เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง[3] เป็นเขตปกครองตนเองแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีอาณาเขตติดกับประเทศเวียดนาม (จังหวัดห่าซาง จังหวัดกาวบั่ง จังหวัดหลั่งเซิน และจังหวัดกว๋างนิญ) และอ่าวตังเกี๋ย กว่างซีเดิมเป็นมณฑล และได้กลายเป็นเขตปกครองตนเองเมื่อปี ค.ศ. 1958 ปัจจุบันมีเมืองหลวงคือ หนานหนิง[4]
เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วง กว่างซี 广西壮族自治区 | |
---|---|
การถอดเสียงภาษาจีน | |
• ภาษาจีน | 广西壮族自治区 (Guǎngxī Zhuàngzú Zìzhìqū) |
• อักษรย่อ | กุ้ย (桂 Guì) |
• ภาษาจ้วง | Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih กว่างซี โป่วชูง สือฉีกี |
• ภาษาจีนกวางตุ้ง | Gwong2sai1 Zong3zuk6 Zi6zi6keoi1 |
(ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน)
| |
แผนที่แสดงที่ตั้งของเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วง กว่างซี | |
พิกัด: 23°36′N 108°18′E / 23.6°N 108.3°E | |
ตั้งชื่อจาก | กว่าง (广 guǎng) - "กว้างขวาง" ซี (西 xī) - "ตะวันตก" แปลตรงตัว "[ดินแดน]กว้างขวางทางตะวันตก" |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | หนานหนิง |
เขตการปกครอง | 14 จังหวัด, 109 อำเภอ, 1396 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | ลู่ ซินเช่อ (鹿心社) |
• ผู้ว่าราชการ | เฉิน อู่ (陈武) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 237,600 ตร.กม. (91,700 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 9 |
ความสูงจุดสูงสุด | 2,141 เมตร (7,024 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2016) | |
• ทั้งหมด | 48,380,000 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 11 |
• ความหนาแน่น | 200 คน/ตร.กม. (530 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 20 |
ประชากรศาสตร์ | |
• องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ | จ้วง – 62% ฮั่น – 32% เย้า – 3% ม้ง – 1% ต้ง – 1% เวียดนาม – 0.6% เกาเหล่า – 0.4% |
• ภาษาและภาษาถิ่น | ภาษาจ้วงมาตรฐาน, ภาษาจีนกวางตุ้ง (ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน), Southwestern Mandarin, ภาษาจีนผิง |
รหัส ISO 3166 | CN-GX |
GDP (ค.ศ. 2017) | 2.04 ล้านล้านเหรินหมินปี้[1] (อันดับที่ 17) |
• ต่อหัว | 41,955 เหรินหมินปี้ |
HDI (ค.ศ. 2018) | 0.726[2] สูง · อันดับที่ 24 |
เว็บไซต์ | www (อักษรจีนตัวย่อ) |
กว่างซีมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาทางตอนใต้ของประเทศจีน ตั้งอยู่บริเวณที่เป็นชายขอบของอารยธรรมจีนเกือบทุกช่วงเวลาของประวัติศาสตร์จีน มีชื่อย่อว่า "กุ้ย" (จีน: 桂; พินอิน: Guì; จ้วง: Gvei) มาจากชื่อเมือง กุ้ยหลิน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลทั้งในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง
กว่างซีประกอบไปด้วยประชากรที่เป็นชนกลุ่มน้อยมากที่สุดของประเทศจีน โดยเฉพาะชาวจ้วง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 32 ของประชากร ภาษาถิ่นต่าง ๆ ที่ใช้พูดนอกเหนือจากภาษาจีนกลาง เช่น ภาษาจีนผิง ภาษาจ้วง ภาษากวางตุ้ง ภาษาแคะ และภาษาจีนหมิ่น[5]
ประวัติศาสตร์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิศาสตร์
แก้เขตปกครองตนเองกวางซีจ้วงมีพื้นที่ติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับมณฑลกุ้ยโจว และมณฑลหูหนาน ประเทศจีน
- ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศเวียดนาม และทะเลจีนใต้
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับมณฑลยูนนาน ประเทศจีน และประเทศเวียดนาม
กว่างซีมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบแอ่งกระทะและเทือกเขาขนาดเล็กที่ยาวคดเคี้ยวติดต่อกันเทือกเขาสำคัญได้แก่ ภูเขาต้าหมิงซันและต้าเหยาซัน เป็นต้น
