อุไรวรรณ เทียนทอง
นางอุไรวรรณ เทียนทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และเป็นภริยาของนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช
อุไรวรรณ เทียนทอง | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 | |
นายกรัฐมนตรี | พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | - |
ถัดไป | นายอนุรักษ์ จุรีมาศ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ |
ถัดไป | นายสรอรรถ กลิ่นประทุม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | นายอนุรักษ์ จุรีมาศ |
ถัดไป | นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | นายสมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | นายอภัย จันทนจุลกะ |
ถัดไป | นางอุไรวรรณ เทียนทอง (สมัยที่ 2) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | นางอุไรวรรณ เทียนทอง (สมัยแรก) |
ถัดไป | นายไพฑูรย์ แก้วทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาราช (2549 - 2561) |
คู่สมรส | นายเสนาะ เทียนทอง |
ประวัติ แก้
นางอุไรวรรณ เทียนทอง เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 สมรสกับนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช สำเร็จการศึกษาพาณิชยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบัญชีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อุไรวรรณ มีบุตร-ธิดา 2 คน ได้แก่
- สรวงศ์ เทียนทอง อดีต ส.ส.จังหวัดสระแก้ว
- สิริวัลย์ เทียนทอง
การทำงาน แก้
รับราชการ แก้
อุไรวรรณ เทียนทอง เริ่มต้นรับราชการในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งอาทิ เสมียนตราจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก นนทบุรี และดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนการคลังท้องถิ่น กรมการปกครอง ในปี พ.ศ. 2540 และได้รับการเลื่อนตำแหน่งจนตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ ในปี พ.ศ. 2545 คือ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการศึกษาท้องถิ่น (ระดับ 9) กรมการปกครอง
การเมือง แก้
หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว จึงหันเหเข้าสู่งานการเมือง โดยรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (คนแรก) ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร[1] ซึ่งถูกมองว่าเป็นการรับตำแหน่งในโควตาของนายเสนาะ เทียนทอง นอกจากนั้นยังได้ทำงานในด้านแรงงาน ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในสามรัฐบาล คือ รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง แก้
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๘๘, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