โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
โรงเรียนวัดบวรนิเวศ เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทชายล้วน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลายเป็นโรงเรียนชายล้วน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โรงเรียนนี้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 ตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เพื่อจัดการศึกษาเล่าเรียนแก่พระภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุติกนิกาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดบวรนิเวศได้ก็กลายเป็นต้นแบบของการจัดการศึกษาในโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตามพระราชประสงค์ที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โรงเรียนวัดบวรนิเวศ Wat Bowonniwet School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 13°45′35″N 100°30′04″E / 13.759707°N 100.501106°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | บ.น. / B.N. |
ประเภท | รัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก |
คำขวัญ | บาลี: ปญฺญา นรานํ รตนํ (ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน) |
สถาปนา | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 (131 ปี 261 วัน) |
ผู้ก่อตั้ง | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
เขตการศึกษา | เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 2 |
รหัส | 1010101003 |
ผู้อำนวยการ | นายเขษมชาติ อารีมิตร |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | ม.1 - ม.6 |
สี | ██ เหลือง - ██ ดำ |
เพลง | มาร์ชบวรนิเวศ |
ต้นไม้ | ราชพฤกษ์ |
เว็บไซต์ | http://www.bn.ac.th |
โรงเรียนแห่งนี้เคยมีองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เป็นองค์อุปถัมภ์
ประวัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง วิทยาลัย ขึ้นในวัดบวรนิเวศวิหารพระราชทานนามว่า มหามกุฏราชวิทยาลัยในปีพุทธศักราช 2436 (ร.ศ. 112) เพื่อให้เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุตินิกาย ตามพระดำริของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสผู้ครองวัดบวรนิเวศวิหารในขณะนั้น โดยแบ่งเป็น 2 แผนกคือส่วนวิทยาลัยใช้เป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง และจัดตั้งโรงเรียนตามพระอารามเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาลัยนี้
โรงเรียนวัดบวรนิเวศเป็นส่วนหนึ่งของมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นผู้จัดการพระองค์แรก ต่อมาการเรียนการสอนในโรงเรียน ได้ขยายตัวกว้างขวางออกไปตามลำดับ ในปีพุทธศักราช 2442 (ร.ศ. 117) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้ขยายการศึกษาให้แพร่หลายไปทั่วประเทศ จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำหลักสูตรและวิธีการสอนที่ใช้ในโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ไปใช้สอนตามโรงเรียน ต่าง ๆ ทั่วประเทศ จึงถือได้ว่าโรงเรียนวัดบวรนิเวศเป็นโรงเรียนสาธิตในการใช้หลักสูตร เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งลูกเสือขึ้น เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ตามระเบียบปกครองลูกเสือของชาติ โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2454 กองลูกเสือโรงเรียนวัดบวรนิเวศตั้งขึ้นในมณฑลกรุงเทพมหานคร เป็นกองร้อยที่ 7
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดสร้างตึกมนุษยนาควิทยาทาน เพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส 2 สิงหาคม พ.ศ. 2467 โดยหลวงสาโรชรัตนนิมานก์ เป็นสถาปนิก โดยตึกมนุษยนาควิทยาทาน ใช้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ และโรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ
สัญลักษณ์
แก้ตราประจำโรงเรียน
แก้ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนวัดบวรนิเวศ เป็นรูปอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ครอบจุลมงกุฎ ประดิษฐานบนพญานาคสองหัว มีชื่อโรงเรียน "บวรนิเวศ" อยู่กลางลำตัวพญานาค
รูปสัญลักษณ์ดังกล่าวมีนัยความหมายดังต่อไปนี้
- "จ.ป.ร" หมายถึงพระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนวัดบวรนิเวศเป็นสาขาของมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งย่อมาจากคำว่า มหาจุฬาลงกรณ์ ปรมราชาธิราช
- "จุลมงกุฏ" หรือ"พระเกี้ยว หมายถึง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ขณะที่ผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งยังทรงพระเยาว์ยังมิได้เป็นพระมหากษัตริย์ ต่อมาขึ้นครองราชย๋เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- "พญานาค" หมายถึง พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ซึ่งเป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้ทรงวางรากฐานการศึกษาของโรงเรียนวัดบวรนิเวศพระองค์แรก
ต้นไม้ประจำโรงเรียน
