เซเว่น อีเลฟเว่น

ร้านสะดวกซื้อ

บริษัท เซเว่น-อีเลฟเว่น (อังกฤษ: 7-Eleven, Inc., มักย่อเป็น SEI)[2] เป็นบริษัทร้านสะดวกซื้อแบบลูกโซ่สัญชาติอเมริกันที่มีสำนักงานใหญ่ที่Irving รัฐเท็กซัส และถือครองโดย Seven & I Holdings ของญี่ปุ่นผ่าน Seven-Eleven Japan Co., Ltd.[3] บริษัทนี้ได้รับการจัดตั้งใน ค.ศ. 1927 ในฐานะหน้าร้านห้องบรรจุน้ำแข็งที่แดลลัส จากนั้นใน ค.ศ.1928 ถึง 1946 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Tote'm Stores หลังจากอิโต-โยกาโด ซูเปอร์มาร์เกตแบบลูกโซ่สัญชาติญี่ปุ่นและบริษัทแม่ของ Seven-Eleven Japan ถือสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทถึงร้อยละ 70 ใน ค.ศ. 1991 บริษัทนี้จึงกลายเป็นบริษัทในเครือของ Seven-Eleven Japan ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005[4][5]

บริษัท เซเว่น อีเลฟเว่น
ชื่อเดิม
  • Southland Ice Company (เฉพาะใน ค.ศ. 1927)
  • Tote'm Stores (1928–1946)
  • Southland Corporation (1961–1999)
ประเภทเอกชน
อุตสาหกรรมการค้าปลีก (ร้านสะดวกซื้อ)
ก่อตั้ง1927 (97 ปีที่แล้ว) (1927) (ภายใต้ชื่อ Southland Ice Company)
ผู้ก่อตั้งโจ ซี. ทอมป์สัน
สำนักงานใหญ่,
สหรัฐ
จำนวนที่ตั้ง78,029 (2021)
พื้นที่ให้บริการสหรัฐ, แคนาดา, มาเลเซีย, ไทย, อินเดีย และกัมพูชา
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มสะดวกซื้อ น้ำมันเบนซิน
เจ้าของSeven-Eleven Japan Co., Ltd. (Seven & I Holdings)
พนักงาน
135,332[1] (2021)
บริษัทในเครือ
เว็บไซต์www.7-eleven.com

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ร้านแรกของบริษัทตั้งอยู่ที่แดลลัสมีชื่อว่า "Tote'm Stores" บางร้านมีเสาโทเทม "พื้นเมือง" ตั้งอยู่หน้าร้าน จากนั้นใน ค.ศ. 1946 จึงมีการเปลี่ยนชื่อร้านจาก "Tote'm" ไปเป็น "7-Eleven" เพื่อสะท้อนชั่วโมงเวลาทำงานของบริษัทคือ 7 โมงเช้า ถึง 5 ทุ่ม (7:00 a.m. ถึง 11:00 p.m.) ทุกวัน[6] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 บริษัทในสหรัฐมีการเปลี่ยนชื่อจาก "The Southland Corporation" ไปเป็น "7-Eleven Inc."[7][8]

หลังเซเว่น อีเลฟเว่นใช้โลโกปัจจุบันใน ค.ศ. 1968 มีการใช้อักษร n ตัวพิมพ์เล็กในโลโกเนื่องจากภรรยาคนแรกของจอห์น พี. ทอมป์สัน ซีเนียร์ ประธานบริษัทในคริสต์ทศวรรษ 1960[9] คิดว่าอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดแข็งทื่อเล็กน้อย เธอแนะนำให้เปลี่ยนสิ่งนี้ "เพื่อทำให้โลโกดูสง่างามมากขึ้น"[10]

ประวัติ

แก้

เซเว่น-อีเลฟเว่น ถือกำเนิดขึ้น เมื่อ ค.ศ. 1927 โดย บริษัท เซาท์แลนด์ ไอซ์ จำกัด (เซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น) เริ่มต้นกิจการผลิต และจัดจำหน่ายน้ำแข็ง ที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส สหรัฐ ในปีเดียวกัน ทางบริษัทฯ ได้นำสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ มาจำหน่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Tote'm Store ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง เป็น เซเว่น-อีเลฟเว่น (7-Eleven) เพื่อรองรับการขยายกิจการนี้ ซึ่งในระยะแรก เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 07.00-23.00 น. หรือ 07:00 AM.-11:00 PM. ของทุกวัน[11][12]

