร 5 คน
ศิษย์เก่า
วิชาชีพ
ลายมือชื่อ Signature of Tanin Krivichien.svg

ประวัติแก้ไข

ธานินทร์ กรัยวิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2470 ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของแหและผะอบ กรัยวิเชียร สมรสกับคุณหญิงคาเรน กรัยวิเชียร (สกุลเดิม แอนเดอเซ่น) มีบุตรด้วยกัน 5 คน ได้แก่

  1. รูบีนา สุวรรณพงษ์
  2. มหินทร์ กรัยวิเชียร
  3. เขมทัต กรัยวิเชียร
  4. นิติกร กรัยวิเชียร
  5. ทันตแพทย์หญิงรีเบ้กก้า กรัยวิเชียร

การศึกษาแก้ไข

ธานินทร์ กรัยวิเชียร ในปี พ.ศ. 2491 ได้ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่ ณ LSE มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร และ พ.ศ. 2496 เนติบัณฑิตอังกฤษจาก สำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรย์สอินน์ ประเทศอังกฤษ

การทำงานแก้ไข

บทบาททางการเมืองแก้ไข

 
ธานินทร์ กรัยวิเชียร (ซ้าย) ถ่ายภาพกับนายชาร์ลส์ ไวท์เฮาส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย เมื่อปี 2519

ธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย[4] ภายหลังจากที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยการนำของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สาเหตุที่เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจาก ขณะที่พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ทรงพระราชทานคำแนะนำแก่พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ให้ปรึกษาธานินทร์ กรัยวิเชียร [5] ผู้พิพากษาศาลฎีกา ณ ขณะนั้น

ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร มีนโยบายโดดเด่นคือ การต่อต้านภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังมีอิทธิพลอย่างสูงในขณะนั้น นโยบายปราบปรามยาเสพติด โดยจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) อีกทั้งนโยบายด้านการปราบปรามคอรัปชั่น รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร นับว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการพลเรือนที่ใช้อำนาจจัดการประชาชนในข้อหาคอมมิวนิสต์ จนมีประชาชนส่วนหนึ่งหนีข้อหานี้เข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน สั่งปิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์ถึง 22 ครั้ง[6] ซึ่งผู้สั่งปิดได้แก่ สมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจคำสั่งปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 เป็นยุคมืดของวงการสื่อสารมวลชนและนักหนังสือพิมพ์[7]

อย่างไรก็ตามเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่ซื่อสัตย์สุจริตที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย ภายหลังจากที่คณะปฏิวัติได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของธานินทร์แล้ว พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งธานินทร์ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนสิ้นรัชกาล โดยก่อนหน้านั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516[8]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต และพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะปฏิบัติหน้าที่องคมนตรีในคราวเดียวกันไม่ได้ ดังนั้น คณะองคมนตรีจึงได้มีมติเลือกธานินทร์ ซึ่งเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี[9][10]

รางวัลและเกียรติยศแก้ไข

ศาสตราจารย์ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น ศาสตราจารย์ นายกองใหญ่ ธานินทร์ กรัยวิเชียร เมื่อ พ.ศ. 2520[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

ศาสตราจารย์ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[12] ดังนี้

อ้างอิงแก้ไข

  1. "ข่าวในพระราชสำนัก [1-10 พฤศจิกายน 2542]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (21 ง): 109. 14 Mar 2000. สืบค้นเมื่อ 20 Feb 2021.
  2. ตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษจุฬาลงกรณ์
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้อำนาจจัดตั้ง "มูลนิธิจุฬาภรณ์" เป็นนิติบุคคล เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๗๒ ง วันที่ ๐๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งนายกรัฐมนตรี (นายธานินทร์ กรัยวิเชียร) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 124ก ฉบับพิเศษ วันที่ 10 ตุลาคม 2519
  5. เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519
  6. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
  7. คำสั่งปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42
  8. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  9. "แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-19.
  10. “ธานินทร์ กรัยวิเชียร” นั่งประธานองคมนตรี
  11. ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดน
  12. "นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๔ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร". thaigov. สืบค้นเมื่อ 20 Mar 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๗, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๖๑, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๕, ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓๑ ง หน้า ๑๖๖๗, ๑๒ เมษายน ๒๕๒๐
  18. รายพระนามและรายนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๐ จากเว็บไซต์ thaiscouts
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑๓ กันยายน ๒๕๒๒
ก่อนหน้า ธานินทร์ กรัยวิเชียร ถัดไป
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช    
นายกรัฐมนตรีไทย (ครม. 39)
(8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520)
  เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์