โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (Wattana Wittaya Academy) มีชื่อเดิมว่า"กุลสตรีวังหลัง" ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 67 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 เป็นโรงเรียนสตรีหญิงแห่งแรกของราชอาณาจักรไทย
โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย กุลสตรีวังหลัง Wattana Wittaya Academy | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ว.ว. |
คำขวัญ | คุณธรรมนำวิชาการ |
สถาปนา | พ.ศ. 2417 |
ครูใหญ่ | ลานทิพย์ ทวาทศิน |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น |
สี | สีขาว-สีแดง |
เพลง | วัฒนาวิทยาลัย |
ต้นไม้ | ต้นมะขาม |
เว็บไซต์ | www.wattana.ac.th/ |
ประวัติ
แก้โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874) โดยมิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียนมิชชัน[1]จากสหรัฐอเมริกา เดิมมีชื่อเรียกว่า "โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง" ตั้งอยู่บริเวณพระราชวังหลัง ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงเรียนสตรีประจำ และโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของประเทศไทย โดยมิสซิสแฮเรียต เอ็มเฮาส์ เป็นครูใหญ่คนแรก มีจุดมุ่งหมายจัดการเรียนการสอนด้านการอ่านเขียน การศึกษาคริสตจริยธรรม และวิชาเย็บปักถักร้อย ซึ่งเป็นวิชาสำหรับกุลสตรีสมัยนั้น
ในปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) กิจการของโรงเรียนเจริญขึ้นทำให้สถานที่ตั้งโรงเรียนเดิมไม่สามารถรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นได้ มิสเอ็ดน่า เซร่ะ โคล์ ครูใหญ่ในขณะนั้นได้ย้ายโรงเรียนมาอยู่ในสถานที่ปัจจุบันหรือที่เรียกกันในสมัยนั้นคือ ทุ่งบางกะปิ และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย”
หลักสูตร
แก้- ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีหลักการทฤษฎีที่ยาก ซับซ้อน อาจจัดแยกเฉพาะ และควรเน้นการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมากขึ้นเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความคิด ความเข้าใจและรู้จักตนเองในด้านความสามารถ ความถนัด เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพสถานศึกษาต้องจัดบรรยากาศเรียนรู้ให้เหมาะสม มีกลุ่มวิชาเลือกเพิ่มเติมให้นักเรียนเลือกเรียนประกอบด้วยกลุ่ม Intensive English course, คณิตศาสตร์,วิทยาศาสตร์,สังคมศึกษา,ศิลปะ,ภาษาฝรั่งเศส,ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น
- ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4- 6 การจัดการเรียนรู้เริ่มเน้นเข้าสู่เฉพาะทางมากขึ้น มุ่งเน้นความสามารถ ความคิดระดับสูง ความถนัด และความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้านอาชีพ การศึกษาเฉพาะทาง ตลอดจนการศึกษาต่อ สำหรับการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ยืดหยุ่นวิธีการจัดการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสมกับผู้เรียน สถานศึกษา และความต้องการของท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีแผนการเรียนและวิชาเลือกเพิ่มเติมต่างๆดังนี้
|
|
|
|
นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังมีกิจกรรมชมรมให้นักเรียนที่สนใจได้เลือกเรียนตามความเหมาะสมและความสนใจของตนเอง ตัวอย่างชมรมในโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยเช่น ชมรมดนตรีไทย ชมรมวงโยธวาทิต ชมรมดนตรีสกล ชมรมการละคร ชมรมภาษาและวัฒนธรรมสเปน ชมรมหมอภาษา ชมรมไอคิโด เป็นต้น
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้- ศาสตราจารย์ (พิเศษ) พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี คนที่ 13 ของราชอาณาจักรไทย นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2528
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต (ว.ณ. ประมวญมารค) นักประพันธ์นวนิยาย
- ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ นางสนองพระโอษฐ์ และ ราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ สตรีไทยคนแรกที่เป็นนักประพันธ์เพลง
- ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ภริยาหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีไทย ผู้ก่อตั้งสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์
- ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช ประธานกิตติมศักดิ์ มูลนิธิราชประชาสมาศัยในพระบรมราชูปถัมภ์, อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติคนที่ 10
- ท่านหญิงมาลินีมงคล อมาตยกุล พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ และหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา
- กรุณา กุศลาสัย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2546
- ท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ประธานกิตติมศักดิ์ บริษัท โรงแรมปาร์คนายเลิศ จำกัด และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหญิงคนแรกของไทย
- เภสัชกรหญิง ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
- หม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ อดีตภรรยา พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
- แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
- ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อธิบดีกรมสามัญศึกษาคนสุดท้าย
- รศ.สายสุรี จุติกุล
[1] เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รองประธานคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ และนักวิชาการด้านเด็กปฐมวัย - พันโทหญิง ปราง รังสิตพล มานิตกุลโฆษกกระทรวงกลาโหมคนแรก นักเรียนวัฒนาวิทยาลัยคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. ๒๕๔๔
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผุสดี ตามไท อดีตที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน)ส.ส.๒๕๔๗
- มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภาและอดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย
- ณัฏฐินี เจียรวนนท์ นักแสดง/นางแบบ ทายาทตระกูลเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี
- มีชัย วีระไวทยะ อดีตนักแสดงชาวไทย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- กฤษณ์ กาญจนกุญชร อดีตราชเลขาธิการในพระองค์
- นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย กงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐลิทัวเนีย และที่ปรึกษาประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต สาขาภาษาไทย ประจำสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
- คุณหญิงเต็มสิริ บุณยสิงห์ สมาชิกวุฒิสภา
- จารุรัช ตันตราภรณ์ อดีตผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตอาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พรสรรค์ วัฒนางกูร (Dr. phil Heidelberg) ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ ราชบัณฑิตยสภา; นายกสมาคมไทย-เยอรมัน; Em. Prof. of German Language and Literature, German Section, Faculty of Arts, Chulalongkorn University
- นิจพร จรณะจิต กรรณสูต นักธุรกิจ
- อาภาภัทร กัญจนพฤกษ์ เจ้าของโรงแรม และอสังหารายใหญ่แห่งภาคใต้
- กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและ นักธุรกิจ
- จันทนีย์ อูนากูล นักร้อง นักแต่งเพลง นักโฆษณา
- จิตติมา วรรธนะสิน อดีตนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย พี่สาวของ จิรายุส และ เจตริน วรรธนะสิน
- พัชริดา วัฒนา นักร้อง พี่สาวของ นภัสสร บุรณศิริ และลูกสาวของสุดา ชื่นบาน
- พลอย จริยะเวช นักเขียน นักแปล นักออกแบบ
- คลาวเดีย จักรพันธุ์ นักแสดง นางแบบ
- วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ นักเขียน