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 บริษัทเริ่มประสบปัญหาทางการเงิน และได้รับความช่วยเหลือจากอิโต-โยกาโดซึ่งเป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์รายใหญ่ที่สุด บริษัทญี่ปุ่นมีอำนาจควบคุมบริษัทในปี พ.ศ. 2534[13] ในปี พ.ศ. 2548 อิโต-โยคะโดก่อตั้งบริษัทเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์และเซเว่น-อีเลฟเว่นก็กลายเป็นบริษัทลูกของเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์ตั้งแต่นั้นมา

ผลิตภัณฑ์และบริการ

แก้

สาขาทั่วโลก

แก้

เอเชีย

แก้

กัมพูชา

แก้

ณ วันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2021 ทางเซเว่น อีเลฟเว่นและเครือเจริญโภคภัณฑ์ของไทยเปิดร้านเซเว่น อีเลฟเว่นแห่งแรกที่เขต Chroy Changvar พนมเปญ บริษัทกล่าวนัยถึงแผนการเปิดร้านเพิ่มอีกอย่างน้อย 6 แห่งในพนมเปญใน ค.ศ. 2021[14]

อินโดนีเซีย

แก้

ใน ค.ศ. 2008 ทางเซเว่น อีเลฟเว่นประกาศแผนขยายกิจการในประเทศอินโดนีเซียผ่านข้อตกลงมาสเตอร์แฟรนไชส์กับ Modern Sevel Indonesia แผนแรกของ Modern Sevel Indonesia จะมุ่งเน้นไปที่การเปิดสาขาในจาการ์ตา โดยกำหนดเป้าหมายไปยังพื้นที่เชิงพาณิชย์และธุรกิจที่มีประชากรหนาแน่น[15] ข้อมูลเมื่อ 2014 มีร้านเซเว่น อีเลฟเวนในอินโดนีเซียเพียง 190 ร้าน จากนั้นจึงลดลงเหลือ 166 ร้านในเดือนกันยายน ค.ศ. 2016

เซเว่น อีเลฟเว่นปิดให้บริการในอินโดนีเซียเมื่อ ค.ศ. 2017[16] โดยอ้างถึงยอดขายที่ต่ำ

ลาว

แก้

ณ วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 2023 ทางเซเว่น อีเลฟเว่นและเครือเจริญโภคภัณฑ์ของไทยเปิดร้านเซเว่น อีเลฟเว่นแห่งแรกที่เมืองศรีโคตรบอง นครหลวงเวียงจันทน์ เวียงจันทน์[17][18][19][20][21]

ไทย

แก้
 
ร้านสะดวกซื้อ เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศไทย

ร้านเซเว่น อีเลฟเว่นสาขาแรกเปิดตัวเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ที่ซอยพัฒพงษ์ในกรุงเทพมหานคร เครือข่ายนี้ประกอบด้วยร้านค้าที่บริษัทเป็นเจ้าของ (45%) และร้านค้าแฟรนไชส์ (55%)[22] โดยบริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) เป็นทั้งเจ้าของและผู้ตั้งแฟรนไชส์เซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศไทย ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 มีร้านเซเว่น อีเลฟเว่นถึง 11,983 ร้าน ว่าจ้างงาน 170,000 งาน[22] ใน พ.ศ. 2562 เซเว่น อีเลฟเว่นสร้างรายได้ให้กับซีพีถึง 335,532 ล้านบาท[22][23] เซเว่น อีเลฟเว่นถือส่วนแบ่งการตลาดในหมวดร้านสะดวกซื้อถึง 70% ส่วนร้านสะดวกซื้ออื่น ๆ มีเพียง 7,000 ร้าน (เช่น แฟมิลี่มาร์ท) และร้านขนาดเล็ก 400,000 ร้าน[22][24] ประเทศไทยมีจำนวนร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นมากเป็นอันดับสอง โดยเป็นรองเพียงร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศญี่ปุ่น[25]

ในความพยายามที่จะลดมลพิษพลาสติก บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัทแม่ของเซเว่น อีเลฟเว่น ประกาศในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ว่าจะลดและหยุดการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว[26] ข้อมูลเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ระบุว่า ทั้งเซเว่น อีเลฟเว่นกับร้านค้าปลีก 42 แห่ง จะหยุดการให้บริการถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแก่ลูกค้า[27] อย่างไรก็ตาม การใช้ถุงพลาสติกยังคงแพร่หลายในหลายร้านค้าทั่วประเทศ[28]