แก้ต้นราชพฤกษ์ หรือต้นคูน ออกดอกเป็นช่อสีเหลือง ต้นราชพฤกษ์ออกดอกบานในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน ตรงกับช่วงเวลาที่นักเรียนจบหลักสูตร มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) และ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ปัจจุบันต้นราชพฤกษ์ของโรงเรียนปลูกอยู่ด้านหน้ามุขอรพินทุ์ ตรงข้ามศาลาจตุรมุข
สีประจำโรงเรียน
แก้- ██ สีเหลือง หมายถึง พระพุทธศาสนา ซึ่งสื่อถึงวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
- ██ สีดำ หมายถึง ความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว ของนักเรียนบวรนิเวศ
คติพจน์
แก้เรียนดี มีวินัย ใจสะอาด
สุภาษิต
แก้ปญฺญา นรานํ รตนํ หมายถึง ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน
คำขวัญ
แก้- "คนดีสีเหลือง-ดำ "[ต้องการอ้างอิง]
- "เรียนดี มีวินัย ใจสะอาด"[ต้องการอ้างอิง]
- "ลูกนาคาไหว้พระ คารวะครู"[ต้องการอ้างอิง]
ลำดับ | รายพระนามและรายนาม | ตำแหน่ง | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
1 | พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส | ผู้จัดการ | พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2451 |
2 | พระเขมาพิมุขธรรม พระครูปริตรโกศล |
ผู้จัดการ อาจารย์ใหญ่ |
พ.ศ. 2445 - พ.ศ. 2451 |
3 | ขุนเพิ่มคุณสมบูรณ์ (พลอย) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2451 - พ.ศ. 2455 |
4 | ขุนปลูกนิสสัยเหมาะ (สนธิ์) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2457 |
5 | หลวงอาจวิชชาสรร (ทอง ชัยปาณี) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2457 - พ.ศ. 2461 |
6 | พระยาผดุงวิทยาเสริม (กำจัด พลางกูร) | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2461 - พ.ศ. 2470 |
7 | หลวงพิลาศวรรณสาร | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2470 - พ.ศ. 2474 |
8 | หลวงวรเวทย์พิสิฐ (วรเวทย์ ศิวะศรียานนท์) | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2475 |
9 | พระสอนถูกระบอบ (เรือง หิญชีระนันทน์) | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2476 (วาระที่ 1) |
10 | หลวงชาญพิทยกิจ (เหมียน ปรุณะปุณย์) | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2476 (วาระที่ 1) |
11 | ขุนวิศิษฐ์จรรยา | รักษาการครูใหญ่ | พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2477 |
9 | พระสอนถูกระบอบ (เรือง หิญชีระนันทน์) | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2477 (วาระที่ 2) |
10 | หลวงชาญพิทยกิจ (เหมียน ปรุณะปุณย์) | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2481 (วาระที่ 2) |
12 | หม่อมหลวงพันธ์ ศิริวงศ์ | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2482 |
13 | ขุนจรรยาวิสัย | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2484 |
14 | ขุนวิศาลจรรยา (วิศาล วิศาลจรรยา) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2490 |
15 | หลวงศรีภาษะเวทิน (ไล่เต้ก สิริสิงห) | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2504 |
16 | นายประยุทธ ทหารแกล้ว | รักษาการอาจารย์ใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ชั้นพิเศษ |
พ.ศ. 2505 - พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2516 |
17 | นางสาวอุไรรัจน์ คชะสุต | รักษาการผู้อำนวยการ ชั้นพิเศษ | พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2517 |
18 | นายลัยอาจ ภมะราภา | ผู้อำนวยการโรงเรียน ชั้นพิเศษ | พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518 |
19 | นางรวยรื่น ปทุมไชย | ผู้อำนวยการโรงเรียน ชั้นพิเศษ | พ.ศ. 2518 |
20 | นายจรัญ ตาบโกสัย | ผู้อำนวยการโรงเรียน ชั้นพิเศษ | พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2520 |
21 | นายสวัสดิ์ ปิ่นสุวรรณ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2521 |
22 | ว่าที่ ร.ต. ดร. จรัญ โสตถิพันธุ์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2523 |
23 | นายอนันต์ คงถาวร | รักษาการผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2523 |
24 | นายเจริญ วงศ์พันธ์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2526 |
25 | นายทิม ผลภาค | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2529 |
26 | นายนพคุณ ทรงชาติ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2535 |
27 | นายครรชิต ตรานุชรัตน์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539 |
28 | นายบุญยัง แสงวิรุณ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2539 |
29 | นายวิกรม ชุมสาย ณ อยุธยา | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2540 |
30 | นายฉลอง มีขันทอง | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2542 |
31 | นายอำนาจ ผิวขำ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544 |
32 | นายสุธน คุ้มสลุด | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2546 |
