เย้า

(เปลี่ยนทางจาก Yao people)

เย้า (จีนตัวย่อ: 瑶族; จีนตัวเต็ม: 瑤族; พินอิน: Yáozú; เวียดนาม: người Dao) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นชาติพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลจีนและเวียดนาม จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากรจีนเมื่อ พ.ศ. 2543 พบว่ามีชาวเย้าจำนวน 2,637,421 คน ส่วนการสำรวจสำมะโนครัวประชากรเวียดนาม พ.ศ. 2562 พบว่ามีชาวเย้าจำนวน 891,151 คน[1] และในประเทศไทยมีการสำรวจโดยกองสงเคราะห์ชาวเขา กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2540 พบว่ามีชาวเย้าจำนวน 48,357 คน[3]

เย้า
瑶族
ชาวเมี่ยนในประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. 2549
ประชากรทั้งหมด
กว่า 3,500,000 คน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 จีน2,637,421 คน (พ.ศ. 2543)
 เวียดนาม891,151 คน (พ.ศ. 2562)[1]
 สหรัฐ50,000 คน (พ.ศ. 2555)[2]
 ไทย48,357 คน (พ.ศ. 2540)[3]
ภาษา
กลุ่มภาษาเมี่ยน · ลาเจีย · จีนกลาง · เวียดนาม
ศาสนา
ศาสนาชาวบ้านเย้า และศาสนาพุทธ
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ม้ง

ในประเทศไทย ชาวเย้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม อิ้วเมี่ยน ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยหนึ่งของชาวเย้า[3]

ประวัติ แก้

ต้นกำเนิดของชาวเย้า สามารถสืบไปได้ถึง 2,000 ปีก่อนที่มณฑลหูหนาน ชาวเย้าและชาวม้งร่วมกันก่อกบฏเหมียวเพื่อต่อต้านราชวงศ์หมิง เมื่อคราวที่ชาวฮั่นขยายตัวลงทางตนใต้ของแผ่นดินจีน ชาวเย้าถอยร่นไปทางเหนือแถบที่ราบสูงระหว่างหูหนานกับกุ้ยโจว ไปทางใต้แถบกวางตุ้งและกว่างซี และทางตะวันออกในยูนนาน[4] ราว พ.ศ. 2433 รัฐบาลของกวางตุ้งขับไล่ชาวเย้าที่ตั้งถิ่นฐานแถบตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑล[5]

ในช่วงสงครามกลางเมืองลาว ชาวเย้าในลาวมีความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐ จนได้รับสมญาว่า "กองกำลังพันธมิตรทรงประสิทธิภาพ" (efficient friendly force) พวกเขาสนับสนุนรัฐบาลเวียดนามใต้และต่อต้านคอมมิวนิสต์[6] ทว่าความสัมพันธ์นี้ทำให้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ลาวมุ่งเป้าโจมตีไปที่ชาวเย้าเพื่อล้างแค้นหลังสิ้นสงคราม ทำให้ชนเผ่าต่าง ๆ ในลาวอพยพลี้ภัยเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น หลังชาวเย้าได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากรัฐบาลไทย และได้รับการช่วยเหลือจากองค์การสหประชาชาติ ทำให้ชาวเย้าอพยพไปยังสหรัฐ โดยมากอาศัยอยู่แถบรัฐแคลิฟอร์เนีย โอเรกอน และวอชิงตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอิ้วเมี่ยน

ภาษา แก้

ชาวเย้าแบ่งกลุ่มตามการใช้ภาษา ดังนี้

นอกจากนี้ชาวเย้าบางส่วนใช้ภาษาในกลุ่มภาษาม้งซึ่งใกล้เคียงกัน, ภาษาลาเจียซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาขร้า-ไท และจำนวนหนึ่งพูดภาษาจีนสำเนียงถิ่นอีกจำนวน 500,000 คน

ทั้งนี้ชาวเย้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอิ้วเมี่ยน กระจายตัวอยู่ในทางตอนบนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คิดเป็นร้อยละ 80-85 จากทั้งหมดสี่กลุ่ม[3] โดยชาวเย้าในไทยและสหรัฐเป็นกลุ่มอิ้วเมี่ยน พวกเขาพยายามเสนอตัวตนในผู้คนในสังคมรู้จักในนาม อิ้วเมี่ยน หรือ เมี่ยน มากกว่าเย้า[3] ในประเทศลาวกลุ่มอิ้วเมี่ยนจะอาศัยอยู่บนที่สูง ขณะที่กลุ่มกิมมุน (หรือแลนแตน) จะอยู่ที่ราบ ขณะที่ชาวเย้าในมณฑลไหหลำจำนวน 61,000 คน เป็นกลุ่มกิมมุนทั้งหมด และมีชาวกิมมุนจำนวน 139,000 คน กระจายตัวในเขตปกครองตนเองกว่างซีและมณฑลยูนนาน ส่วนชาวกิมมุนในลาวและเวียดนาม มีจำนวนราว 174,500 คน[7]