สภาพอากาศแบบเขตร้อน โดยทางเหนือเป็นเขตร้อนแถบเอเชียกลาง ทางใต้เป็นเขตร้อนแถบเอเชียใต้ อุณหภูมิเฉลี่ย 16-23 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุก ฤดูร้อนยาวนานกว่าฤดูหนาว อุณหภูมิสูงสุดในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 27-29 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคมประมาณ 5.5-15.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000-2,800 มิลลิเมตรต่อปี
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัด 14 แห่ง โดยทั้งหมดมีสถานะเป็นนครระดับจังหวัด
นครระดับจังหวัดทั้ง 14 แห่งเหล่านี้แบ่งย่อยออกเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอ 111 แห่ง (แบ่งเป็น 40 เขต, 8 นครระดับอำเภอ, 51 อำเภอ, และ 12 อำเภอปกครองตนเอง) เมื่อปลายปี ค.ศ. 2017 มีประชากรทั้งสิ้น 48.85 ล้านคน[6]
- นครหนานหนิง (南宁市 Nánníng Shì)
- นครหลิ่วโจว (柳州市 Liǔzhōu Shì)
- นครกุ้ยหลิน (桂林市 Guìlín Shì)
- นครอู๋โจว (梧州市 Wúzhōu Shì)
- นครเป๋ย์ไห่ (北海市 Běihǎi Shì)
- นครฝางเฉิงกั่ง (防城港市 Fángchénggǎng Shì)
- นครชินโจว (钦州市 Qīnzhōu Shì)
- นครกุ้ยกั่ง (贵港市 Guìgǎng Shì)
- นครยฺวี่หลิน (玉林市 Yùlín Shì)
- นครป่ายเซ่อ (百色市 Bǎisè Shì)
- นครเฮ่อโจว (贺州市 Hèzhōu Shì)
- นครเหอฉือ (河池市 Héchí Shì)
- นครหลายปิน (来宾市 Láibīn Shì)
- นครฉงจั่ว (崇左市 Chóngzuǒ Shì)
ประชากรศาสตร์
แก้ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1912[7] | 7,879,000 | — |
1928[8] | 13,648,000 | +73.2% |
1936–37[9] | 13,385,000 | −1.9% |
1947[10] | 14,636,000 | +9.3% |
1954[11] | 19,560,822 | +33.6% |
1964[12] | 20,845,017 | +6.6% |
1982[13] | 36,420,960 | +74.7% |
1990[14] | 42,245,765 | +16.0% |
2000[15] | 43,854,538 | +3.8% |
2010[16] | 46,026,629 | +5.0% |
2020[17] | 50,126,804 | +8.9% |
ชาวไทจ้วงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆในจีน ในจำนวนนี้กลุ่มย่อยหลักคือกลุ่มที่พูดภาษาเยฺว่ (ภาษาจีนกวางตุ้ง) และภาษาจีนกลางสำเนียงตะวันตกเฉียงใต้ (ภาษาจีนกลางสำเนียงเสฉวน - กุ้ยโจว) ชาวจีนฮั่นทำให้ผู้อื่นเข้าใจเข้าใจผิดว่าตนเองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในกวางสี ในจำนวนนี้กลุ่มย่อยหลักคือกลุ่มที่พูดภาษาเยฺว่ (หรือภาษาจีนกวางตุ้ง) และภาษาจีนกลางสำเนียงตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาจีน
กว่างซีมีชาวจ้วงกว่า 14 ล้านคน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดของจีน ชาวจ้วงในประเทศเทศจีนกว่าร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในกว่างซี โดยเฉพาะทางตอนกลางและทางตะวันตก ชาวจ้วงมีภาษาเขียนเป็นของตนเองและเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาขร้า-ไท นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยทั้งต้งและม้ง และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ เหยา, หุย, อี๋ (โลโล), สุย, และจิง (เวียดนาม)
เศรษฐกิจ
แก้ปี พ.ศ. 2546 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มีมูลค่าถึง 273,321 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 10.2% มูลค่าการเติบโตในภาคเกษตรกรรม 62,818 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 4.0% ภาคอุตสาหกรรม 100,592 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 14.5% ภาคบริการ 109,911 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 10.0% สัดส่วนจีดีพีในการผลิตทั้งสามภาคคิดเป็น 23.0 : 36.8 : 40.2
