เทียนชัย สิริสัมพันธ์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ (19 มีนาคม พ.ศ. 2467 – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก รวมทั้งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และหัวหน้าพรรคราษฎร และมีฉายานามว่า"เจ้าพ่อป่าหวาย"
เทียนชัย สิริสัมพันธ์ | |
---|---|
เทียนชัยในปี 2502 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | มานะ รัตนโกเศศ |
ถัดไป | ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 มีนาคม พ.ศ. 2467 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (96 ปี) โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคราษฎร (2529–2535) |
คู่สมรส | คุณหญิงประพาฬสิทธิ์ สิริสัมพันธ์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พลเอก |
ประวัติ
แก้เทียนชัยเกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2467 เป็นบุตรขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี (จำรัส ศิริสัมพันธ์) และนางฉลอง ศิริสัมพันธ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล วิทยาศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนเตรียมนายร้อยทหารบก รุ่นที่ 5 (ตทบ.5) และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 16
ครอบครัว
แก้สมรสกับคุณหญิงประพาฬสิทธิ์ สิริสัมพันธ์ มีบุตรธิดา 4 คน คือ
- พล.ต. สิทธิชัย สิริสัมพันธ์
- พล.ต.หญิง สุนันทา สิริสัมพันธ์
- พล.อ. วุฒิชัย สิริสัมพันธ์
- ศจีจันท สิริสัมพันธ์
การทำงาน
แก้พล.อ. เทียนชัย เริ่มรับราชการเป็นทหาร สังกัดกองทัพบก ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษป่าหวาย และเป็นผู้ก่อตั้งหน่วยทหารหน่วยนี้ จนได้รับฉายา ”เจ้าพ่อป่าหวาย” ต่อมาได้รับตำแหน่งเจ้ากรมรักษาดินแดน และรองผู้บัญชาการทหารบก ในระหว่างรับราชการทหาร ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ปราบสลัดอากาศ และยับยั้งการปฏิวัติรัฐประหารหลายครั้ง โดยครั้งสำคัญ คือ กบฏทหารนอกราชการ (กบฏ 9 กันยา) ซึ่ง พล.ต. มนูญกฤต รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พล.อ. เสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลของพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ระหว่างการไปราชการต่างประเทศ พร้อมกับพล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งพล.อ. เทียนชัย ในฐานะรองผู้บัญชาการทหารบก ได้รวมตัวกันต่อต้าน และควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา
หลังจากเกษียณอายุราชการได้เข้าทำงานทางการเมืองร่วมกับพล.อ. มานะ รัตนโกเศศ ก่อตั้งพรรคราษฎร (เปลี่ยนชื่อจากพรรคสหชาติ) จนได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[1] ต่อมาได้ปรับไปรับตำแหน่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[2] และดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 ในปี พ.ศ. 2533[3] นอกจากนั้นยังได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[4] ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และเขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[5]
เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย และมีความสนใจในด้านกีฬามวยไทย จนได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสหพันธ์สหพันธ์สมาคมมวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ และเป็นประธานที่ปรึกษาของสมาคมครูมวยไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[9]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[10]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[11]
- พ.ศ. 2495 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[12]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[13]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[16]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสรรเสริญ
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
แก้- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2496 – เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[17]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2494 – เหรียญบรอนซ์สตาร์[18]
- พ.ศ. 2519 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นนายทหาร[19]
- พ.ศ. 2529 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นนายทหาร (เหรียญที่ 2)[20]
- เกาหลีใต้ :
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๗๓ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เก็บถาวร 2022-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๕๙, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๒๖๗๓, ๑๙ สิงหาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖๓, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๖ ง หน้า ๕๑๘๘, ๘ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ เก็บถาวร 2022-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๒๕๗๗, ๑๙ สิงหาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๓๙๗๑, ๑๘ กันยายน ๒๔๙๔
- ↑ AGO 1976-22 — HQDA GENERAL ORDERS: MULTIPLE AWARDS BY PARAGRAPHS
- ↑ HEADQUARTERS DEPARTMENT OF THE ARMY WASHINGTON, DC, 12 September 1986