ศาสนา แก้

 
หมวกของนักบวชเต๋าชาวเย้า ทำขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19

ชาวเย้าเคารพบูชาดวงพระวิญญาณของพระเจ้าผินหวาง หรือเปี้ยนฮู่ง ซึ่งชาวเย้านับถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิดชาติพันธุ์ของตน ชาวเย้าจะบูชาวิญญาณของบรรพบุรุษในสี่รุ่นเท่านั้น เพราะเชื่อว่าวิญญาณของบรรพชนซึ่งสิงสถิตอยู่บนสวรรค์จะปกปักลูกหลานของตน โดนจะตั้งหิ้งบูชาไว้ทุกบ้าน มีเทพยดาชั้นสูงคอยดูแลมนุษย์ในกรณีที่วิญญาณบรรพชนช่วยเหลือไม่ได้ และเทพารักษ์สิงสถิตอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ภูเขา หนองน้ำ หรือจอมปลวก เป็นต้น โดนจะมีการเซ่นสรวงกันตามประเพณี นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่อง ขวัญ ฤกษ์ยาม และการทำนาย[3] โดยได้รับอิทธิพลอย่างจากลัทธิเต๋ามาแต่บรรพกาล[8] มีการผสานความเชื่อของลัทธิเต๋า ผูกเข้ากับความเชื่อชาวบ้านเย้า และความเชื่อจากศาสนาพุทธบางประการเข้ามา ทำให้ศาสนาชาวบ้านเย้า มีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกับศาสนาชาวบ้านจีนอย่างมาก[9] มีนักวิชาการระบุว่าศาสนาชาวบ้านเย้าได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธอย่างมาก Zhang Youjun นักวิชาการชาวจีนระบุว่า "แม้พิธีกรรมของเย้าจะแสดงถึงอิทธิพลทางศาสนาพุทธ แต่ชาวเย้าไม่เชื่อในศาสนาพุทธเลย พวกเขานับถือลัทธิเต๋าอย่างเหนียวแน่น"[9]

ในประเทศไทย ชาวเย้าส่วนใหญ่นับถือศาสนาชาวบ้านเย้า ช่วงแรกพวกเขาได้รับอิทธิพลทางศาสนาพุทธเพราะคนรุ่นก่อนนิยมบวชเรียนที่วัด มักทำกิจกรรมทางศาสนาพุทธในสังคมเมืองร่วมกับพุทธศาสนิกชนพื้นราบ แต่หากกลับมาที่บ้านพวกเขายังคงบูชาผีบรรพชนเช่นเดิม บางส่วนที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์หรืออิสลามก็จะละทิ้งการบูชาผี แต่กระนั้นแม้จะมีความเชื่อต่างกัน พวกเขาก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยกลุ่มที่ไม่ได้นับถือผีแล้วยังมาช่วยจัดงานทำบุญเลี้ยงผีในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่นเดิม[3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Census 01/04/2019. p. 44. General Directorate for Statistics of Vietnam, 19/12/2019. accessdate 1/09/2020.
  2. [1]
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "อิ้วเมี่ยน". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-11. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Wiens, Herold Jacob (1967). Han Chinese expansion in South China. Shoe String Press. p. 276.
  5. The Chinese times, Volume 4. TIENTSIN: THE TIENTSIN PRINTING CO. 1890. p. 24.
  6. "Independent Lens . DEATH OF A SHAMAN . The Mien - PBS". www.pbs.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  7. "Kim Mun". ethnologue.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2013. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  8. Deborah A. Sommer, "Taoism and the Arts" in The Oxford Handbook of Religion and the Arts (ed. Frank Burch Brown: Oxford University Press, 2014), p. 384.
  9. 9.0 9.1 Litzinger, Ralph A. (2000). Other Chinas: The Yao and the Politics of National Belonging. Duke University Press. pp. 289–90. ISBN 0-8223-2549-7.