พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
พรรคราษฎร ชื่อเดิม พรรคสหชาติ เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเป็นพรรคการเมือง ในปี พ.ศ. 2525 ในชื่อพรรคสหชาติ โดยมี ดร.พัฒนา พยัคฆนิธิ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีนายนิพนธ์ ช่อชัยทิพย์ เป็นเลขาธิการพรรค
พรรคราษฎร (ชื่อเดิม พรรคสหชาติ) | |
---|---|
หัวหน้า | ยงยุทธ สันทนาประสิทธิ์ |
เลขาธิการ | เอนก นาวาพานิช |
คำขวัญ | พูดจริง ทำจริง พึ่งพิงได้ |
ก่อตั้ง | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2525 |
ถูกยุบ | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2539 |
อุดมการณ์ | ชาตินิยม [1] |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติ
แก้พรรคสหชาติ ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง ลำดับที่ 4/2525 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2525 โดยมี ดร.พัฒนา พยัคฆนิธิ เป็นหัวหน้าพรรค นายเอื้อ บุษปะเกศหงสกุล พลเอก กาจบัณฑิต โชติกญาณ และนายพูนสวัสดิ์ กำลังงาม เป็นรองหัวหน้าพรรค และมีนายนิพนธ์ ช่อชัยทรัพย์ เป็นเลขาธิการพรรค[2]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 พรรคสหชาติได้เปลี่ยนชื่อพรรคจากเดิมเป็น "พรรคราษฎร" โดยมีพลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ เป็นหัวหน้าพรรค มีรองหัวหน้าพรรค 5 คน ได้แก่ ดร.พัฒนา พยัคฆนิธิ นายวิเชียร จันทาภากุล พลเอก กาจบัณฑิต โชติกญาณ นายนิพนธ์ ศศิธร และนายไพฑูรย์ เครือแก้ว ณ ลำพูน และมีพลเอกมานะ รัตนโกเศศ เป็นเลขาธิการพรรค[3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 พรรคราษฎร ไม่ส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องถูกยุบพรรคตามคำสั่งศาลฎีกา ที่ 5041/2539 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2539[4]
รายนามหัวหน้าพรรค
แก้ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่งสำคัญ |
1 | พัฒนา พยัคฆนิธิ | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2525 | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 | ||
2 | พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 | 22 มกราคม พ.ศ. 2535 | • อดีตรองนายกรัฐมนตรี • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
3 | พลเอก มานะ รัตนโกเศศ (รักษาการ) |
22 มกราคม พ.ศ. 2535 | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 | • อดีตรองนายกรัฐมนตรี • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
4 | ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | • อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี • อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม • อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
5 | ยงยุทธ สันทนาประสิทธิ์ (รักษาการ) |
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2539 |
รายนามเลขาธิการพรรค
แก้- นิพนธ์ ช่อชัยทรัพย์ (25 มิถุนายน พ.ศ. 2525 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2529)
- พลเอก มานะ รัตนโกเศศ (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2535)
- ชาญชัย รามโกมุท (รักษาการ) (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536)
- ร้อยเอก เอนก นาวาพานิช (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2538)
การเลือกตั้ง
แก้การเลือกตั้ง พ.ศ. 2529
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 พรรคราษฎร ได้รับเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 20 คน ยกเว้นในเขตกรุงเทพมหานคร และเขตภาคใต้ ภายหลังการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ 99 เสียง พรรคชาติไทย 64 เสียง พรรคกิจสังคม 51 เสียง และพรรคราษฎร 20 เสียง โดยเสียงทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎรมีทั้งหมด 347 เสียง ได้มีมติสนับสนุนพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย โดยในส่วนของพรรคราษฎร มีรัฐมนตรีในสังกัดของพรรค จำนวน 3 คน คือ พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองนายกรัฐมนตรี เฉลียว วัชรพุกก์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และ พลเอก มานะ รัตนโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2531
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 พรรคราษฎร ได้รับเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 21 คน โดยได้รับเลือกตั้งในเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานเท่านั้น และในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคราษฎรได้เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคชาติไทย โดยมีพลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยในส่วนของพรรคราษฎร มีรัฐมนตรีในสังกัดของพรรค จำนวน 4 คน คือ พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี ไพฑูรย์ แก้วทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม วัฒนา อัศวเหม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และพลเอก มานะ รัตนโกเศศ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กระทั่งในปี พ.ศ. 2533 นายกรัฐมนตรีประกาศลาออกจากตำแหน่ง
ในคณะรัฐมนตรีชุดต่อมา พรรคราษฎร ได้เข้าร่วมรัฐบาลของพรรคชาติไทย โดยมีสมาชิกพรรคได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี คือ พลเอก มานะ รัตนโกเศศ รองนายกรัฐมนตรี วัฒนา อัศวเหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ บุญถึง ผลพานิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
การเลือกตั้ง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคราษฎร ได้รับเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 4 คน คือ พลเอก มานะ รัตนโกเศศ ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ สุรพล เลี้ยงบำรุง และ ร้อยเอก เอนก นาวาพานิช หลังการเลือกตั้งได้เข้าร่วมรัฐบาลของพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งสนับสนุนพลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี โดย ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้ง เดือนกันยายน พ.ศ. 2535
แก้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 พรรคราษฎร มีสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 1 คน คือ ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ หัวหน้าพรรคฯ จากจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต 1
ผลการเลือกตั้งทั่วไป
แก้การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|
2529 | 20 / 347
|
20 | ร่วมรัฐบาล | พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ |
2531 | 21 / 357
|
1 | ร่วมรัฐบาล | |
มีนาคม พ.ศ. 2535 |
4 / 360
|
17 | ร่วมรัฐบาล | พลเอกมานะ รัตนโกเศศ |
กันยายน พ.ศ. 2535 |
1 / 360
|
3 | ฝ่ายค้าน | ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ |
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 มีการจัดตั้งพรรคราษฎรขึ้นมาใหม่ ถึงแม้กรรมการบริหารพรรคจะไม่ใช่ชุดเดิม แต่ว่ามีการใช้สัญลักษณ์พรรคใกล้เคียงกับของเดิมมาก
อ้างอิง
แก้- ↑ ฐานข้อมูลพรรค
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคสหชาติ ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2528 (เปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคราษฎร และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคใหม่)
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบเลิกพรรคการเมือง พรรคราษฎร