สาขา

แก้
ทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทวีปโอเชียเนีย ทวีปเอเชีย
 
แผนที่แสดงประเทศที่มีร้านเซเว่น อีเลฟเว่น

รูปภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Seven & i Management Report as of January 12, 2022" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-30.
  2. "7-Eleven, Inc. | Seven & i Holdings Co". Seven & I Holdings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-06-14.
  3. "3382, E03462 Seven & I Holdings Co., Ltd. Securities Report (HTML) as of February 28, 2023 (Fiscal Year-end)". February 28, 2023. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. Moyer, Justin Wm. "In honor of 7/11: How Japan slurped up 7-Eleven". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 8, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-06.
  5. "Seven-Eleven Japan completes cash tender offer for 7-Eleven, Inc" (PDF). Seven & I Holdings. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 13, 2022.
  6. "History – 7-Eleven Corporate". 7-Eleven, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2017. สืบค้นเมื่อ April 18, 2017.
  7. "7-Eleven Corporate". corp.7-eleven.com. 7-Eleven Corporate. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2015. สืบค้นเมื่อ February 10, 2015.
  8. Smith, Andrew F. (May 2007). The Oxford Companion to American Food and Drink. Oxford University Press. p. 146.
  9. Saxon, Wolfgang (2003-01-30). "John Thompson, 77, Leader Of Big Expansion of 7-Eleven". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-14.
  10. "About Us - Frequently Asked Questions". 7-Eleven.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2021.
  11. "เซเว่น อีเลฟเว่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-25. สืบค้นเมื่อ 2014-12-05.
  12. "กำเนิด 7-11". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-19. สืบค้นเมื่อ 2014-12-05.
  13. 7-Eleven, Inc. - Company History
  14. Kunmakara, May. "7-Eleven opens first store in Cambodia". Phnompenhpost.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.
  15. "7-Eleven, Inc. Partners with PT. Modern Putra Indonesia in Master Franchise for 7‑Eleven Stores in Indonesia". 7-Eleven, Inc. April 6, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 9, 2010. สืบค้นเมื่อ July 11, 2010.
  16. Rosyadi, Sarah Apriliana. "Beberapa Alasan Kenapa Gerai 7-Eleven Tutup di Indonesia". Idntimes.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 27, 2022. สืบค้นเมื่อ February 28, 2022.
  17. Phoonphongphiphat, Apornrath (31 August 2020). "Thailand's CP Group to open first 7-Eleven store in Laos in 2022". Nikkei Asian Review. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2020. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  18. Yap, Jasmina (1 September 2020). "7-Eleven Convenience Stores to Enter Laos By 2022". Laotian Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 15, 2020. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  19. Gustafson, Isabelle (31 August 2020). "7-Eleven Enters Laos Market". CStoreDecisions. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 15, 2020. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  20. Lindenberg, Greg (31 August 2020). "7-Eleven Continues Global Expansion". CSP Daily News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 15, 2020. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  21. "7-Eleven Adds More Ground in Its Ongoing Global Expansion". Convenience Store News. 31 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2020. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Kri-aksorn, Thammachart (March 12, 2020). "Here's why Twitter users boycott 7-eleven". Prachatai English. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ April 24, 2020.
  23. Jitpleecheep, Pitsinee (January 31, 2018). "7-Eleven poised to top 11,000 stores in 2018". Bangkok Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2023. สืบค้นเมื่อ June 4, 2018.
  24. Kyozuka, Tamaki (November 15, 2016). "FamilyMart to double stores in Thailand, take on 7-Eleven". Nikkei Asian Review. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2018. สืบค้นเมื่อ June 4, 2018.
  25. About 7-Eleven, 7-Eleven. Retrieved March 25, 2010.
  26. "7-Eleven stores to reduce the use of plastic bags". The Thaiger. November 8, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2018. สืบค้นเมื่อ November 8, 2018.
  27. "Major Thai stores to stop giving out plastic bags by 2020: minister". Reuters. September 24, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2019. สืบค้นเมื่อ September 25, 2019.
  28. "Plastic 'ban' flouted at shops". Bangkok Post. March 12, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2023. สืบค้นเมื่อ April 24, 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้