ปี พ.ศ. 2546 มูลค่าการผลิตโดยรวมของสินค้าเกษตรกรรม ปศุสัตว์และประมงรวม 96,558 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.0% มีการลดพื้นที่การเพาะปลูกลง 3.6% ปริมาณการผลิตตลอดปี 14.84 ล้านตัน ลดลง 645,600 ตัน คิดเป็น 4.2% การใช้พื้นที่สำหรับพืชเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 2.4% โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าว เพิ่มขึ้น 70% น้ำตาลเพิ่มขึ้น 32.8% ขณะที่มูลค่าการผลิตด้านการปศุสัตว์และประมง มีสัดส่วนเป็น 44.9% ผลผลิตหลักคือ ข้าวนาน้ำ ข้าวโพด มัน เป็นต้น
อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า รถยนต์ เครื่องจักรกล การถลุงโลหะ ทำน้ำตาล อาหาร เป็นต้น อุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนพิเศษได้แก่ อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม
กว่างซีเป็นหนึ่งในสิบเขตมณฑลที่ผลิตแร่ที่สำคัญของประเทศที่มีการสำรวจพบปริมาณสะสมมากติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ
เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี
แก้เขตแปรรูปการส่งออกเป่ยไห่
แก้ได้รับการอนุมัติจากสภาแห่งรัฐเขตแปรรูปการส่งออกเป่ยไห่ (BHEPZ) ก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 พื้นที่ตามแผนทั้งหมดคือ 1.454 ตารางกิโลเมตร (0.561 ตารางไมล์) พื้นที่พัฒนาระยะแรกคือ 1.135 ตารางกิโลเมตร (0.438 ตารางไมล์) ได้รับการตรวจสอบและยอมรับโดยฝ่ายบริหารศุลกากรและกระทรวงต่าง ๆ แปดแห่งของรัฐเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2546 เป็นเขตแปรรูปสินค้าส่งออกที่ใกล้อาเซียนที่สุดในจีน และเป็นเขตเดียวที่มีพรมแดนติดกับทะเลทางตะวันตกของจีน ตั้งอยู่ติดกับท่าเรือเป่ยไห่ [18][19]
เขตความร่วมมือเศรษฐกิจชายแดนตงซิง
แก้เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดนตงซิง - หมงก๋าย เป็นความร่วมมือระหว่างจีนและเวียดนาม ที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโดยมีพื้นที่ตามแผน 84 ตร.กม. เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมข้ามพรมแดนซึ่งครอบคลุมการค้าแปรรูปนำเข้าและส่งออก การเงินข้ามพรมแดน การท่องเที่ยวข้ามพรมแดน และอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน [20]
เขตพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่และไฮเทคแห่งชาติกุ้ยหลิน
แก้ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2531 ในปี พ.ศ. 2534 ได้รับการอนุมัติให้เป็นเขตอุตสาหกรรมระดับประเทศ มีพื้นที่ 12.07 ตร.กม. (4.66 ตร.กม. ) อุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ชีวการแพทย์วัสดุใหม่และการปกป้องสิ่งแวดล้อม [21][22]
เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีหนานหนิง
แก้ก่อตั้งขึ้นในปี 1992 เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีหนานหนิงได้รับการอนุมัติให้เป็นเขตระดับประเทศในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 มีพื้นที่ตามแผนทั้งหมด 10.796 ตารางกิโลเมตร (4.168 ตารางไมล์) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของหนานหนิง เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมทางวิศวกรรมเคมี ชิ้นส่วนรถยนต์ การแปรรูปอะลูมิเนียม ยา ชีวภาพ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ [23][24]
เขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคแห่งชาติหนานหนิง
แก้เขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคหนานหนิงก่อตั้งขึ้นในปี 2531 และได้รับการอนุมัติให้เป็นเขตอุตสาหกรรมระดับประเทศในปี 2535 โซนนี้มีพื้นที่ตามแผน 163.41 ตารางกิโลเมตร (63.19 ตารางไมล์) และสนับสนุนให้อุตสาหกรรมที่ทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรมชีวภาพ และการบูรณาการด้านเภสัชกรรมเครื่องกลและไฟฟ้าและอุตสาหกรรมวัสดุใหม่ ๆ [25][26]
เขตความร่วมมือเศรษฐกิจชายแดนผิงเซียง
