บุญถึง ผลพานิชย์
บุญถึง ผลพานิชย์ (เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2487) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 2 สมัย และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ปัจจุบันเป็นสมาชิกกลุ่มพลังโคราช สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[1]
บุญถึง ผลพานิชย์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2487 อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ |
คู่สมรส | ละมุล ผลพานิชย์ |
ประวัติ
แก้นายบุญถึง ผลพานิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2487 เป็นบุตรของนายเล็ก และนางสุบิน ผลพานิชย์[2] สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จาก โรงเรียนพาณิชยการพระนคร (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร ในปัจจุบัน)
งานการเมือง
แก้อดีตเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ใน พ.ศ. 2526[3] ก่อนที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2531 รวม 2 สมัย [4]
บุญถึง เคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองในปี พ.ศ. 2531[5] ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. 2533 ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[6]
บุญถึง ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 56 สังกัดพรรคไทยรักไทย เมื่อ พ.ศ. 2544 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมานายปองพล อดิเรกสาร ลาออก บุญถึงจึงได้รับเลื่อนขึ้นมาเป็นแทน
ในปี พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (สมคิด จาตุศรีพิทักษ์)[7]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้บุญถึง ผลพานิชย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคราษฎร
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคราษฎร
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย (เลื่อนแทน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ พลังโคราชในปีกสามมิตร กองหนุน บิ๊กตู่-พลังประชารัฐ
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2532. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2532
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ http://digi.library.tu.ac.th/thesis/po/0974/18APPENDIX_C.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ https://cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=202610[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