คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ย่อว่า คณะกรรมการ ป.ป.ส.[2] เป็นคณะกรรมการซึ่งกำหนดนโยบายและมาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในประเทศไทย มีประธาน คือ นายกรัฐมนตรีไทย พร้อมด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ รวม 36 คน[2]
![]() ตราสัญลักษณ์ของสำนักงาน ป.ป.ส. | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 5 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 |
งบประมาณประจำปี | 2,508,466,700 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1] |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัด | กระทรวงยุติธรรม |
หน่วยงานลูกสังกัด | |
เว็บไซต์ | http://www.oncb.go.th |
หน่วยธุรการของคณะกรรมการ ป.ป.ส. คือ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ย่อว่า สำนักงาน ป.ป.ส. จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2519 ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม และมีผู้บริหารเรียกว่า เลขาธิการ ป.ป.ส.[3] ในปัจจุบันมี พลตํารวจโทภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอีกตำแหน่งหนึ่ง[4]
การแบ่งส่วนราชการ แก้
สำนักงาน ป.ป.ส. แบ่งเป็น 23 หน่วยงาน (21 กอง/สำนัก 2 กลุ่มงาน)[5][6]
- สำนักงานเลขานุการกรม
- กองกฎหมาย
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
- สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- สถาบันวิชาการและตรวจพิสูจน์ยาเสพติด
- สถาบันสำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติด
- สำนักการต่างประเทศ
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรุงเทพมหานคร
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 1
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 2
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 3
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 4
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 5
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 6
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 7
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 8
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 9
- สำนักตรวจสอบทรัพย์สินคดียาเสพติด
- สำนักปราบปรามยาเสพติด
- สำนักยุทธศาสตร์
- สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
รายนามเลขาธิการ ป.ป.ส. แก้
รายนาม[7] | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. นายประมุข สวัสดิมงคล | พ.ศ. 2519–2521 |
2. พล.ต.ต. เภา สารสิน | พ.ศ. 2521–2525 |
3. พล.ต.ต. ชวลิต ยอดมณี | พ.ศ. 2526–2538 |
4. นายปรีชา จำปารัตน์ | พ.ศ. 2538–2540 |
5. นายพยนต์ พันธ์ศรี | พ.ศ. 2540–2542 |
6. นายสรสิทธิ์ แสงประเสริฐ | พ.ศ. 2542–2543 |
7. นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ | พ.ศ. 2543–2546 |
8. พล.ต.อ. ชิดชัย วรรณสถิตย์ | พ.ศ. 2546–2547 |
9. พล.ต.ท. กฤษณะ ผลอนันต์ | พ.ศ. 2547–2549 |
10. นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ | พ.ศ. 2549–2551 |
9. พล.ต.อ. กฤษณะ ผลอนันต์ | พ.ศ. 2551–2553 |
11. นางสุรีย์ประภา ตรัยเวช | พ.ศ. 2553–2554 |
12. พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว | พ.ศ. 2554–2555 |
13. พล.ต.อ. พงศพัศ พงษ์เจริญ | พ.ศ. 2555–2557 |
14. นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต | พ.ศ. 2557–2558 |
15. นายณรงค์ รัตนานุกูล | พ.ศ. 2558–2559 |
16. นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย | พ.ศ. 2559–2561 |
17. นายนิยม เติมศรีสุข | พ.ศ. 2561–2563 |
18. นายวิชัย ไชยมงคล | พ.ศ. 2563–2566 |
19. พล.ต.ท. ภาณุรัตน์ หลักบุญ | รักษาราชการแทน พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน |
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ 2.0 2.1 "เกี่ยวกับหน่วยงาน". สำนักงาน ป.ป.ส. 2013.
- ↑ "ประวัติความเป็นมา". สำนักงาน ป.ป.ส. 2013.
- ↑ ครม.อนุมัติแต่งตั้งข้าราชการการเมือง-ประจำ หลายตำแหน่ง
- ↑ การแบ่งส่วนราชการ
- ↑ 21 กอง/สำนัก 2 กลุ่มงาน
- ↑ ความเป็นมาตำแหน่งเลขาธิการ ป.ป.ส.