นิพนธ์ ศศิธร
ศาสตราจารย์ นิพนธ์ ศศิธร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นิพนธ์ ศศิธร | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 8 มกราคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ |
ถัดไป | ประชุม รัตนเพียร |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม พ.ศ. 2518 – 4 เมษายน พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | สุรินทร์ มาศดิตถ์ บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ |
ถัดไป | สุรินทร์ มาศดิตถ์ ชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม พ.ศ. 2519 – 4 เมษายน พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | พลโท ชาญ อังศุโชติ |
ดำรงตำแหน่ง 21 เมษายน พ.ศ. 2519 – 23 กันยายน พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ดำรงตำแหน่ง 25 กันยายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ถัดไป | วิมลศิริ ชำนาญเวช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี |
เสียชีวิต | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (77 ปี) |
ประวัติ
แก้ประวัติครอบครัว
แก้ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศิธร เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
เป็นบุตรชายคนที่ 7 ของนายเพี๊ยว แซ่ลิ้ม (ชาวจีนแผ่นดินใหญ่มณฑลไห่หนาน) และ นางแดง(คนหนองอ้อ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี) มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน
ประวัติการศึกษา
แก้ระดับปริญญาตรี :จบการศึกษาปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระดับปริญญาโท :จบการศึกษาปริญญาโทสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากโรงเรียนการทูตเฟลทเชอร์ มหาวิทยาลัยทัฟส์ และสาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา
ระดับปริญญาเอก:จบการศึกษาปริญญาเอกสาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
งานราชการ
แก้ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศิธร เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์สาขารัฐศาสตร์ ก่อนที่จะออกไปทำงานการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2518 และเคยได้รับตำแหน่งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2 สมัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2522 ถึงปี พ.ศ. 2526
งานการเมือง
แก้ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศิธร ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[1] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคธรรมสังคม ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 เป็นสมัยแรก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช[2] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 จึงปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีชุดเดิม จนกระทั่งมีการยุบสภาหลังการปรับคณะรัฐมนตรีเพียง 4 วัน
จากนั้นได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[3] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย[4] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่[5]
ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ เคยได้รับตำแหน่งในพรรคการเมืองหลายพรรค อาทิ รองหัวหน้าพรรคธรรมสังคม[6] ในปี พ.ศ. 2518 เป็นรองหัวหน้าพรรคสยามประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2529[7] เป็นรองหัวหน้าพรรคราษฎร ในปี พ.ศ. 2532[8]
เสียชีวิต
แก้ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศิธร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 สิริอายุ 77 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๙ก วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง) เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๒๐ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2012-07-27.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคสยามประชาธิปไตยแต่งตั้งกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติม
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคราษฎรเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๗, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
ก่อนหน้า | นิพนธ์ ศศิธร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลโท ชาญ อังศุโชติ | รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ (8 - 12 มกราคม; 21 เมษายน - 23 กันยายน พ.ศ. 2519) |
วิมลศิริ ชำนาญเวช |