แก้ในปี 2535 มีการจัดตั้งเขตความร่วมมือเศรษฐกิจชายแดน Pinxiang มีพื้นที่ทั้งหมด 7.2 ตารางกิโลเมตร (2.8 ตารางไมล์) โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลและไฟฟ้าฮาร์ดแวร์การแปรรูปทางเคมีที่ใช้ในชีวิตประจำวันบริการและอุตสาหกรรมการจัดเก็บข้อมูลและการขนส่งระหว่างประเทศที่ใช้ระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ [27]
อ้างอิง
แก้- ↑ 广西壮族自治区2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Guangxi on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Guangxi. 2018-04-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
- ↑ "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
- ↑ "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ The Yearbook of China's Cities (ภาษาอังกฤษ). Yearbook of China's Cities Publishing House. 2006. p. 327.
- ↑ "Zhuang Minority & Yao Minority in Guangxi Zhuang Autonomous Region". www.chinadiscovery.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-13. สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
- ↑ [1]
- ↑ 1912年中国人口. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 6 March 2014.
- ↑ 1928年中国人口. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 6 March 2014.
- ↑ 1936–37年中国人口. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 6 March 2014.
- ↑ 1947年全国人口. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2013. สืบค้นเมื่อ 6 March 2014.
- ↑ 中华人民共和国国家统计局关于第一次全国人口调查登记结果的公报. National Bureau of Statistics of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2009.
- ↑ 第二次全国人口普查结果的几项主要统计数字. National Bureau of Statistics of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2012.
- ↑ 中华人民共和国国家统计局关于一九八二年人口普查主要数字的公报. National Bureau of Statistics of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2012.
- ↑ 中华人民共和国国家统计局关于一九九〇年人口普查主要数据的公报. National Bureau of Statistics of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2012.
- ↑ 现将2000年第五次全国人口普查快速汇总的人口地区分布数据公布如下. National Bureau of Statistics of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2012.
- ↑ "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census". National Bureau of Statistics of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013.
- ↑ "FACTBOX-Key takeaways from China's 2020 population census". Reuters. 11 May 2021.
- ↑ "RightSite.asia | Beihai Export Processing Zone". Archived from the original on 2010-06-12. สืบค้นเมื่อ 2010-05-27. http://rightsite.asia/en/industrial-zone/beihai-export-processing-zone/
- ↑ https://hkmb.hktdc.com/en/1X09RK75/hktdc-research/Beihai-Export-Processing-Zone
- ↑ http://en.gxzf.gov.cn/2020-10/20/c_552026.htm
- ↑ http://en.gxzf.gov.cn/2018-08/28/c_264961.htm
- ↑ https://hkmb.hktdc.com/en/1X09WTTS/hktdc-research/Guilin-High-tech-Industrial-Development-Zone
- ↑ http://en.gxzf.gov.cn/2019-10/18/c_264995.htm
- ↑ https://hkmb.hktdc.com/en/1X09RP0X/hktdc-research/Nanning-Economic-and-Technological-Development-Area
- ↑ https://www.bloomberg.com/profile/company/1315655D:CH
- ↑ http://investinchina.chinadaily.com.cn/s/201810/24/WS5c8766d0498e27e33803a208/nanning-hi-tech-industrial-development-zone.html
- ↑ http://investinchina.chinadaily.com.cn/a/201907/09/WS5d2408c3498e054923eafa9a.html
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ของเขตปกครองตนเองกว่างซี เก็บถาวร 2007-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คู่มือการท่องเที่ยว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)