เอสซีจี หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Siam Cement Group ชื่อย่อ: SCG) เป็นบริษัทปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3] ในปี 2559 เอสซีจียังได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และเป็นบริษัทมหาชนอันดับที่ 604 ของโลกโดย ฟอบส์[4] บริษัทอยู่ในดัชนี SET50 และ SETHD ในหมวดอุตสาหกรรม ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทคือพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 30 ของปูนซิเมนต์ไทยผ่านสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย
ประเภทบริษัทมหาชน SET:SCC
ISINTH0003010Z12 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมกลุ่มบริษัท
ก่อตั้ง14 มิถุนายน พ.ศ. 2456
จดทะเบียน: 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 (110 ปี)[1]
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สำนักงานใหญ่เลขที่ 1 ถนนปูนซิเมนต์ไทย
แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลักพลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล
(ประธานกรรมการ)
ชุมพล ณ ลำเลียง
(รองประธานกรรมการ)
ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม
(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)[2]
รายได้เพิ่มขึ้น 453,938 ล้านบาท (2556)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 440,435 ล้านบาท (2556)
พนักงาน
53,728 คน
เว็บไซต์www.scg.com

รายได้รวมอยู่ที่ 4.50 แสนล้านบาท (1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปีงบประมาณ 2560 ปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างร้อยละ 38; ร้อยละ 44 จากสารเคมี และร้อยละ 18 จากบรรจุภัณฑ์ ในปี 2559 เอสซีจีได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่จ้างผู้สำเร็จการศึกษามากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย จากการสำรวจโดย Asia Internship Program[5]

เอสซีจี ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดตั้งโรงงานปูนซีเมนต์แห่งแรกในกรุงเทพฯ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2456 นับตั้งแต่นั้นมาบริษัทก็ได้ขยายธุรกิจออกไปในธุรกิจต่างๆ โดยมี 3 หน่วยธุรกิจหลัก ได้แก่ เอสซีจี ซิเมนต์-วัสดุก่อสร้าง เอสซีจี เคมิคอลส์; และเอสซีจี แพคเกจิง ปัจจุบันเอสซีจีลงทุนอย่างหนักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในมาเลเซีย ปิโตรเคมีครบวงจรในเวียดนาม และโรงงานปูนซีเมนต์หลายแห่งทั่วภูมิภาค

เอสซีจีมีพนักงานประมาณ 54,000 คน สินค้ามีจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังทุกภูมิภาคของโลก บริษัท ซีเมนต์ไทยโฮลดิง จำกัด ดูแลการลงทุนของเอสซีจีในธุรกิจต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นกิจการร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศ เช่นคูโบต้า,[6] Yamato Kogyo, Aisin Takaoka Group, Nippon Steel, โตโยต้า, มิชลิน, Hayes Lemmerz, Siam Mitsui และ Dow Chemical Company[7][8]

ประวัติ

แก้

ในปีพุทธศักราช 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้ง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ขึ้น ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้ประเทศไทยผลิตปูนซีเมนต์ใช้เอง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ และเพื่อจัดสรรการใช้ทรัพยากรภายในประเทศอย่างคุ้มค่า

รายนามกรรมการผู้จัดการ

แก้
  1. Oscar Schultz (2457-2468)
  2. Erik Thune (2468-2477)
  3. Carsten Friis Jespersen (2478-2502)
  4. Viggo Fred Hemmingsen (2502-2517)
  5. บุญมา วงศ์สวรรค์ (2517-2519)
  6. สมหมาย ฮุนตระกูล (2519-2523)
  7. จรัส ชูโต (2523-2527)
  8. พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา (2527-2535)
  9. ชุมพล ณ ลำเลียง (2536-2548)
  10. กานต์ ตระกูลฮุน (2548-2558)
  11. รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส (2559-2566)
  12. ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม (2567-ปัจจุบัน)

Siam Cement Group หรือ SCG

แก้
 
อาคารสำนักงานปูนซิเมนต์ไทย บางซื่อ

ปัจจุบัน ประกอบด้วย 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ธุรกิจเคมิคอลส์ และธุรกิจแพคเกจจิ้ง

ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (Cement and Building Materials Business)

