บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

ศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (เกิด 19 ตุลาคม พ.ศ. 2497) นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันพระปกเกล้า[1] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประธานกรรมการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย[2] ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558 ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [3] รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย อุปนายกราชบัณฑิตยสถานคนที่ 1 กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ[4]กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[5]

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ดำรงตำแหน่ง
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558
รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
30 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2546 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าวิษณุ เครืองาม
ถัดไปรองพล เจริญพันธุ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 ตุลาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ศาสนาพุทธ

อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539[6] อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และเป็นอดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

ประวัติ

แก้

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2497 ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 7 ของวิภัทร และอารีย์ อุวรรณโณ เป็นญาติกับ ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและอดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายในรัฐบาลพรรคไทยรักไทย สมรสกับ ปาริชาติ ชุมสาย ณ อยุธยา (สุขสงเคราะห์) มีบุตร-ธิดา 2 คน ปัจจุบันหย่ากันแล้ว

การศึกษา

แก้

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนแสงทองวิทยา ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ต่อมาได้เข้าศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2518 ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง) จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2519 สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตไทย (สอบได้อันดับที่ 3 ของรุ่นที่ 29) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปี พ.ศ. 2522 ได้ปริญญาชั้นสูงทางกฎหมายปกครอง มหาวิทยาลัยปารีส ในปี พ.ศ. 2525 สำเร็จปริญญาเอก กฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยปารีส และพ.ศ. 2541 จบหลักสูตรจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 4111

การทำงาน

แก้

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เริ่มรับราชการในปี พ.ศ. 2519 ในตำแหน่งอาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2531 เป็นคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2532 เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2534 ได้กลับเข้ารับราชการ ภาควิชากฎหมายปกครองและกฎหมายทั่วไป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2538 เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปี พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2546 เป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ปี พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2549 เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

นอกจากนั้น บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราภิชานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย

และยังดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ และ กรรมการอิสระ บริษัท นามยง เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน)SET:NYT ประธานกรรมการ และ กรรมการอิสระ บริษัท อีเทอเนิล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน)SET:EE ประธานกรรมการ บริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)SET:GEL กรรมการอิสระ บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน)SET:GLOW

ภายหลังการ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558[7] ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ

รางวัลและเกียรติคุณ

แก้
  • พ.ศ. 2542 ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ ประจำปี 2543 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2545 ได้รับพระราชทานกิตติบัตรแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะนิติศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2545 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2548 ได้รับคัดเลือกจากองค์การสหประชาชาติ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิกรรมาธิการบริหารภาครัฐของสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Committee of Experts on Public Administration of the United Nations Economic and Social Council) ประจำปี 2545–2548
  • ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นนิสิตเก่านิติศาสตร์ดีเด่นจากสมาคมนิสิตเก่า คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันพระปกเกล้า
  2. ประธานกรรมการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย
  3. เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ![ลิงก์เสีย]
  4. กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ
  5. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-20.
  6. ประกาศรัฐสภา เรื่อง ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอน 2ง วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2540
  7. ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนกนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๓, ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒๘, ๕ มกราคม ๒๕๔๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑๙, ๓ มิถุนายน ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้