- เสาวณีย์ ฉวีวรรณ ศิษย์เก่ารุ่น 114 นักธุรกิจเจ้าของ Human Touch แบรนด์สินค้าไลฟสไตล์
- ทิชา สุทธิธรรม ผู้ประกาศข่าวเศรษฐกิจ
- สุนทรี ใหม่ละออ นักแสดงภาพยนตร์เรื่อง บางระจัน
- พิมรา เจริญภักดี นักร้อง นักแสดง
- บุณย์ธิดา สมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
- คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช อดีตอธิบดีกรมการผังเมือง
- คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- กิรตรา พรหมสาขา ณ สกลนคร นักร้อง อดีตนักร้องดูโอวงนีซ ลูกสาวของเขียว คาราบาว
- ธนิดา กาญจนวัฒน์ นักแสดง
- รฐกร สถิรบุตร รองมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2009 นักแสดง
- อลิสสา ซิม (กุ๊กไก่ AF2)
- ขวัญข้าว เศวตวิมล นักดนตรี นักร้อง พิธีกร ดีเจ ลูกสาวของสันติ เศวตวิมล
- ปวริศา เพ็ญชาติ พิธีกร นักแสดง หลานสาวของชรินทร์ นันทนาคร
- สาวิตรี มีนะวาณิชย์ (เบนซ์) นักร้องนำวงพริกไทย (วงดนตรี)
- อรจิรา แหลมวิไล นักแสดง
- ชุติมา ทีปะนาถ นักแสดง นักร้อง
- คีตา วงศ์กิตติพัฒน์ นักดนตรี นักร้อง
- ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ นักร้องวง เฟย์ ฟาง แก้ว
- พรปวีณ์ นีระสิงห์ นักร้องวง เฟย์ ฟาง แก้ว
- ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล สถาปนิก นางแบบ นักเรียนตัวแทนประเทศไทยทุน Fulbright ไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พรวรา สิทธิประศาสน์ (P.O.I.) นักร้องค่าย อาร์เอส
- นีรนาท วิคทอเรีย โคทส์ นางแบบ นักแสดง
- มาร์กี้ ราศรี บาเลนซิเอก้า นักแสดง
- ธราภา กงทอง นักแสดง
- ธัญวรัตน์ ลำจวนจิตร์ Asian Super Model Thailand 2010
- สริตา เอี่ยมวสันต์ นักแสดง
- สิรินโสพิศ ปัจฉิมสวัสดิ์ ศิลปินจากเดอะสตาร์ 9
- ศศิธร รามโกมุท วัฒนกุล พิธีกร ศิษย์วัฒนา รุ่น 117
- อลิสา พันธุศักดิ์ นักธุรกิจ ผู้บริหารทิฟฟานี่ พัทยา ศิษย์วัฒนา รุ่น 117
- จันจิรา จันทร์พิทักษ์ชัย นักร้อง วง GAIA
- นรินทร์พร วิวงศักดิ์ พิธีกร ดีไซเนอร์
- กัญญฉัตร ฝนมณี พิธีกร
- นิโคล กิตติวัฒน์ นักแสดง นางแบบ
- คามิลล่า กิตติวัฒน์ นักแสดง นางแบบ
- พรรณนารา พุ่มเจริญ นางงาม
- มณีรัตน์ ศรีจรูญ นักแสดง
- รวิสรารัตน์ พิบูลภานุวัธน นักร้อง
- พัสวีพิชญ์ ศรณ์อัครภา นักแสดง นางแบบ
- ชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวช นักแสดง ค่ายจีดีเอช
- อัญชิสา เลี่ยวไพโรจน์ นักแสดง
- แพรวา สุธรรมพงษ์ สมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต
- สิตา ธีรเดชสกุล สมาชิกวงซีจีเอ็มโฟร์ตีเอต
- ณิชา ยนตรรักษ์ ศิลปินนักร้องวง (G)I-DLE ของค่าย Cube Entertainment สาธารณรัฐเกาหลี
- โศภิดา กาญจนรินทร์ Miss Universe Thailand 2018
- สรรัตน์ ลิมปะนพรัตน์กุล นักร้องนำวง เทเลกซ์เทเลกส์
- วริศรา จิตปรีดาสกุล (เบลล์) นักร้อง
- กรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์ (ออม) นางแบบ นักแสดง สังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
อ้างอิง
แก้- ↑ "History of Wattana Wittaya Academy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-26. สืบค้นเมื่อ 2016-10-21.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- หนังสือและบทความ
- พงศกร ชะอุ่มดี. “ภาพถ่ายกับชีวิตวัยรุ่นชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานคร ทศวรรษ 2500 ถึงต้นทศวรรษ 2530.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560.
- Natanaree Posrithong. “The Modernisation of Female Education and the Emergence of Class Conflict Between Literate Groups of Women in Siam 1870–1910.” in Pia Maria Jolliffe and Thomas Richard Bruce (eds.), Southeast Asian Education in Modern History: School, Manipulation, and Contest. pp. 39–53. London and New York, NY: Routledge.
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์