33 | นายไพรัช กรบงกชมาศ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2549 |
34 | นายธวัชชัย ชัยเพชระกุล | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2554 |
35 | นายชาญณรงค์ แก้วเล็ก | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558 |
36 | นางเพลินใจ พฤกษชาติรัตน์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562 |
37 | นายเขษมชาติ อารีมิตร | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน |
ระบบการปกครองนักเรียน
แก้โรงเรียนวัดบวรนิเวศจัดระบบการปกครองนักเรียนออกเป็น 5 คณะ ดังนี้
บุคคลสำคัญของโรงเรียน
แก้พระนามและนามอาจารย์ของโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
แก้- สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นผู้จัดการพระองค์แรกของโรงเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
- สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นเปรียญครูองค์ที่ 2 ของโรงเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร[2][3]
- สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ องค์อุปถัมถ์โรงเรียน
- หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)[ต้องการอ้างอิง]
- คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปีพุทธศักราช 2530 ผู้ก่อตั้งวงดนตรีโรงเรียนวัดบวรนิเวศ[4]
- มัณฑนา บุนนาค หม่อมในหม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย
รายนามบุคคลสำคัญจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
แก้- ศาสตราจารย์ ประภาศน์ อวยชัย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- ศาสตราจารย์ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศาสตราจารย์พิเศษจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรมและผู้พิพากษาศาลยุติธรรม
- ชัช ชลวร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ,อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ อดีตประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา
- จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลเอกมนตรี ศุภาพร อดีตประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
- พลโท ภัทรพล รักษนคร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
- รอง เค้ามูลคดี นักแสดงอาวุโส และนักพากย์
- อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง อดีตนักร้อง, นักการเมือง เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- ทองภูมิ สิริพิพัฒน์ นักแสดง, พิธีกร และนายแบบไทย
- พลเอก นิพนธ์ สีตบุตร นายกสมาคมศิษย์เก่าบวรนิเวศ
- พลเอก สวัสดิ์ ทัศนา อดีตผู้ช่วยเจ้ากรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม, อดีตรองผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กระทรวงกลาโหม
- พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 1, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารบก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพระราชวัง
- พันตำรวจโท บุญเลิศ เลิศปรีชา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายแพทย์ ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล อดีตรองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 10 รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายเขมชาติ จิวประสาท อดีตผู้ตรวจราชการกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายวิมล จันทรโรทัย อดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตอธิบดีกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อ้างอิง
แก้- ↑ "ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-19. สืบค้นเมื่อ 2013-10-23.
- ↑ "สมเด็จพระมหาสมณเจ้าและสมเด็จพระสังฆราชเจ้า" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-03. สืบค้นเมื่อ 2013-10-27.
- ↑ "สิริมงคลสูงสุดของโรงเรียนวัดบวรนิเวศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-20. สืบค้นเมื่อ 2013-10-27.
- ↑ คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง , หอสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- กลับบ้านเรารักรออยู่ | 4 ก.พ. 2560 | บิ๊ก-ทองภูมิ | HD - YouTube
- เว็บไซด์โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- แฟนเพจโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- ทวิตเตอร์โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- สมาคมศิษย์เก่าบวรนิเวศ เก็บถาวร 2008-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ชมรมศิษย์เก่าบวรนิเวศรุ่น 84 เก็บถาวร 2008-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ชมรมเรารักบวรนิเวศ รุ่น 102[ลิงก์เสีย]
- ชมรมบวรนิเวศ 102[ลิงก์เสีย]
- บวรนิเวศ 115 ปี เก็บถาวร 2008-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°45′35″N 100°30′04″E / 13.759707°N 100.501106°E{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้