วิรัช รัตนเศรษฐ

วิรัช รัตนเศรษฐ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ[2] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 5 สมัย อดีตประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของชวน หลีกภัย

วิรัช รัตนเศรษฐ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
ด้านกิจการงานสภา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 (65 ปี)
อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2529–2547)
มหาชน (2547–2550)
รวมใจไทยชาติพัฒนา (2550–2554)
เพื่อไทย (2554–2561)
พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน)
คู่สมรสทัศนียา รัตนเศรษฐ

ประวัติ แก้

วิรัช รัตนเศรษฐ เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ และปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางทัศนียา รัตนเศรษฐ ส.ส.หนึ่งเดียวของจังหวัดนครราชสีมา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ที่ไม่ได้สังกัดพรรคไทยรักไทย[3] แต่ในการแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ทั้งคู่แจ้งสถานะเป็น "หย่า"[4] ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ

  1. นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  2. นายทวิรัฐ รัตนเศรษฐ สส.นครราชสีมา พรรคพลังประชารัฐ
  3. นายตติรัฐ รัตนเศรษฐ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

การทำงาน แก้

วิรัช รัตนเศรษฐ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมาหลายสมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา ในสังกัดพรรคชาติไทย แต่แพ้การเลือกตั้งในปีพ.ศ. 2538 และกลับมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2539

เคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคมหาชน[5] รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 ได้เข้าสังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ลงสมัครรับเลือกตั้งใบระบบสัดส่วน แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 32[6] และได้รับการเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 26[7]

จากนั้นใน พ.ศ. 2561 นายวิรัชได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับนางทัศนียา นายอธิรัฐ และนายทวิรัฐ บุตรชายคนโตและบุตรชายคนที่ 2 นอกจากนี้นายวิรัชยังได้ร่วมก่อตั้งกลุ่มการเมืองกลุ่มใหม่ที่ชื่อว่า "กลุ่มพลังโคราช" ร่วมกับ 6 อดีต ส.ส. ได้แก่ นาย จำลอง ครุฑขุนทด, นาย สุภรณ์ อัตถาวงศ์, นาย บุญจง วงศ์ไตรรัตน์, นาย อัสนี เชิดชัย, นาย ภิรมย์ พลวิเศษ และ พ.ต.ท. สมชาย เพศประเสริฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
  2. 'บิ๊กป้อม'ร่วมครั้งแรก พปชร.ถกใหญ่ เพิ่ม 17 กก.บห. 'สุริยะ'นอนมาจากร.พ.
  3. "ผ่าศึกโค่น'ทรท.'เขต 5 โคราช-ดับฝัน'สุวัจน์'กวาดยกเมือง!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
  4. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางทัศนียา รัตนเศรษฐ[ลิงก์เสีย]
  5. ""สำหรับพรรคมหาชนเราจะขอตายเพื่อคนโคราช" วิรัช รัตนเศรษฐ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