กฎหมายมหาชน (อังกฤษ: public law) คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับรัฐ หรือความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเองซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงถึงสังคม[1] อาจแบ่งเป็นกฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง กฎหมายภาษี กฎหมายอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาคดี[1] ส่วนกฎหมายที่ว่าเฉพาะด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันนั้นเรียก กฎหมายเอกชน

กฎหมายมหาชนนั้นว่าด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลและไม่เท่าเทียมกัน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งมีสถานะสูงกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น รัฐที่มีอำนาจกำหนดเกี่ยวกับสิทธิของปัจเจกบุคคล แต่ด้วยผลของหลักนิติธรรม การกำหนดดังกล่าวจะต้องเป็นไปภายในขอบเขตของกฎหมาย (secundum et intra legem) และรัฐจะต้องเคารพกฎหมาย ราษฎรที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ทางปกครองก็อาจร้องขอต่อศาลให้ทบทวนคำวินิจฉัยดังกล่าว

การแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นฝ่ายมหาชนและเอกชนนั้นย้อนหลังไปได้ถึงสมัยกฎหมายโรมัน ประเทศที่ใช้กฎหมายระบบซีวิลลอว์จัดการแบ่งแยกดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และนับแต่นั้น แนวคิดเรื่องการแบ่งแยกก็แพร่ไปสู่ประเทศคอมมอนลอว์ด้วย

ขอบเขตของกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนอาจทับซ้อนกันได้ในบางกรณี ทำให้มีความพยายามที่จะเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับรากฐานของกฎหมายทั้งสองกลุ่มมาตลอด

คำนิยาม

แก้
  • อัลเปียน นักปราชญ์สมัยโรมันยุคคลาสสิค อธิบายว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐโรมัน ส่วนเอกชนเกี่ยวกับประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน
  • ศาสตราจารย์มอริส ดูแวร์แซ่ แห่งมหาวิทยาลัยปารีส อธิบายว่า มหาชนได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงกฎเกณท์ทั้งหลายของกฎหมายเกี่ยวกับสถานะและอำนาจผู้ปกครอง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ปกครอง กับผู้อยู่ใต้ปกครอง
  • ศาสตราจารย์อองเดร เดอ โรบาแตร์ อธิบายว่ากฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายวางกฎเกณท์แก่สาธารณบุคคล อันได้แก่รัฐ องค์การปกรอง และรวมตลอดถึงนิติบุคลตามกฎหมายมหาชน[2]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Elizabeth A. Martin (2003). Oxford Dictionary of Law (7th ed.). Oxford: Oxford University Press. ISBN 0198607563.
  2. De Laubadhre andre, Droit Public economique, Dalloz, 2 ed., 1976,p.14.

ดูเพิ่ม

แก้