แก้

ธุรกิจซีเมนต์ ถือเป็นธุรกิจแรกของ SCG เกิดขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ในปี พ.ศ. 2456 และถือเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกของประเทศไทย แรกเริ่มมีผลิตภัณฑ์ คือ ปูนตราช้าง ปูนตราเสือ ปูนตราแรด ปูนตราซูเปอร์ และ ปูนตราเอราวัณ (ในอดีต) เป็นหลัก

ปัจจุบัน ได้มีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องประกอบกับการวิจัยและพัฒนาทำให้มีผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ท้องตลาดอีกหลากหลาย อาทิเช่น ปูนซีเมนต์ คอนกรีตผสมเสร็จ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ขาว และ วัสดุทนไฟ รวมทั้งให้บริการด้านเทคนิคและการติดตั้งโรงงานแก่ลูกค้าทั้งในและนอก SCG โดยมีบริษัทหลักคือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด และมีธุรกิจปูนซีเมนต์ในประเทศกัมพูชา K-Cement

SCG เริ่มเข้าสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2481 นับเป็นธุรกิจที่สองของ SCG โดยเริ่มจากการผลิตกระเบื้องมุงหลังคา ปัจจุบัน ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้างมีการผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และสินค้าตกแต่ง ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์หลังคา กระเบื้องเซรามิก สุขภัณฑ์ ก๊อกน้ำ บล็อกปูถนน ฉนวนกันความร้อน ถังเก็บน้ำ ถังบำบัด และบ้านเอสซีจี ไฮม์ (SCG HEIM)

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง (Packaging Business)

แก้

SCG เข้าสู่ธุรกิจกระดาษ ในปี พ.ศ. 2519 ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนเป็น ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยมุ่งเป็นผู้นำในด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน กว่า 55 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจแพคเกจจิ้งได้เดินหน้า พัฒนา และสั่งสมประสบการณ์ ขยายการเติบโตทั้งธุรกิจต้นน้ำและปลายน้ำ รวมถึงฐานการผลิตทั้งในและต่างประเทศ จนก้าวสู่การเป็น Total Packaging Solutions Provider ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างแท้จริงตลอดจนดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนของทุกภาคส่วน และยังคงมุ่งมั่น สร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างไม่หยุดนิ่งสร้างความพร้อมต่อทุกสถานการณ์ ให้ลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องมั่นใจ เติบโตอย่างต่อเนื่องไปด้วยกัน

ธุรกิจเคมิคอลส์ (Chemicals Business)

แก้

SCG เข้าสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2526 ปัจจุบัน ธุรกิจเคมิคอลส์ ผลิตและจำหน่าย เคมีภัณฑ์ครบวงจร ตั้งแต่ขั้นต้น ได้แก่ โอเลฟินส์ ขั้นกลาง ได้แก่ สไตรีนมอนอเมอร์ พีทีเอ และเอ็มเอ็มเอ และขั้นปลาย ได้แก่ เม็ดพลาสติกหลักทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ โพลิเอททีลีน โพลิโพรไพลีน พอลิไวนิลคลอไรด์ และพอลิสไตรีน โดยมีบริษัทหลักคือ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด

สปอนเซอร์กีฬา

แก้

ทีมกีฬา

แก้

สนามกีฬา

แก้

รายการแข่งขันกีฬา

แก้

รางวัล

แก้
ปี รางวัล สาขา ผล
2566 Thailand Zocial Awards 2023[10] Best Brand Performance on Social Media กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง ชนะ

อ้างอิง

แก้
  1. "รู้จักเอสซีจี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-26. สืบค้นเมื่อ 2012-12-14.
  2. Apisitniran, Lamonphet (2019-03-23). "Keeping SCG nimble in a disruptive age". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24.
  3. "Top 75 global cement companies". Global Cement. 2013-12-09. สืบค้นเมื่อ 16 January 2017.
  4. "The World's Biggest Public Companies". Forbes. n.d. สืบค้นเมื่อ 2017-08-06.
  5. "7 companies Gen Y (Thai) want to work 2016". 14 March 2016.
  6. "Company History". Siam Kubota Corporation Co., Ltd. สืบค้นเมื่อ 6 August 2017.
  7. "SCG Investment". SCG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2017. สืบค้นเมื่อ 16 January 2017.
  8. "Structure of Company". www.scgchemicals.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-06. สืบค้นเมื่อ 2017-08-05.[ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
  9. "จับติ้วสุดเดือดมวยรอบปูนเสือครั้งที่ 20". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-25. สืบค้นเมื่อ 2020-03-09.
  10. "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้