ทัศนียา รัตนเศรษฐ

นางทัศนียา รัตนเศรษฐ (เกิด 21 กันยายน พ.ศ. 2497) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนครราชสีมา เขต 4 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคมหาชน และเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร[1]

ทัศนียา รัตนเศรษฐ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนครราชสีมา
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
เขตเลือกตั้ง
  • เขต 5 (2548 – 2549)
  • เขต 4 (2550 – 2554)
  • เขต 4 (2554 – 2557)
  • เขต 7 (2562 – 2566)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 กันยายน พ.ศ. 2497 (70 ปี)
พรรคการเมืองมหาชน
รวมใจไทยชาติพัฒนา
เพื่อไทย
พลังประชารัฐ
คู่สมรสวิรัช รัตนเศรษฐ

ประวัติ

แก้

ทัศนียา รัตนเศรษฐ เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายฮ่างเทียง และนางน้อย แซ่ตั้ง มีพี่น้อง 4 คน หนึ่งในนั้นคือนายบวรศักดิ์ ตั้งบริพัตรสกุล นายกเทศมนตรีตำบลสายแก้วหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ สำเร็จการศึกษา การศึกษาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก[2] และ พัฒนาบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ทัศนียา สมรสกับนายวิรัช รัตนเศรษฐ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ในการแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ทั้งคู่แจ้งสถานะเป็น "หย่า"[3] ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ

  1. นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ส.ส. นครราชสีมา พรรคพลังประชารัฐ
  2. นายทวิรัฐ รัตนเศรษฐ ส.ส. นครราชสีมา พรรคพลังประชารัฐ
  3. นายตติรัฐ รัตนเศรษฐ

งานการเมือง

แก้

ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคมหาชน และได้รับการเลือกตั้ง โดยเอาชนะนางพิชญ์สินี มุ่งฝากกลาง จากพรรคไทยรักไทยไป 310 คะแนน ส่งผลให้เป็น ส.ส. 1 ใน 2 คนของพรรคมหาชน และเป็น ส.ส.นครราชสีมาเพียงหนึ่งเดียวที่ไม่ได้สังกัดพรรคไทยรักไทย[4]

ต่อมา พ.ศ. 2550 นางทัศนียาย้ายไปสังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และได้รับเลือกตั้งมาเป็นอับดับที่หนึ่งของเขต (มี ส.ส. ได้ 3 คน) ปี พ.ศ. 2554 ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[5] และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 3

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

ทัศนียา รัตนเศรษฐ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคมหาชน
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร
  2. ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๒๕๖๒. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2563
  3. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางทัศนียา รัตนเศรษฐ[ลิงก์เสีย]
  4. ผ่าศึกโค่น‘ทรท.’เขต 5 โคราช-ดับฝัน‘สุวัจน์’กวาดยกเมือง![ลิงก์เสีย]
  5. 8อดีตส.ส.จากสามพรรคย้ายสังกัดเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้