ประสงค์ สุ่นศิริ
นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ (เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2470) เป็นนักการเมือง นักเขียน และอดีตทหารอากาศชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลเอกเปรม ติณสูลานนท์) ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์แนวหน้า และอดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ประสงค์ สุ่นศิริ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | ปองพล อดิเรกสาร |
ถัดไป | ทักษิณ ชินวัตร |
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2529 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | พลโท จันทรคุปต์ สิริสุทธิ์ |
ถัดไป | พลเอก ปัญญา สิงห์ศักดา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2470 จังหวัดราชบุรี ประเทศสยาม |
คู่สมรส | สุคนธ์ สุ่นศิริ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2489 - 2529 |
ยศ | นาวาอากาศตรี |
ประวัติ
แก้ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นชาวอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2470 สมรสกับนางสุคนธ์ สุ่นศิริ [1] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และศึกษาต่อที่ โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ก่อนไปเรียนต่อปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาการบริหาร ที่สหรัฐอเมริกา
การทำงาน
แก้ประสงค์ สุ่นศิริ เริ่มรับราชการเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนประจำจังหวัดราชบุรี ต่อมาได้รับการโอนไปรับราชการทหารที่กรมข่าวทหารอากาศ ติดยศเรืออากาศตรี (ร.ต.) เป็นนายทหารคนสนิทติดตาม สิทธิ เศวตศิลา ไปอยู่ที่สำนักรักษาความปลอดภัย กองทัพอากาศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2509 ได้รับทุนไปเรียนด้านข่าวกรองที่กองทัพอากาศ สหรัฐอเมริกา เมื่อเดินทางกลับมาได้ย้ายไปสังกัดสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากอง1 สมช., ผู้อำนวยการกองข่าว สมช., ผู้ช่วยเลขาธิการ สมช., รองเลขาธิการ สมช. และ พ.ศ. 2523 เป็นเลขาธิการ สมช. ต่อจาก สิทธิ เศวตศิลา ที่เกษียณอายุราชการ
ในปี พ.ศ. 2529 ได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการ สมช. เพื่อมารับตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ของเปรม ติณสูลานนท์ ในสมัยรัฐบาล "เปรม 5" ภาพลักษณ์ของ ประสงค์ ที่เชี่ยวชาญด้านงานข่าวกรอง ทำให้ได้ฉายาว่า "ซีไอเอเมืองไทย" และได้อีกหนึ่งฉายา คือ "นายกฯน้อย" จากการที่เป็นเลขาธิการของ เปรม[2]
การเมือง
แก้หลังเกษียณอายุในปี พ.ศ. 2530 ประสงค์ สุ่นศิริ ได้เข้าทำงานการเมืองเต็มตัว โดยรับหน้าที่เป็นเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ จากนั้น พ.ศ. 2535 ได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคพลังธรรม เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535/2 และได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในรัฐบาล "ชวน 1" [3]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และหัวหน้าพรรคพลังธรรม ประสงค์ สุ่นศิริจึงลาออกไปตั้งพรรคนำไทย ร่วมกับนายอำนวย วีรวรรณ จนในปี พ.ศ. 2539 เปิดตัวในฐานะสื่อมวลชน เป็นผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์แนวหน้า เขียนคอลัมน์ "น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริพูด" มาจนถึงปัจจุบัน[4]มีจุดยืนค้านรัฐบาลอย่างชัดเจน ทั้งรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา, รัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ กระทั่งปี พ.ศ. 2540 ได้เข้ามารับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย
ในปี พ.ศ. 2547 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น.ต.ประสงค์ได้ทำการตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างหนัก จนได้รับฉายาจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า "ปีศาจคาบไปป์" เนื่องจากเป็นบุคคลที่ชอบสูบและคาบไปป์จนเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งต่อมา น.ต.ประสงค์ได้เข้าร่วมกับนักธุรกิจและนักการเมืองหลายคน อาทิ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์, นายเอกยุทธ อัญชันบุตร, พล.ท.เจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม ก่อตั้งกลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ ขึ้นมาในกลางปีเดียวกันเพื่อทำการชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรขึ้นที่ท้องสนามหลวง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งหลังจากมีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขึ้นในต้นปี พ.ศ. 2549 สมาชิกในกลุ่มนี้หลายคนก็ได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับทางกลุ่มพันธมิตรฯด้วย
หลังการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ประสงค์ มีข่าวว่าจะได้รับตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่ท้ายสุดก็ได้เพียงแค่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 เท่านั้น
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลงานเขียน
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[7]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[8]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- นครรัฐวาติกัน :
- พ.ศ. 2537 - เครื่องอิสริยาภรณ์ปิอุสที่ 9 ชั้นทวีติยาภรณ์[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประสงค์ สุ่นศิริ "ซีไอเอเมืองไทย" สมคิด เอนกทวีผล, Positioning Magazine, มิถุนายน 2550
- ↑ "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 24 05 59". ฟ้าวันใหม่. 24 May 2016. สืบค้นเมื่อ 25 May 2016.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ คอลัมน์ น.ต.ประสงค์ พูด ในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์แนวหน้า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๘๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๗, ๗ มกราคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๕๔, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 111 ตอนที่ 20 ข หน้า 1, 30 พฤศจิกายน 2537
ก่อนหน้า | ประสงค์ สุ่นศิริ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อาสา สารสิน | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม. 50) (2 ตุลาคม พ.ศ. 2535 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537) |
ทักษิณ ชินวัตร | ||
จันทรคุปต์ สิริสุทธิ์ | เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (15 สิงหาคม พ.ศ. 2529 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531) |
ปัญญา สิงห์ศักดา |