อภัย จันทนจุลกะ
อภัย จันทนจุลกะ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย[1] กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
อภัย จันทนจุลกะ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | นายสมศักดิ์ เทพสุทิน |
ถัดไป | นางอุไรวรรณ เทียนทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2486 อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นางจารุวรรณ (รัตนสิน) จันทนจุลกะ |
ประวัติ
แก้อภัย จัทนจุลกะ เกิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เป็นบุตรของนายเสนอ กับนางวัลลีย์ จันทนจุลกะ สมรสกับนางจารุวรรณ จันทนจุลกะ (สกุลเดิม "รัตนสิน") มีบุตรสาว 1 คน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชเบญญา จันทนจุลกะ ฤกษ์หร่าย[3]คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การศึกษา
แก้อภัย จันทนจุลกะ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต (สิงห์แดง รุ่น 13 และปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนั้นเขายังผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 33 หลักสูตรนักปกครองระดับสูง วิทยาลัยการปกครอง (รุ่นที่ 7) และหลักสูตรนายอำเภอ วิทยาลัยการปกครอง (รุ่นที่ 11)
การทำงาน
แก้อภัย รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นเรื่องมา จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมราชทัณฑ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และเป็นอธิบดีกรมการปกครอง ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งให้โอนย้ายมาเป็นปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงแรงงาน) และเป็นปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
หลังเกษียณอายุราชการ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ (30 มิถุนายน พ.ศ. 2547) และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์[4] ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[7]
- พ.ศ. 2541 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[12]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
แก้- ↑ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
- ↑ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สวินและหนี้สินของนายอภัย จันทนจุลกะ[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2021-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๙, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒๔, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๑, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๙๙ ง หน้า ๔๓๖๙, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๕๒ ง หน้า ๒๔๓๙, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๒๐