แสวง ธีระสวัสดิ์

พลตำรวจเอก แสวง ธีระสวัสดิ์ (27 ตุลาคม พ.ศ. 2474 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 26

แสวง ธีระสวัสดิ์
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 – 21 มกราคม พ.ศ. 2534
ก่อนหน้าพลตำรวจเอกเภา สารสิน
ถัดไปพลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 ตุลาคม พ.ศ. 2474
ตำบลนางเลิ้ง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
เสียชีวิต11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 (72 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงอารีย์ ธีระสวัสดิ์

ประวัติ

แก้

พลตำรวจเอก แสวง ธีระสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ที่ตำบลนางเลิ้ง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรของนายสวัสดิ์และนางสะอาด ธีระสวัสดิ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 3 คน คือ

  • นางไสว เหมาะใจ
  • พลตำรวจเอกแสวง ธีระสวัสดิ์
  • พลอากาศเอกชาญ ธีระสวัสดิ์

สมรสกับคุณหญิงอารีย์ ธีระสวัสดิ์ มีบุตรสามคน ได้แก่ พล.ต.อ.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ อดีตที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นางขัตติยา ธีระสวัสดิ์ และ พล.ต.อ.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1]

การศึกษา

แก้

พลตำรวจเอก แสวง เริ่มเรียนที่โรงเรียนประชาบาลตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จนกระทั่งจบชั้นมัฐยมต้นเมื่อปี 2484 ต่อมาเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดห้วยโป่ง (จันทร์ราษฎร์บำรุง) จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปี 2490 จบชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร และจบชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รับราชการ

แก้
  • 18 กันยายน พ.ศ. 2518 เป็นรองผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครเหนือ
  • 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เป็นหัวหน้ากองวิชาการ กรมตำรวจ
  • 22 ตุลาคม พ.ศ. 2523 เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครใต้
  • 14 ตุลาคม พ.ศ. 2524 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • 2 ตุลาคม พ.ศ. 2528 เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • 10 มิถุนายน พ.ศ. 2529 เป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
  • 2 ตุลาคม พ.ศ. 2530 เป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 เป็นอธิบดีกรมตำรวจ
  • 21 มกราคม พ.ศ. 2534 ลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุเพราะได้รับผลกระทบทางการเมือง

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

พลตำรวจเอก แสวง ธีระสวัสดิ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เวลา 23.57 น.

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เวลา 17.00 น. ขอรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พร้อมด้วยเครื่องเกียรติยศประกอบศพ ณ ศาลา 5/1 วันตรีทศเทพ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจาตั้งประดับ ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพเวลากลางคืน กำหนด 7 คืน

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพพลตำรวจเอก แสวง ธีระสวัสดิ์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  • อารีย์ ธีระสวัสดิ์. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงพลตำรวจเอก แสวง ธีระสวัสดิ์. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, 2556. 108 หน้า.
  1. สุชาติ-สุวัฒน์-มนูประจำการ รองผบ.ตร. : มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๗๔ ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ สิงหาคม ๒๕๓๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙๖, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๐๙๔, ๓๐ มีนาคม ๒๕๐๘