มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (อังกฤษ: Harvard University อ่านว่า ฮารฺเวิรฺด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด | |
ละติน: Universitas Harvardiana | |
ชื่อเดิม | Harvard College |
---|---|
คติพจน์ | Veritas (ละติน)[1] |
คติพจน์อังกฤษ | "Truth" (ความสัตย์) |
ประเภท | มหาวิทยาลัยวิจัยเอกชน |
สถาปนา | 1636 |
ผู้สถาปนา | Massachusetts General Court |
ได้รับการรับรอง | NECHE |
สังกัดวิชาการ | |
ทุนทรัพย์ | 50.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2023)[2][3] |
อธิการบดี | Alan Garber (ชั่วคราว) |
ผู้เป็นประธาน | John F. Manning (ชั่วคราว)[4] |
อาจารย์ | คณาจารย์ 2,400 คน (และเจ้าหน้าที่วิชาการวิทยาเขตการแพทย์มากกว่า 10,400 คน)[5] |
ผู้ศึกษา | 21,613 คน (2022)[6] |
ปริญญาตรี | 7,240 คน (2022)[6] |
บัณฑิตศึกษา | 14,373 คน (2022)[6] |
ที่ตั้ง | , , สหรัฐ 42°22′28″N 71°07′01″W / 42.37444°N 71.11694°W |
วิทยาเขต | วิทยาเขตหลัก[7], 209 เอเคอร์ (85 เฮกตาร์) |
Newspaper | The Harvard Crimson |
สี | crimson, white, และ black[8] |
ฉายา | Crimson |
เครือข่ายกีฬา | |
มาสคอต | John Harvard |
เว็บไซต์ | harvard |
ฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก โดยในปี พ.ศ. 2552-2553 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยังคงได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยนิตยสารยูเอสนิว[9] และได้รับการจัดอันดับโดยไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันซัปพลีเมนต์[10] ให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 7 ของโลกในปี พ.ศ. 2562-2563
ประวัติมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
แก้กลุ่มผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดคือ คณะนักบวชที่เรียกตนเองว่า "เพียวริตัน" ซึ่งอพยพมาจากประเทศอังกฤษโดยได้มีตั้งวิทยาลัยขึ้นมา มีจุดประสงค์ที่จะสร้างนักบวชเพื่อให้สามารถเผยแพร่ศาสนาตามแนวทางของลัทธิของตนได้ โดยเริ่มต้นในชื่อว่า "เดอะ นิว คอลเลจ" (The New College) ในปี พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ วิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard College) เมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2182 (ค.ศ. 1639) ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ จอห์น ฮาร์วาร์ด นักบวชเพียวริแตนท่านหนึ่ง ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเอมมานูเอล (Emmanuel College) ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ผู้ได้ทำพินัยกรรมบริจาคหนังสือจำนวนประมาณ 400 เล่มและเงินจำนวนหนึ่งที่ไม่มากนักแก่ทางวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780) วิทยาลัยได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัย ในชั้นแรกนั้นวิทยาลัยมีครูเพียงคนเดียว และมีนักเรียนชุดแรก 12 คน โดยเป็นลักษณะโรงเรียนกินนอน
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเริ่มเข้าสู่ยุคของความเป็นมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ภายใต้การบริหารของ อธิการบดี ชาร์ล วิลเลียม อีเลียต (Charles William Eliot) ในระหว่างปี ค.ศ. 1869-1909 โดยอธิการบดีอีเลียต ได้เริ่มนำระบบวิชาเลือก การใช้ระบบหน่วยกิต การสอบคัดเลือก เข้ามาใช้กับมหาวิทยาลัย
เกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
แก้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมีชื่อเสียงมากในเรื่องคุณภาพทางวิชาการ คุณภาพของอาจารย์ที่สอนและคุณภาพของนักศึกษา โดยศิษย์เก่าและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้รับรางวัลโนเบลรวมกัน 75 รางวัล และรางวัลพูลิตเซอร์ 15 รางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 มีคณาจารย์เข้าไปเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลหลายท่าน และได้ผลิตผู้บริหารองค์การทางธุรกิจที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก ทำให้นักธุรกิจหรือผู้ประสงค์ที่จะประสบความสำเร็จทางธุรกิจจากทั้งในและนอกประเทศได้เข้ามาเรียนกันมาก
ในปัจจุบัน ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยได้ชื่อว่าเป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก (15,555,533 เล่ม) [1] เก็บถาวร 2008-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และฮาร์วาร์ดได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเงินกองทุน (Endowment) สูงที่สุดในโลก คือ 34.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2550) [2] เก็บถาวร 2007-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงของฮาร์วาร์ดมีหลากหลายคน รวมถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 8 คน ได้แก่
- จอห์น แอดัมส์
- จอห์น ควินซี แอดัมส์
- จอห์น เอฟ. เคนเนดี
- แฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์
- ธีโอดอร์ รูสเวลต์
- รัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์
- จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
- บารัก โอบามา
นอกจากนี้ยังมีมหาเศรษฐี บิล เกตส์ เจ้าของบริษัทคอมพิวเตอร์ไมโครซอฟท์ (ดรอปเรียนในช่วงปริญญาตรี ขณะอายุ 19 ปี เพื่อไปสานต่อความฝันทางธุรกิจ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และต่อมาทางมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ประสาทปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วุฒิปริญญาดุษฎีบัณฑิต จำกัดสาขาหรือผู้นำสาขานั้น ๆ ให้ในปี ค.ศ. 2007) และผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลอีก 15 คน
อ้างอิง
แก้- ↑ Samuel Eliot Morison (1968). The Founding of Harvard College. Harvard University Press. p. 329. ISBN 978-0-674-31450-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2021. สืบค้นเมื่อ October 17, 2020.
- ↑ "Harvard posts investment gain in fiscal 2023, endowment stands at $50.7 billion". Reuters.com. October 20, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2023. สืบค้นเมื่อ October 20, 2023.
- ↑ Financial Report Fiscal Year 2023 (PDF) (Report). Harvard University. October 19, 2023. p. 7. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2023. สืบค้นเมื่อ October 23, 2023.
- ↑ Haidar, Emma H.; Kettles, Cam E. (March 1, 2024). "Harvard Law School Dean John Manning '82 Named Interim Provost by Garber". The Harvard Crimson. สืบค้นเมื่อ 2024-03-02.
- ↑ "Harvard University Graphic Identity Standards Manual" (PDF). July 14, 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 19, 2022. สืบค้นเมื่อ June 25, 2022.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Common Data Set 2022–2023" (PDF). Office of Institutional Research. Harvard University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 20, 2023. สืบค้นเมื่อ September 7, 2023.
- ↑ "IPEDS – Harvard University". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2022. สืบค้นเมื่อ October 28, 2022.
- ↑ "Color Scheme" (PDF). Harvard Athletics Brand Identity Guide. July 27, 2021. สืบค้นเมื่อ October 31, 2021.
- ↑ "Harvard reclaims No. 1 spot on list of nation's top schools". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-25. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
- ↑ Times Higher Education-QS World University Rankings
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- Harvard Thai Society สมาคมนักเรียนไทย
- Harvard Club of Thailand เก็บถาวร 2006-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สมาคมนักเรียนไทย